7 มกราคม วันกำเนิดวิทยาลัยเพาะช่าง วันกำเนิดโรงเรียนเพาะช่าง วันสำคัญ วิทยาลัยเพาะช่าง วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เพาะช่าง

7 มกราคม วันกำเนิดวิทยาลัยเพาะช่าง ม.เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

วันที่ 7 มกราคม ของทุกปี ถือเป็นวันกำเนิดโรงเรียนเพาะช่าง ปัจจุบันเพาะช่างมีชื่อเต็มคือ “วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์” ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2456 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในปี…

Home / CAMPUS / 7 มกราคม วันกำเนิดวิทยาลัยเพาะช่าง ม.เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

วันที่ 7 มกราคม ของทุกปี ถือเป็นวันกำเนิดโรงเรียนเพาะช่าง ปัจจุบันเพาะช่างมีชื่อเต็มคือ “วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์” ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2456 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในปี 2563 นี้ วิทยาลัยเพาะช่าง ครบรอบ 107 ปี

7 มกราคม วันกำเนิดวิทยาลัยเพาะช่าง
ม.เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เดิมคือ โรงเรียนเพาะช่าง ตั้งอยู่ที่ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีสีแดง–สีดำ เป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน

คำว่า “เพาะช่าง”

ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2456 สืบเนื่องมาจากงานเฉลิมพระชนมพรรษา ในการที่โรงเรียนเพาะช่างได้รับพระราชทานกำเนิดจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ก็เพราะพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงห่วงใยในศิลปะการช่างของไทยจะถูกอิทธิพลของศิลปวัฒนธรรมต่างชาติ โดยเฉพาะศิลปวัฒนธรรมตะวันตกที่แพร่หลายเข้าครอบงำ อาจถึงคราวเสื่อมสูญได้ จึงมีพระราชประสงค์จะทำนุบำรุงศิลปะการช่างของไทยให้พัฒนาถาวรสืบไป

หลักสูตรการสอน

ปัจจุบันเพาะช่างได้เปิดหลักสูตรการสอนในระดับปริญญาตรี 4 ปี ทั้งภาคปกติและภาคสบทบ มีทั้งหมด 4 กลุ่มวิชา คือ ศิลปประจำชาติ ศิลปหัตถกรรม วิจิตรศิลป์ และออกแบบ โดยสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศ.บ.) Bachelor of Fine Arts (B.F.A.)

-สาขาวิชาจิตรกรรมไทย (Thai Painting)

-สาขาวิชาประติมากรรมไทย (Thai Sculpture)

-สาขาวิชาหัตถศิลป์ (Thai Handicrafts)

-สาขาวิชาจิตรกรรม (Painting)

-สาขาวิชาศิลปหัตถกรรม (Arts and Crafts)

-สาขาวิชาประติมากรรม (Sculpture)

-สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ (Graphic Arts)

-สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ (Visual Communication Design)

-สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)

-สาขาวิชาออกแบบภายใน (Interior Design)

-สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ (Art of Photography)

-สาขาวิชาเครื่องปั้นดินเผา (Ceramics)

-สาขาวิชาเครื่องโลหะและรูปพรรณอัญมณี (Metalwork and Jewelry)

ตราสัญลักษณ์ของวิทยาลัยเพาะช่าง

ใช้วงกลมเป็นสัญลักษณ์ และองค์พระวิษณุกรรม แสดงรัศมี สื่อถึงความรอบรู้และปัญญาของช่างศิลปะ

คำขวัญประจำสถาบัน

เพาะช่างได้นำสัญลักษณ์คำขวัญมาจากเสาทั้ง 6 ต้นของตึกอำนวยการ (ตึกกลาง) คือ ระเบียบ หน้าที่ ประเพณี สามัคคี อาวุโส จิตใจ

7 มกราคมของทุกปี

โดยถือเอาวันที่ 7 มกราคม ทุกปีเป็นวันกำเนิดโรงเรียนเพาะช่าง ในช่วงเช้าอธิการบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา จะร่วมพิธีบวงสรวงพระครูวิษณุกรรม และเป็นวันชุมนุมศิษย์เก่า

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

เพาะช่างได้ผลิตศิลปินและบุคลากรด้านศิลปะ–วรรณกรรม–บันเทิง ให้กับประเทศมากมาย

ด้านศิลปะเช่น เฟื้อ หริพิทักษ์, ประกิต บัวบุศย์, เฉลิม นาคีรักษ์, ถวัลย์ ดัชนี, เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

ด้านวรรณกรรม เช่น อังคาร กัลยาณพงศ์, ชาติ กอบจิตติ, ศักดิ์สิริ มีสมสืบ, จุก เบี้ยวสกุล (จุลศักดิ์ อมรเวช), ราช เลอสรวง, โอม รัชเวทย์

ด้านทัศนศิลป์ พูน เกษจำรัส, กมล ทัศนาญชลี

ด้านบันเทิง–ดนตรี–ภาพยนตร์ เช่น สุเทพ วงศ์กำแหง, ชาย เมืองสิงห์, เปี๊ยก โปสเตอร์, ปยุต เงากระจ่าง, โอฬาร พรหมใจ, วสันต์ โชติกุล, พิง ลำพระเพลิง, อุดม แต้พานิช

ด้านการถ่ายภาพ อนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง

ด้านอื่น ๆ เช่น ปราจิน เอี่ยมลำเนา

ทั้งนี้มีศิษย์เก่าที่ได้รับเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ จำนวน 30 คน และกวีรางวัลซีไรต์ จำนวน 3 คน

ที่มาข้อมูลและภาพจาก วิทยาลัยเพาะช่าง , ประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์