ทวนกันอีกสักรอบ ท่องคำไทยแท้ที่ใช้ 20 ไม้ม้วน

จำกันได้ไหม? ในวัยเรียนตั้งแต่ชั้นประถม คุณครูจะให้นักเรียนท่องจำ คำไทยแท้ที่ใช้ไม้ม้วน ซึ่งมีเพียง 20 คำ ใน ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ (กาพย์ยานี) มีหลายคนที่พอจำได้ แต่อ่านท่องผิดหรือเพี้ยนไป ตัวอย่างเช่น “ผู้ใหญ่หาผ้าไหม” แต่ที่ถูกคือ “ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่” และเพื่อทบทวนความถูกต้อง…

Home / CAMPUS / ทวนกันอีกสักรอบ ท่องคำไทยแท้ที่ใช้ 20 ไม้ม้วน

จำกันได้ไหม? ในวัยเรียนตั้งแต่ชั้นประถม คุณครูจะให้นักเรียนท่องจำ คำไทยแท้ที่ใช้ไม้ม้วน ซึ่งมีเพียง 20 คำ ใน ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ (กาพย์ยานี) มีหลายคนที่พอจำได้ แต่อ่านท่องผิดหรือเพี้ยนไป ตัวอย่างเช่น “ผู้ใหญ่หาผ้าไหม” แต่ที่ถูกคือ “ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่” และเพื่อทบทวนความถูกต้อง เราลองมาเช็คกันอีกสักรอบนะคะ

ทวนกันอีกสักรอบ
ท่อง 20 ไม้ม้วน ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่

ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่  ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ

ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ   มิหลงใหลใครขอดู

จะใคร่ลงเรือใบ   ดูน้ำใสและปลาปู

สิ่งใดอยู่ในตู้    มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง

บ้าใบ้ถือใยบัวหู   ตามัวมาใกล้เคียง

เล่าท่องอย่าละเลี่ยง   ยี่สิบม้วนจำจงดี

และทราบไหมคะว่า ผู้แต่งบทไม้ม้วน 20 คำ ที่เราท่องกันจนถึงทุกวันนี้ นั้นก็คือ คุณทวดของหนุ่มโอม ปัณฑพล หรือ โอม Cocktail  (พระยาผดุงวิทยาเสริม)

uuu

นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีการท่องแบบอื่นๆ เช่น การท่องร้อยกรอง แบบนี้

รถใหญ่สีใสใหม่          สะใภ้ใครใช้ขับมา

ใฝ่ใจในรถรา          นั่งใบ้บ้าท่าใหลหลง

สิ่งใดอยู่ใต้เหนือ          ใกล้ใบเรือใส่เกลือผง

เยื่อใยใช่มั่นคง         เขียนให้ตรงจงใคร่ครวญ

                                        ( ธนู บุญยรัตพันธุ์ )

ใฝ่ใจใครใคร่ให้          ใหลหลง

ในใหม่ใสใยยง          ต่ำใต้

ใดใช้ใช่ใบบง          ใหญ่ยิ่ง

ใส่สะใภ้ใกล้ใบ้          สิบม้วนสองหน

                                       ( ประถมมาลา )

อีกทั้ง ไม้ม้วนมีปรากฏในภาษาเขียนของไทย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่ง ของพ่อขุนรามคำแหง ในคำว่า ใคร ใคร่ ใด ใส ใหญ่ ใน ให้ ใช้ ใต้ ใศ่ ใว้ เป็นต้น เสียงสระของไม้ม้วนเดิมเป็นเสียงสระผสม อะ+อึ  ซึ่งหายไปจากภาษามาตรฐาน แต่ก็ยังมีร่องรอยให้เห็นในภาษาไทยถิ่นและภาษาไทกลุ่มต่าง ๆ นอกประเทศไทย ภาษาไทยปัจจุบันออกเสียง อะ+ย เหมือนไม้มลาย (ไ) นอกจากภาษาไทยมาตรฐานแล้วยังมีภาษาไทกลุ่มอื่นเช่น ภาษาลาว และภาษาไทใหญ่ ที่ปรากฏไม้ม้วนในภาษาเขียน

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีตำราเรียนระบุการใช้ไม้ม้วน ในคำศัพท์จำนวน 20 คำ โดยมีคำกลอนแต่งไว้ในหนังสือจินดามณีดังนี้

ใฝ่ใจแลให้ทาน ทังนอกในแลใหม่ใส

ใครใคร่แลยองใย อันใดใช้แลใหลหลง

ใส่กลสใพ้ใบ้ ทังใต้เหนือแลใหญ่ยง

ใกล้ใบแลใช้จง ญี่สิบม้วนคือวาจา


หนึ่งไซร้หมู่ไม้ม้วน ปราชประมวลแต่บูราณ
ส่วนในหนังสือหนังสือประถมมาลา แต่งโดยพระเทพโมลี (ผึ้ง) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ให้หลักการใช้ไม้ม้วน โดยที่สองบทท้ายเป็นคำกลอนจากตำราจินดามณีนั่นเอง ดังนี้

จักลอกจำลองสาร ตามอาจารย์บังคับไข

ใฝ่ใจให้ทานนี้ นอกในมีแลใหม่ใส

ใครใคร่แลยองใย อันใดใช้อย่าใหลหลง

ใส่กลสะใภ้ใบ้ ทั้งต่ำใต้และใหญ่ยง

ใกล้ใบแลใช่จง ใช้ให้คงคำบังคับ

ข้อมูลบางส่วนจาก oknation, wikipedia