จำกันได้ไหม เรื่องคำ “ครุ ลหุ” หมายถึงอะไร อ่านออกเสียงอย่างไร และมีวิธีสังเกตว่าคำไหนเป็นคำครุ คำลหุอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน คำครุ คำลหุ เป็นคำที่บอกลักษณะของเสียงคำหรือพยางค์ มีส่วนสำคัญมากสำหรับการแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ เช่น อินทรวิเชียรฉันท์ จะต้องมีบังคับครุ ลหุ ด้วย
คำครุ คำลหุ คืออะไร?
วิธีสังเกตคำครุ คำลหุ
คำครุ (อ่านว่า คะ-รุ) คือ
พยางค์ที่ออกเสียงหนัก มีวิธีการสังเกตดังนี้
1. พยางค์ที่มีมาตราตัวสะกดในทุกมาตรา (ได้แก่ แม่ กก กด กบ กง กน กม เกย และเกอว) เช่นไม้บรรทัด ข้าวของ เล็กน้อย
2. พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวเท่านั้น ไม่มีตัวสะกดก็ได้ เช่น เวลา วารี ศาลา
3. พยางค์ที่ประสมด้วย อำ ไอ ใอ เอา จัดเป็นคำครุเพราะมีตัวสะกด เช่น ดำ ให้ เขา
คำลหุ (อ่านว่า ละ-หุ) คือ
พยางค์ที่ออกเสียงเบา มีวิธีการสังเกตดังนี้
1. พยางค์ที่ไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด
2. พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นเท่านั้น เช่น แพะ แกะ นะคะ ชิชะ
3. รวมถึง บ่ ณ ธ ก็ เพราะเป็นพยางค์ที่ออกเสียงสั้นและไม่มีเสียงพยัญชนะสะกด
เรียนรู้หลักภาษาไทยแล้ว ลองมาฝึกทำข้อสอบ วิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กัน >>> วิชาภาษาไทย