ทดลองวิทยาศาสตร์ วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ วันสำคัญ วิทยาศาสตร์ สัปดาห์วิทยาศาสตร์ เคล็ดลับ เรื่องน่ารู้

ทดลองวิทยาศาสตร์ ทำได้ง่าย ไม่ใช่เรื่องยาก เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ทราบไหมคะว่า วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวันสำคัญของประเทศไทยและมีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย กำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี โดยเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ปัจจุบันมีการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นประจำทุกปี ทดลองวิทยาศาสตร์ ทำได้ง่าย…

Home / CAMPUS / ทดลองวิทยาศาสตร์ ทำได้ง่าย ไม่ใช่เรื่องยาก เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ทราบไหมคะว่า วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวันสำคัญของประเทศไทยและมีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย กำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี โดยเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ปัจจุบันมีการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นประจำทุกปี

ทดลองวิทยาศาสตร์
ทำได้ง่าย ไม่ใช่เรื่องยาก

วันนี้เรามีความรู้จากการทดลองวิทยาศาสตร์สุดท้าทาย ที่ทั้งสนุก ได้ความรู้ ทำได้ง่าย และทำให้เข้าใจสิ่งรอบตัวที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ถ้าพร้อมแล้วมาเตรียมอุปกรณ์ และไขข้อสงสัยต่างๆ เหล่านี้กัน ว่าผลการทดลองนี้ มันเกิดขึ้นได้อย่างไร

1. ขวดเป่าลูกโป่งมหัศจรรย์

อุปกรณ์ : ลูกโป่ง, ผงฟู, นํ้าส้มสายชู, ขวดนํ้า

การทดลอง : .นำผงฟูใส่ลงไปในลูกโป่ง และนำนํ้าส้มสายชูใส่ลงไปในขวดนํ้า จากนั้นครอบลูกโปร่งลงบนปากขวด (ใช้มือจับระหว่างลูกโป่งกับปากขวดไว้ก่อนนะคะ) และสังเกตผลการทดลองจะพบว่าลูกโป่งค่อยๆ ใหญ่ขึ้น คล้ายเวลาที่เราเป่าลมใส่ลูกโป่ง นั้นเอง

คำอธิบาย : เนื่องจากเบกกิ้งโซดา ทำปฏิกิริยากับนํ้าส้มสายชูทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งก๊าซมีความหนาแน่น้อยกว่าอากาศ จึงทำให้ก๊าซลอยตัวสูงขึ้น เมื่อมีก๊าซมากๆ ทำให้ลูกโป่งพองตัวออก

 

2. ลาวาแลมป์

อุปกรณ์ : ขวดแก้ว, สีผสมอาหาร, นํ้ามัน, นํ้าเปล่า, ยาเม็ดฟู่

การทดลอง : เทนํ้าใส่ลงในขวดประมาณ 1 นิ้ว จากนั้นเทนํ้ามันใส่ลงในขวดประมาณเกือบเต็มขวด ตามด้วยสีผสมอาหารลงไปในขวด รอให้สีผสมอาหารตกลงไปอยู่ก้นขวด แล้วจึงใส่ยาเม็ดฟู่ลงไป สังเกตผลการทดลองจะพบว่า เม็ดฟู่จะดันสีผสมอาหารขึ้นมา ลอยตัวอยู่ในน้ำมัน คล้ายลาวาเดือดปุดๆ

คำอธิบาย : เป็นเพราะยาเม็ดฟู่ที่เกิดการละลายนําแล้วทำให้เกิดแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อหยดสีขึ้นไปด้านบนจนเมื่อลอยไปถึงผิวด้านบนสุดฟองอากาศก็จะแตกออกหยดนํ้าสีก็จะตกลงข้างล่าง ด้วยความหนาแน่นที่มากกว่านํ้ามันเราจึงเห็นว่าของเหลวสีสวยในขวดมีการเคลื่อนที่ไปมาจนกระทั่งยาเม็ดฟู่ละลายหมด

 

3. ควันในฟองสบู่

cr. Научное шоу профессора Николя

อุปกรณ์ : น้ำยาล้างจาน, เชือกผูกรองเท้า 1 เส้น, แก้วพลาสติก หรือ ชาม, น้ำเปล่า, น้ำแข็งแห้ง

การทดลอง : นำชามมาใส่น้ำเปล่าประมาณครึ่งชาม นำเชือกผูกรองเท้ามาราดด้วยน้ำยาล้างจาน เสร็จแล้ว นำน้ำแข็งแห้งใส่ลงไปในชาม จะสังเกตว่าเกิดไอขึ้นมา เมื่อไอจากน้ำแข็งแห้งล้นชามแล้ว น้ำเชือกผูกรองเท้าที่ผสมน้ำยาล้างจาน ปาดตรงบริเวณปากชามจากซ้ายไปขวา สังเกตผลการทดลองจะพบว่า จะเกิดฟองสบู่ที่มีควันอยู่ภายใน และใหญ่ขึ้น

