Memology ครูพี่หวาย ครูพี่หวายธฤตสรณ์ ศรพรหม ความจำ คำศัพท์ ติวเตอร์ ปัญหาก่อนสอบ ปัญหาวัยรุ่น วิธีจำคำศัพท์ ศาสตร์แห่งความจำ สอบ เคล็ดลับความจำ

Memology ศาสตร์แห่งความจำ สุดยอดเคล็ดลับเพิ่มคลังคำศัพท์รับมือก่อนสอบ

เชื่อว่าปัญหาหนักใจในช่วงใกล้สอบของน้องๆ หลายคน คืออ่านหนังสือสอบแล้วจำไม่ได้ หรือจำได้ในระยะเวลาสั้นๆ และลืมเนื้อหาไปอย่างรวดเร็ว วันนี้จะพาไปไขเคล็ดลับจัดการความจำให้อยู่หมัด ของ ครูพี่หวายธฤตสรณ์ ศรพรหม ติวเตอร์ชื่อดังขวัญใจคนรุ่นใหม่ จากโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ ซึ่งครูพี่หวายบอกว่า ความจำเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ด้วยศาสตร์แห่งความจำ (Memology) ทั้ง…

Home / CAMPUS / Memology ศาสตร์แห่งความจำ สุดยอดเคล็ดลับเพิ่มคลังคำศัพท์รับมือก่อนสอบ

เชื่อว่าปัญหาหนักใจในช่วงใกล้สอบของน้องๆ หลายคน คืออ่านหนังสือสอบแล้วจำไม่ได้ หรือจำได้ในระยะเวลาสั้นๆ และลืมเนื้อหาไปอย่างรวดเร็ว วันนี้จะพาไปไขเคล็ดลับจัดการความจำให้อยู่หมัด ของ ครูพี่หวายธฤตสรณ์ ศรพรหม ติวเตอร์ชื่อดังขวัญใจคนรุ่นใหม่ จากโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ ซึ่งครูพี่หวายบอกว่า ความจำเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ด้วยศาสตร์แห่งความจำ (Memology) ทั้ง 3 ข้อคือ

Memology ศาสตร์แห่งความจำ

1. Memostory : Memory + Story จำเป็นเรื่อราว

เทคนิคนี้มาจากผู้ที่มีความจำที่ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งของโลก อย่าง รอนไวท์ วิทยากรชื่อดังด้านการฝึกฝนความจำที่บอกว่าเราจะจำได้ดีขึ้น หากผูงโยงหน่วยต่างๆ ให้กลายเป็นเรื่องราว เช่นคำว่า “Bear” ที่สามารถแปลได้ถึง 6 ความหมายคือหมี, รับผิดชอบ, แบกรับ, ถือ, อดทน, ออกลูก ก็ให้เราผูกโยงเรื่องราวเป็น “หมีออกลูกมารับผิดชอบการถือปืนแบกปูนไปโบกตึกอย่างอดทน” เป็นต้น

 

2. Memologic : Memory + Logic จำด้วยภาพและเสียงที่คุ้นเคย

คือวิธีจดจำศัพท์โดยเชื่อมโยงกับความหมายภาพและการออกเสียงของคำ วิธีนี้เหมาะสำหรับการจดจำศัพท์ยากๆ และซับซ้อนเพราะช่วยให้จำศัพท์ได้ง่าย จำได้นาน และเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นคำว่า “Pariah” ที่แปลว่า คนที่สังคมรังเกียจก็ให้น้องๆ จำพ้องกับคำว่า “ป้าร้ายอ่ะ” หรือ คำว่า “Precipitate” ที่แปลว่า “เร่งให้เกิดเร็วขึ้น” ก็ให้น้องๆ จำภาพและเสียงที่พ้องกับคำว่า “พี่ซิ่งพี่เทพ” ที่สื่อถึงความเร็ว

 

3. Memolody : Memory + Melody จำเป็นเสียง

หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าทำไมเนื้อเพลงเป็นร้อยเป็นพันเพลง ผ่านไปหลายปีแต่เรายังจำได้ดี แต่เวลาท่องศัพท์หรืออ่านหนังสือ ทำไมกลับลืมเนื้อหาได้อย่างงายดาย ทั้งที่ตั้งใจอ่านอย่างมุ่งมั่นแล้วแท้ๆ

นักวิทยาศาสตร์เองก็สงสัยเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน จนมีงานวิจัยจากภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ที่อธิบายว่า เสียงเพลงมีจังหวะและการลงสัมผัสคำที่กระตุ้นการทำงานของสมองส่วน “ฮิปโปแคมปัส” และสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียบเรียงความทรงจำ ทำให้เราดึงความจำออกมาได้ง่ายขึ้น

ซึ่งเราสามารถนำดนตรีและเพลงมาใช้ประโยชน์ ด้วยการเรียบเรียงคำศัพท์จัดกลุ่มคำที่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียง มาใส่คำร้อง ทำนอง เพื่อจัดหมวดหมู่และง่ายต่อการเรียกความจำชุดนั้นมาใช้ เช่นกลุ่มคำว่า “ใหญ่” ทั้ง 15 คำสามารถเรียบเรียงและจำเป็นเพลงด้วยเนื้อเพลงว่า

“อยากโตอย่างช้าง Big, Large, Vast, Huge, Enormous, Tremendous, Numerous, Gigantic, Titanic อยากโตอย่างช้าง Mammoth, Massive, Monstrous, Colossal, Immense, Gargantuan” สามารถคลิกฟังเพลงได้ ที่นี่

ครูพี่หวายธฤตสรณ์ ศรพรหม