The 39th Beijing Youth Science Creation Competition วิทยาศาสตร์ เด็กเก่ง เด็กไทย เยาวชนไทย โครงการห้องเรียนพิเศษ​ SMTE โครงงานวิทยาศาสตร์ โรงเรียนจุฬาภรณ์ นครศรีธรรมราช​ โรงเรียนพะเยาพิทยาคม

ชื่นชมเด็กไทย คว้าเหรียญทองโครงงานวิทยาศาสตร์จากประเทศจีน

ขอแสดงความยินดีให้กับน้องๆ คนเก่ง ที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย คว้าเหรียญทอง (First Award) จากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ในงาน The 39th Beijing Youth Science Creation Competition (BYSCC)…

Home / CAMPUS / ชื่นชมเด็กไทย คว้าเหรียญทองโครงงานวิทยาศาสตร์จากประเทศจีน

ขอแสดงความยินดีให้กับน้องๆ คนเก่ง ที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย คว้าเหรียญทอง (First Award) จากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ในงาน The 39th Beijing Youth Science Creation Competition (BYSCC) ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 23-26 มีนาคม 2562

เด็กไทยคว้าเหรียญทอง
โครงงานวิทยาศาสตร์จากประเทศจีน

โดยสมาคมวิทยาศาสตร์​แห่งประเทศไทยฯ และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ภายใต้การดูแลของ รศ.ดร.สายวรุฬ ชัยวานิชศิริ กรรมการบริหารสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธาน วทท.44-45 ในการเข้าร่วมแข่งขันในครั้งนี้ ได้คัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไป​แข่ง​ 2​ โรงเรียน (โรงเรียนละ 1 โครงงาน)​ คือ​ 1. ทีมโรงเรียนพะเยาพิมยาคม​ จ.พะเยา​ และ 2. โรงเรียนจุฬาภรณ์​ จ.นครศรีธรรมราช โดยนักเรียนทั้ง​ 2​ โรงเรียน​ ได้รับรางวัล​เหรียญทอง​ first​ award​ ทั้ง 2​ โรงเรียน​ จากการแข่งขัน​ ณ​ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ครั้งนี้

ซึ่ง 3 นักเรียนคนเก่ง ตัวแทนจากโรงเรียนพะเยาพิทยาคม จังหวัดพะเยา ได้แก่

1. นายกษณะพจน์ ทศรฐ ชื่อเล่น​ ข้าวโอ๊ต อายุ 15​ ปี นักเรียนจากระดับชั้น ม.4/15

2. นายสิรวิชญ์ ปาเอื้อม ชื่อเล่น​ กาย อายุ 16 ปี นักเรียนจากระดับชั้น ม.4/15​

3. นางสาวทักษพร นามวงศ์ ชื่อเล่น​ พลอย​ อายุ 16 ปี นักเรียนจากระดับชั้น ม.4/15

และทั้ง 3 คนเป็นนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ​ SMTE* และมีครูที่ปรึกษาโครงงานครั้งนี้ คือ ครูสุทัศน์ บุญเลิศ

ครูสุทัศน์ บุญเลิศ

ในการแข่งขันการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งนี้ น้องๆ โรงเรียนพะเยาพิมยาคม​ ได้นำเสนอโครงงานในชื่อว่า “การผลิตฟิล์มคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลสจากเปลือกต้นไมยราพยักษ์สำหรับการปลูกพืช” 

แนวคิดในการทำโครงงาน คือ … ในชุมชนรอบโรงเรียน จะมีต้นไมยราบยักษ์ขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งวัชพืชชนิดนี้แพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว สามารถสร้างสารพิษทำลายพืชพื้นถิ่น และส่งผลต่อระบบนิเวศในท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า ในไมยราบยักษ์มีเซลลูโลสที่มีคุณภาพสูง ซึ่งสามารถนำมาสังเคราะห์เป็น carboxymethyl cellulose หรือ cmc เราจึงมีแนวคิดที่อยากนำไมยราบยักษ์มาสกัด cmc ในการเคลือบเมล็ดข้าว ร่วมกับสารสกัดจากปลายรากผักตบชวา เพื่อกระตุ้นการงอก เพิ่มความยาวราก และส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าว

ขอบคุณที่มาข้อมูลและภาพจากเพจ งานประชาสัมพันธ์ โรงเรียนพะเยาพิทยาคม – Pr PPk

 

*โครงการห้องเรียนพิเศษ​ SMTE หรือ Science Math Technology and Environment เป็นหลักสูตรสสวท. สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีทักษะและความสามารถเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และประสงค์จะเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัย ต่อไปในอนาคต