POEM กลอน กลอน 8 กลอนแปด กลอนแปด คือ การบ้าน ผนผังกลอนแปด สุนทรภู่ เรื่องน่ารู้ แต่งกลอน โครงสร้างกลอนแปด

กลอนแปด คืออะไร? ลักษณะแผนผังกลอนแปด ที่ควรรู้

กลอนแปด ที่เรียนและท่องจำกันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษา แต่หลายคนก็คืนความรู้คุณครูกันไปหมดแล้ว เพราะไม่ค่อยได้นำมาใช้ วันนี้ทีนเอ็มไทยขอนำความรู้เรื่องกลอน กลอนแปดคืออะไร? ลักษณะแผนผังกลอนแปด ที่ควรรู้ บทหนึ่งมีกี่บาท การสัมผัสนอกสัมผัสใน และการกำหนดเสียงคำท้ายวรรคสำคัญใช้เสียงไหนได้ไม่ได้ มาติดตามกันเลยค่ะ กลอนแปด คืออะไร?…

Home / CAMPUS / กลอนแปด คืออะไร? ลักษณะแผนผังกลอนแปด ที่ควรรู้

กลอนแปด ที่เรียนและท่องจำกันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษา แต่หลายคนก็คืนความรู้คุณครูกันไปหมดแล้ว เพราะไม่ค่อยได้นำมาใช้ วันนี้ทีนเอ็มไทยขอนำความรู้เรื่องกลอน กลอนแปดคืออะไร? ลักษณะแผนผังกลอนแปด ที่ควรรู้ บทหนึ่งมีกี่บาท การสัมผัสนอกสัมผัสใน และการกำหนดเสียงคำท้ายวรรคสำคัญใช้เสียงไหนได้ไม่ได้ มาติดตามกันเลยค่ะ

กลอนแปด คืออะไร?

กลอนแปด คือ คำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส หนึ่งในรูปแบบของกลอนแปดก็คือ รูปแบบกลอนแปดของสุนทรภู่ ซึ่งความแพรวพราวด้วยสัมผัสใน และขนบดังกล่าวนี้ก็ได้รับการสืบทอดต่อมาในงานกวีนิพนธ์ยุคหลังๆ กระทั่งปัจจุบัน

ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอนแปด พบครั้งแรกในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งค้นพบกันว่าจังหวะและลีลาลงตัวที่สุด จึงมีคนแต่งแบบนี้มากที่สุด และผู้ที่ทำให้กลอนแปด รุ่งเรืองที่สุดคือท่าน สุนทรภู่ ที่ได้พัฒนาเพิ่มสัมผัสอย่างเป็นระบบ ซึ่งใกล้เคียงกับกลบทมธุรสวาทีในกลบทศิริวิบุลกิตติ์

ลักษณะแผนผังกลอนแปด

กลอนแปด บทหนึ่งประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 8 คำ (ลองนับ 8 คำจริงไหม?) ตามผัง ดังนี้

การสัมผัสนอก คือ ให้มีสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายวรรคหน้ากับคำที่สามของวรรคหลังของทุกบาท และให้มีสัมผัสระหว่างบาทคือคำสุดท้ายของวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบท กำหนดให้คำสุดท้ายของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สองของบทถัดไป

การสัมผัสใน คือ ไม่บังคับ แต่หากจะให้กลอนสละสลวยควรมีสัมผัสระหว่างคำที่สามกับคำที่สี่ หรือระหว่างคำที่ห้ากับคำที่หกหรือคำที่เจ็ดของแต่ละวรรค

หลักการใช้เสียงวรรณยุกต์

  • คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ใช้เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่ไม่นิยมเสียงสามัญ
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ห้ามใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี นิยมใช้เสียง จัตวา เป็นส่วนมาก
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ห้ามใช้เสียง เอก โท จัตวา นิยมใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี
  • คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ห้ามใช้เสียง เอก โท จัตวา นิยมใช้เสียง สามัญ หรือ ตรี

ตัวอย่างกลอนแปด

– กลบทมธุรสวาที ในกลบทศิริวิบุลกิตติ์ , หลวงปรีชา (เซ่ง)

       อตีเตแต่นานนิทานหลัง                    มีนกรังหนึ่งกว้างสำอางศรี

ชื่อจัมบากหลากเลิศประเสริฐดี         เจ้าธานีมียศกิต์มหิศรา

          ดำรงภพลบเลิศประเสริฐโลกย์         เปนจอมโจกจุลจักรอรรคมหา

      อานุภพปราบเปรื่องกระเดื่องปรา-       กฎเดชาเป็นเกษนิเวศน์เวีย

– นิราศภูเขาทอง – สุนทรภู่

ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์               มีคนรักรสถ้อยอร่อยจัด

แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร                        จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา