การบ้าน วิธีเขียนเรียงความ เขียนเรียงความ เคล็ดลับ เทคนิค เรียงความ

5 เทคนิคเขียนเรียงความ ให้น่าสนใจ

เคยเป็นมั๊ย? เริ่มต้นไม่ถูกว่าจะเขียนเรียงความยังไงดี เวลาครูสั่งการบ้านให้เขียนเรียงความ มักจะให้หัวข้อกว้างๆ แล้วเราต้องมาคิดชื่อเรื่องอีกที เป็นต้น เรียกได้ว่าวัยเรียนต้องได้เขียนเรียงความกันบ่อยมาก จนเด็กๆ หลายคนไม่ชอบ เพราะคิดไม่ออกว่าจะเขียนอย่างไรดี วันนี้เรามีเทคนิคเขียนเรียงความ ให้น่าสนใจ มาฝากกัน 5 เทคนิคเขียนเรียงความ…

Home / CAMPUS / 5 เทคนิคเขียนเรียงความ ให้น่าสนใจ

เคยเป็นมั๊ย? เริ่มต้นไม่ถูกว่าจะเขียนเรียงความยังไงดี เวลาครูสั่งการบ้านให้เขียนเรียงความ มักจะให้หัวข้อกว้างๆ แล้วเราต้องมาคิดชื่อเรื่องอีกที เป็นต้น เรียกได้ว่าวัยเรียนต้องได้เขียนเรียงความกันบ่อยมาก จนเด็กๆ หลายคนไม่ชอบ เพราะคิดไม่ออกว่าจะเขียนอย่างไรดี วันนี้เรามีเทคนิคเขียนเรียงความ ให้น่าสนใจ มาฝากกัน

5 เทคนิคเขียนเรียงความ ให้น่าสนใจ

เรียงความ คือ งานเขียนประเภทหนึ่ง ที่มาจากการเรียบเรียงความคิด และความเข้าใจของผู้เขียน ด้วยภาษาที่ถูกต้อง สละสลวย

องค์ประกอบการเขียนเรียงความ คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป

วิธีการเขียนเรียงความที่ดี

1. อันดับแรก ตั้งรู้ก่อนว่าจะเขียนเรื่องอะไร? เพื่อเป็นแนวทาง ไม่ให้เราเขียนออกไปนอกเรื่อง

2. หากใครคิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไร ให้อ่านหนังสือเยอะๆ ศึกษาเทคนิคการเขียนของนักเนียนต่างๆ จะทำให้เราซึมซับเทคนิค และรู้ว่าเขียนแบบไหนถึงน่าอ่าน เพราะก็มีบางคนเขียนยาวมาก แต่ไม่สนุกเลย

3. ควรจะทำการศึกษาข้อมูลเพื่อนำมาเขียนให้ดี และเพื่อความถูกต้อง

4. มีสมาธิ ตั้งสติก่อนเขียนงานทุกครั้ง หาที่เงียบๆ เป็นส่วนตัวนั่งทำ เวลาสมองเราแล่น มือเขียนหรือพิมพ์งานอยู่ ถ้ามีใครมาเรียกปุ๊บ นี่คือจบเลย ความคิดหลุดทันที

5. เนื้อเรื่องควรมีความสอดคล้องกัน และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันในแต่ละย่อหน้า ตั้งแต่

  • คำนำ (ไม่ควรเกิน 3-5 บรรทัด) คือ การเกริ่นนำ ต้องเขียนให้กระชับ กระตุ้นความสนใจของคนอ่าน วิธีการเขียนคำนำทำได้หลายวิธี เช่น พูดถึงสถานการณ์บางอย่างเพื่อโยงมาเข้าเนื้อเรื่องของเรา
  • เนื้อเรื่อง (ไม่ควรต่ำกว่า 15 บรรทัด) ในเนื้อเรื่องควรมีความสอดคล้องกัน หากมีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพด้วย จะทำให้เรียงความของเราดูน่าสนใจและเข้าใจง่ายมากขึ้น และอย่าลืมจัดย่อหน้าลำดับให้ดี เรียงความจะดูน่าอ่านยิ่งขึ้น ไม่ควรเขียนเป็นพืดยาวทีเดียว 
  • บทสรุปปิดท้าย (ควรจะมีประมาณ 8 บรรทัด) เป็นการสรุปในสิ่งที่เราพูดมาทั้งหมดในเนื้อเรื่อง ว่าเรากล่าวถึงอะไร จุดสำคัญคือตรงไหน และสามารถควรฝากข้อคิด ความรู้ ความประทับใจแก่ผู้อ่าน การเขียนสรุปมีหลายวิธี อาจสรุปด้วยคำถาม ข้อคิด สุภาษิต บทร้อยกรอง อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยใช้ถ้อยคำที่กระชับ คมคาย เพื่อให้คนอ่านประทับใจและนำข้อคิดไปใช้ได้

ซึ่งบอกเลยว่า ทั้งสามส่วนล้วนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเรียงความที่ขาดไม่ได้