คำอธิบาย : ควันที่เกิดขึ้นเป็นเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ได้จากน้ำแข็งแห้ง  ความเข้มข้นของน้ำสบู่และน้ำตาลทำให้ได้ลูกโป่งมีขนาดใหญ่และเวลาการเกิดฟองนานขึ้น

 

4. ภูเขาไฟจำลอง

อุปกรณ์ : เบกกิ้งโซดา, สีผสมอาหารสีแดง, น้ำเปล่า, น้ำยาล้างจาน, น้ำส้มสายชู, กระดาษแข็ง, ดินน้ำมัน

การทดลอง :

ขั้นตอนที่ 1 ทำภูเขาไฟ นำกระดาษแข็งมาทำเป็นรูปทรงกรวย ตัดปากกระดาษส่วนบนออก แล้วใช้ดินน้ำมันมาปั้นเป็นรูปภูเขาไฟ และเว้นรูตรงกลางให้เหมือนปล่องภูเขาไฟ จากนั้นนำภูเขาไฟที่เราปั้นเสร็จวางลงบนถาดหรือพาชนะเพื่อป้องกันการเลอะขณะที่ภูเขาไฟระเบิด

ขั้นตอนที่ 2 ทำลาวา โดยการผสมเบกกิ้งโซดา สีผสมอาหาร และน้ำลงในปล่องภูเขาไฟ เติมน้ำยาล้างจานลงไปสักหยด พร้อมคนทั้งหมดให้เข้ากัน จากนั้นใส่น้ำส้มสายชูตามลงไปแล้วรอสักครู่ ภูเขาไฟพร้อมจะระเบิดลาวาแล้ว

คำอธิบาย : สาเหตุที่ฟองลาวาสีแดงปะทุตัวออกมานี้ เป็นเพราะปฏิกิริยาของเบกกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชูที่เราเติมลงไปทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ฟู่ขึ้นมา หรือที่เราเรียกว่า ภูเขาไฟระเบิด นั่นเอง

 

5. โหลแก้วสีรุ้ง

cr. Научное шоу профессора Николя

อุปกรณ์ : • น้ำผลไม้, น้ำมันพืช, แอลกอฮอลล์ (ให้ผสมสีแดงลงไปสักเล็กน้อย), โหลแก้วใส

การทดลอง : เทน้ำผลไม้ใส่โหลแก้วที่เตรียมไว้ จากนั้นค่อย ๆ เติมน้ำมันพืชลงไป ปล่อยให้ไหลไปตามแถบภาชนะ ขณะเดียวกันก็นำแอลกอฮอล์ที่ผสมสีแดงแล้ว เทลงบนน้ำมันพืช (อย่างเบามือ) จะเห็นได้ว่าของเหลวที่เราใส่ลงไปนั้นเกิดการแยกตัวออกเป็น 3 ชั้นอย่างชัดเจน

คำอธิบาย : สารเหล่านี้มีความหนาเเน่นที่แตกต่างกัน โดยสารที่มีความหนาแน่นต่ำกว่าจะลอยอยู่เหนือสารที่มีความหนาแน่นสูงกว่า ไม่สามารถผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันได้ ดังเช่นน้ำมันที่มีความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำจึงลอยอยู่เหนือน้ำ

 

6. สีเต้นระบำ

อุปกรณ์ : สีผสมอาหาร 4 สี , จานก้นลึก, หลอดดูดสี, น้ำยาล้างจาน, นมสด

การทดลอง : นำนมสด เทลงไปในจานก้นลึก และตามด้วยสีผสมอาหารทีละสี เทลงไปในนม จากนั้นนำหลอดดูดสี ดูดน้ำยาล้างจาน และค่อยๆ หยด 1-2 หยด ลงไปในจาน จะสังเกตเห็นว่าสีแตกตัวออก คล้ายสีกำลังเต้นระบำ

คำอธิบาย : เนื่องจากในนม ประกอบไปด้วย โปรตีน แร่ธาตุ ไขมัน น้ำยาล้างจานจึงไปทำให้โมเลกุลของโปรตีนและไขมัน เกิดการเปลี่ยนแปลงและแตกกระจาย ซึ่งคุณสมบัตินี่แหละที่ทำให้เราล้างจานสะอาด


แนวข้อสอบ

เรียนรู้การทดลองวิทยาศาสตร์แล้ว ลองมาฝึกทำข้อสอบ วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กัน >>> วิชาวิทยาศาสตร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง