การบ้าน มหาชาติคำหลวง ลิลิตพระลอ วรรณกรรมไทย วิชาภาษไทย เกร็ดความรู้ แต่งคำประพันธ์ โคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพคืออะไร? ทำไมกวีถึงนิยมแต่งโครงนี้มากที่สุด

สำหรับน้องๆ วัยเรียน โดยเฉพาะระดับชั้นม.ต้น ต้องเจอคำประพันธ์ ประเภท โคลงสี่สุภาพ ในบทเรียนและข้อสอบแน่นอนในวิชาภาษไทยแน่นอน วันนี้ทีนเอ็มไทย จะพาไปทบทวนความรู้ ความหมาย ประวัติความเป็นมา และการแต่งโคลงสี่สุภาพ กันค่ะ รวมไปถึงแนวข้อสอบเรื่องการแต่งคำประพันธ์ลักษณะนี้ด้วย โคลงสี่สุภาพคืออะไร?…

Home / CAMPUS / โคลงสี่สุภาพคืออะไร? ทำไมกวีถึงนิยมแต่งโครงนี้มากที่สุด

สำหรับน้องๆ วัยเรียน โดยเฉพาะระดับชั้นม.ต้น ต้องเจอคำประพันธ์ ประเภท โคลงสี่สุภาพ ในบทเรียนและข้อสอบแน่นอนในวิชาภาษไทยแน่นอน วันนี้ทีนเอ็มไทย จะพาไปทบทวนความรู้ ความหมาย ประวัติความเป็นมา และการแต่งโคลงสี่สุภาพ กันค่ะ รวมไปถึงแนวข้อสอบเรื่องการแต่งคำประพันธ์ลักษณะนี้ด้วย

โคลงสี่สุภาพคืออะไร?
ทำไมกวีถึงนิยมแต่งโครงนี้มากที่สุด

โคลงสี่สุภาพ คือ โคลงชนิดหนึ่งที่มีเสน่ห์ของการบังคับวรรณยุกต์เอกโทอันเป็นมรดกของภาษาไทยที่ลงตัวที่สุด คำว่า สุภาพ หรือ เสาวภาพ หมายถึงคำที่มิได้มีรูปวรรณยุกต์ ทำให้กวีนิยมแต่งมากที่สุด

ประวัติความเป็นมา

โคลงสี่สุภาพ ปรากฏในวรรณกรรมไทย ตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา ปรากฏใน มหาชาติคำหลวง เป็นเรื่องแรก และมีวรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 3 เรื่อง ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย โคลงมังทราตีเชียงใหม่ และลิลิตพระลอ

สมัยอยุธยาตอนกลาง วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพ ได้แก่ โครงเรื่องพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม และโคลงราชสวัสดิ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระนายรายณ์มหาราช โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช โคลงนิราศนครสวรรค์ กาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสามของพระศรีมโหสถ

สมัยอยุธยาตอนปลาย ได้แก่ โคลงนิราศพระบาท โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย และกาพย์ห่อโคลงพระราชนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร

สมัยธนบุรี ได้แก่ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี และลิลิตเพชรมงกุฎ

สมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมที่ใช้โคลงสี่สุภาพที่เด่น ๆ ได้แก่ ลิลิตตะเลงพ่าย โคลงนิราศนรินทร์ โคลงนิราศสุพรรณ โคลงโลกนิติ สามกรุง

โคลงสี่สุภาพเป็นคำประพันธ์ที่กวีชอบแต่งและผ่านการพัฒนามายาวนานจนมีฉันทลักษณ์ที่ลงตัวและเป็นแบบฉบับดังที่ยึดถือกันในปัจจุบัน

ลักษณะบังคับ โคลงสี่สุภาพ

๐ ๐ ๐ เอก โท                ๐ x (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ x                       เอก โท
๐ ๐ เอก ๐ x ๐               เอก (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ โท             เอก โท ๐ ๐

หนึ่งบทมี 30 คำ แบ่งเป็น 4 บาท 3 บาทแรกบาทละ 7 คำ บาทที่สี่ 9 คำ แต่ละบาทแบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 คำ วรรคหลัง 2 คำ เว้นบาทสุดท้าย วรรคหลัง 4 คำ มีสร้อยได้ในบาทแรก บาทที่สาม และบาทที่สี่ ส่งสัมผัสจากคำที่ 7 บาทแรกไปยังคำที่ 5 ในบาทที่สองและสาม กับคำสุดท้ายวรรคที่สองไปยังคำที่ 5 บาทที่สี่ บังคับเอก 7 แห่ง โท 4 แห่ง

ตัวอย่างของโคลงสี่สุภาพ

ตัวอย่างของโคลงสี่สุภาพในจินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี ที่มีไม้เอกไม้โทตรงตามบังคับ

๏ เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ ๚ะ

                                                                                        — ลิลิตพระลอ

ตัวอย่างของโคลงสี่สุภาพในจินดามณี ฉบับหลวงวงศาธิราชสนิท ที่มีไม้เอกไม้โทตรงตามบังคับ

๏ นิพนธ์กลกล่าวไว้ เป็นฉบับ
พึงเพ่งตามบังคับ ถี่ถ้วน
เอกโทท่านลำดับ โดยที่ สถิตนา
ทุกทั่วลักษณะล้วน เล่ห์นี้คือโคลง ๚ะ

นอกจากนี้มีโคลงแบบฉบับอีกบทที่มาจากโคลงนิราศนรินทร์ ที่เอกโทครบตรงตำแหน่งเช่นกัน

๏ จากมามาลิ่วล้ำ ลำบาง
บางยี่เรือราพราง พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ ๚ะ

                                                                                                 — นิราศนรินทร์

คลิปแนวข้อสอบเรื่องการแต่งคำประพันธ์