เชื่อว่าหลายคนอาจยังไม่รู้จัก ภาษาไพทอน (Python) ว่าคือวิชาอะไร? สอนเกี่ยวกับอะไร? วันนี้ทีนเอ็มไทยจะมาอธิบายให้ทราบกัน ภาษาไพทอนนี้ มีอยู่ในหนังสือเรียนวิทยาการคำนวณชั้น ม.1 ของ สสวท. ด้วยนะคะ ซึ่งเหมาะสมกับยุคดิจิตัลในปัจจุบันจริงๆ
อัลบั้มภาพ 3 ภาพ
ภาษาไพทอน คืออะไร?
ภาษาไพทอน คือ ภาษาที่ใช้สำหรับการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาสคริปต์ ที่สร้างโดย กีโด ฟาน รอสซัม (Guido van Rossum) ในพ.ศ. 2533 ปัจจุบันดูแลโดย มูลนิธิซอฟต์แวร์ไพทอน ซึ่งมีโครงสร้างคำสั่งที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย สามารถทดสอบการทำงานตามคำสั่งและตรวจสอบผลลัพธ์ได้ทันที และสามารถนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนมากขึ้นในการทำงานจริงในอนาคตได้ นอกจากนี้ในหนังสือเรียนวิทยาการคำนวณชั้น ม.1 ของ สสวท. ก็ใช้ภาษาไพทอนในการสอนเขียนโปรแกรมด้วย
หน้าตาหนังสือวิทยาการคำนวณชั้น ม.1 ของ สสวท.
สำหรับการฝึกเขียนโปรแกรมขั้นเริ่มต้น จะใช้การฝึกเขียนโปรแกรมกับเต่าไพทอน โดยจะใช้เต่าในการลากเส้นหรือวาดรูป แต่เมื่อเด็กเริ่มเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอนจนชำนาญแล้ว ก็จะนำไปสู่การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระดับสูงต่อไป
ยกตัวอย่างเช่น คำสั่งวาดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส (เขียนเป็นภาษาไพทอนในคอมพิวเตอร์) คือ
[python]
import turtle
t = turtle.Turtle() # สร้างพื้นที่สำหรับเล่น turtles
t.shape(“turtle”) # ใส่ตัวละครเต่า turtle ลงไป
t.pensize(3) # กำหนดขนาด 90 พิกเซล
for c in [‘red’, ‘green’, ‘yellow’, ‘blue’]: # ลูปค่าตัวแปร c ตามสี
t.color(c) # กำหนดสีตามค่าที่ลูปได้จากตัวแปร c
t.forward(90) # ลากเส้นตรงไปข้างหน้า 90 พิกเซล
t.left(90) # หันไปทางขวา ทำมุม 90 องศาจากมุมเดิม
turtle.mainloop() # ลูปค้างหน้าจอไว้
[/python]
สรุปคำสั่ง
turtle.Turtle() เป็นคำสั่งสำหรับดึงคำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการวาดรูปมาทำงาน มักใช้ตัวแปรแทนคำสั่งนี้
turtle.forward() ลากเส้นตรงไปข้างหน้ามีหน่วยเป็นพิกเซล
turtle.left() หันไปทางขวา ทำมุมตามองศาที่กำหนดจากมุมเดิม
turtle.right() หันไปทางซ้าย ทำมุมตามองศาที่กำหนดจากมุมเดิม
turtle.color() เป็นคำสั่งกำหนดสีให้กับเส้น (ชื่อสีในภาษาอังกฤษ)
turtle.mainloop() เป็นคำสั่งลูปค้างหน้าจอไว้สำหรับรอวาดรูปต่อ
โดยการเรียนภาษาไพทอน จะทำให้น้องๆ ได้รู้จักคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาทั้งในวิชาที่เรียนและประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวัน
ที่มาภาพจาก สสวท., chulabook.com, python3.wannaphong.com