“ณ” เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 19 ของอักษรไทย จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ อ่านออกเสียงว่า “ณอ เณร” และอักษร ณ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง พยัญชนะสะกด ให้เสียงในมาตรากนหรือแม่กน เช่น คุณ บัณฑิต
คำที่ขึ้นต้นด้วย ณ มีอะไรบ้าง?
ปัจจุบันมีคำที่ขึ้นต้นด้วย ณ อยู่น้อยคำ โดยในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้
ณ (นะ) หมายถึง ใน, ที่, เป็นคำบ่งเวลาหรือสถานที่ว่าตรงนั้นตรงนี้
ณรงค์ (ตัดมาจาก รณรงค์) หมายถึง ต่อสู้ชิงชัย, การรบ, การต่อสู้
เณร หมายถึง สามเณร
เณรหน้าไฟ หมายถึง กุลบุตรที่บวชเป็นสามเณรเนื่องในพิธีเผาศพ
เณรหางนาค หมายถึง กุลบุตรที่บวชเป็นสามเณรต่อท้ายพิธีบวรพระ
นอกเหนือจากนั้นใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต
การใช้ ณ นำหน้าสถานที่ ต้องใช้อย่างไร
การใช้ ณ จะต้องตามด้วยชื่อสถาน เช่น ณ อาคารเอนกประสงค์, ณ ที่นั้น, ณ ห้องประชุม เป็นต้น ไม่มีการใช้จุดหลัง ณ เณร เพียงแค่เว้นวรรคห่างเท่านั้น ก่อนจะเติมสถานที่
ถ้าใช้ ณ หน้านามสกุล หมายถึง?
นอกจากนี้ ถ้าใช้ ณ หน้านามสกุล จะหมายความว่า “แห่ง” เช่น ณ อยุธยา, ณ เชียงใหม่, ณ นคร เป็นต้น