การบ้าน การเขียนคำขวัญ คำขวัญ คำขวัญ หมายถึง วิธีเขียนคำขวัญ

การเขียนคำขวัญ ให้น่าสนใจ

คำขวัญ เป็นสิ่งที่น้องๆ หลายคนคงจะรู้จักดี และต้องเคยแต่งหรือเคยอ่านกันมาบ้าง อย่างเช่น คำขวัญประจำจังหวัดหรือคำขวัญวันเด็ก แต่หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วคำขวัญคืออะไร หรือมีวิธีการแต่งคำขวัญอย่างไร วันนี้เรามีความรู้มาฝากกัน น้องๆ จะได้นำไปใช้ในการแต่งคำขวัญส่งประกวด การเขียนคำขวัญ ให้น่าสนใจ เริ่มต้น…

Home / CAMPUS / การเขียนคำขวัญ ให้น่าสนใจ

คำขวัญ เป็นสิ่งที่น้องๆ หลายคนคงจะรู้จักดี และต้องเคยแต่งหรือเคยอ่านกันมาบ้าง อย่างเช่น คำขวัญประจำจังหวัดหรือคำขวัญวันเด็ก แต่หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วคำขวัญคืออะไร หรือมีวิธีการแต่งคำขวัญอย่างไร วันนี้เรามีความรู้มาฝากกัน น้องๆ จะได้นำไปใช้ในการแต่งคำขวัญส่งประกวด

การเขียนคำขวัญ ให้น่าสนใจ

เริ่มต้น เราต้องทราบก่อนว่า คำขวัญ หมายถึง ถ้อยคำ ข้อความ หรือบทกลอนสั้นๆ เพื่อให้จำได้ง่าย

ความสำคัญของคำขวัญ : เป็นเครื่องมือที่ใช้เตือนใจ ชักชวน จูงใจคนในสังคมให้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ

องค์ปรกอบของคำขวัญ มี 3 ส่วน ได้แก่

1. ความมุ่งหมายหรือแนวคิด

2. ข้อความหรือเนื้อหา

3. ศิลปะแห่งการใช้ถ้อยคำ

ลักษณะของคำขวัญที่ดี

1. มีเจตนาที่ดี ต่อผู้ฟัง ผู้ปฏิบัติหรือผลประโยชน์ของส่วนรวม เช่น คำขวัญเชิญชวนงดการสูบบุหรี่ คำขวัญเชิญชวนให้ประหยัดน้ำ

2. มีเป้าหมายชัดเจนเพียงเป้าหมายเดียว เช่น เพื่อให้เคารพกฎจราจร หรือเพื่อให้ช่วยรักษาความสะอาดของถนน

3. มีเนื้อหาครอบคลุมเป้าหมาย

4. ไพเราะ สัมผัสคล้องจอง มีพลังโน้มน้าวใจผู้ฟังให้จำและปฎิบัติตาม

การเขียนคำขวัญ มีเขียน 3 แบบ

-การเขียนแบบคำคล้องจอง คือ การเขียนที่ใช้สระเดียวกัน หรือคำสัมผัมเดียวกัน

-การเขียนคำขวัญแบบร้อยกรอง คือ การเขียนคำตามแบบบังคับ ของคำประพันธ์ชนิดนั้นๆ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

-การเขียนคำขวัญแบบร้อยแก้ว คือการเขียนที่เรียบเรียงขึ้นอย่างไพเราะ โดยไม่มีข้อบังคับในเรื่องการสัมผัส เอก โท เขียนง่าย

หลักการง่ายๆ เขียนคำขวัญ

1. ใช้ถ้อยคำสั้น กะทัดรัด มีความหมายลึกซึ้ง ใช้คำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 16 คำ แบ่งเป็นวรรคได้ตั้งแต่ 1-4 วรรค

2. เขียนให้ตรงจุดมุ่งหมาย มีการแสดงความคิดของเราในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างชัดเจน หรือที่เรียกว่ามีใจความสำคัญเพียงอย่างเดียว ว่าจะให้ผู้ฟังคิดหรือปฎิบัติเรื่องอะไร

3. มีการจัดแบ่งจังหวะของคำที่สม่ำเสมอ ทำให้สามารถจดจำได้ง่าย

4. มีการเล่นคำ การเล่นเสียงสัมผัส และการใช้คำซ้ำ มีพลังโน้มน้าวใจ

5. เป็นคำตักเตือนหรือแนะนำให้ปฎิบัติในทางที่ดี

6. ต้องรู้ว่ากลุ่มผู้ใช้คำขวัญเป็นคนกลุ่มใด หากเป็นคำขวัญสำหรับเด็กต้องเขียนให้ง่ายกว่าคำขวัญผู้ใหญ่

7. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียน

ตัวอย่างคำขวัญวันเด็ก

คำขวัญวันเด็ก 2551 โดย พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ “สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม”

คำขวัญวันเด็ก 2560 โดย  พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี “เด็กไทย ใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง”

ตัวอย่างคำขวัญประจำจังหวัด

คำขวัญของกรุงเทพมหานคร “กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัดวังงามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย”

คำขวัญของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ “เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสับปะรด สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ”

คำขวัญของจังหวัดสมุทรปราการ “ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม”