กลอน 4 กลอนสี่ การแต่งกลอน ภาษาไทย มหาชาติคำหลวงกัณฑ์มหาพน วรรคดีไทย เรื่องน่ารู้ แต่งกลอน

กลอนสี่ คืออะไร? ตัวอย่างแผนผัง พร้อมคำธิบายเข้าใจง่าย

“กลอนสี่” คือ คำประพันธ์ประเภทกลอน ใน 1 บท มี 2 บาท 1 บาท มี 2 วรรค วรรคละ…

Home / CAMPUS / กลอนสี่ คืออะไร? ตัวอย่างแผนผัง พร้อมคำธิบายเข้าใจง่าย

“กลอนสี่” คือ คำประพันธ์ประเภทกลอน ใน 1 บท มี 2 บาท 1 บาท มี 2 วรรค วรรคละ 4 คำ โดยตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอนสี่ ที่เก่าที่สุดพบในมหาชาติคำหลวงกัณฑ์มหาพน (สมัยอยุธยา) แต่ต่อมาไม่ปรากฏในวรรณคดีไทยมากนัก มักแทรกอยู่ตามกลอนบทละครต่าง ๆ

กลอนสี่ คืออะไร? ตัวอย่างแผนผัง
พร้อมคำธิบายเข้าใจง่าย

ตัวอย่างกลอน 4 ในวรรณคดีไทยที่พบมี 2 แบบ

กลอน 4 แบบที่ 1

คณะ กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งจะประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง

O O O O                        O O O O
O O O O                        O O O O

สัมผัส แบบกลอนทั่วไป คือ คำสุดท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง และคำสุดท้ายวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบทก็เช่นเดียวกัน คือ คำสุดท้ายวรรคที่สี่ของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)

ตัวอย่าง กลอน 4 แบบที่ 1

                  เหวยเหวยอีจันทรา        ขึ้นหน้าเถียงผัว
อุบาทว์ชาติชั่ว                           ไสหัวมึงไป
นางจันทาเถียงเล่า      พระองค์เจ้าหลงใหล
ไล่ตีเมียไย                                 พระไม่ปรานี
เมียผิดสิ่งใด                              พระไล่โบยตี
หรือเป็นกาลี                          เหมือนที่ขับไป

— บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่อง สังข์ทอง

กลอน 4 แบบที่ 2

คณะ กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งประกอบด้วย 4 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง

O O O O               O O O O
O O O O               O O O O
O O O O               O O O O
O O O O                O O O O

สัมผัสนอก ในทุกบาท คำสุดท้ายของวรรหน้า สัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง มีสัมผัสระหว่างบาทที่สองกับสาม คือ คำสุดท้ายวรรที่สี่สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่หก ส่วนสัมผัสระหว่างบทนั้นจะแตกต่างจากแบบแรก เนื่องจากให้คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สี่ของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)

ตัวอย่าง กลอน 4 แบบที่ 2

    จักกรีดจักกราย             จักย้ายจักย่อง
ไม่เมินไม่มอง                 ไม่หมองไม่หมาง
งามเนื้องามนิ่ม                   งามยิ้มงามย่าง
ดูคิ้วดูคาง                                ดูปรางดูปรุง
ดั่งดาวดั่งเดือน        ดั่งจะเลื่อนดั่งจะลอย
พิศเช่นพิศช้อย                   พิศสร้อยพิศสุง
ช่างปลอดช่างเปรื่อง          ช่างเรืองช่างรุ่ง
ทรงแดดทรงดุ่ง                    ทรงวุ้งทรงแวง

— กลบทจาตุรงคนายก, ศิริวิบุลกิตติ, หลวงปีชา (เซ่ง)

สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่กวีมักจัดให้มีสัมผัสระระหว่างคำที่สองและคำที่สามของทุกวรรค