การพูดโต้วาที วาทศิลป์ โต้วาที

เทคนิคการพูดโต้วาที ศาสตร์แห่งวาทศิลป์

การพูดโต้วาที หมายถึง การใช้คำพูดโต้ตอบบุคคลสองฝ่าย ใช้หลักวาทศิลป์และเหตุผล เพื่อหักล้างเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่ง และพยายามใช้คำพูดโน้มน้าวจิตใจของผู้ฟังให้มีความคิดคล้อยตาม สนับสนุนเหตุผลของตน ซึ่งการโต้วาทีมีการจัดแข่งขัน ตัดสินแพ้ชนะตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เทคนิคการพูดโต้วาที ศาสตร์แห่งวาทศิลป์ รูปแบบการโต้วาที แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย…

Home / CAMPUS / เทคนิคการพูดโต้วาที ศาสตร์แห่งวาทศิลป์

การพูดโต้วาที หมายถึง การใช้คำพูดโต้ตอบบุคคลสองฝ่าย ใช้หลักวาทศิลป์และเหตุผล เพื่อหักล้างเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่ง และพยายามใช้คำพูดโน้มน้าวจิตใจของผู้ฟังให้มีความคิดคล้อยตาม สนับสนุนเหตุผลของตน ซึ่งการโต้วาทีมีการจัดแข่งขัน ตัดสินแพ้ชนะตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

เทคนิคการพูดโต้วาที
ศาสตร์แห่งวาทศิลป์

รูปแบบการโต้วาที

แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเสนอ ทำหน้าที่เสนอข้อมูลและค้านฝ่ายค้าน และ ฝ่ายค้าน ทำหน้าที่ค้านข้อมูลฝ่ายเสนอและเสนอข้อมูลที่ดีกว่า มีจำนวนผู้โต้วาทีฝ่ายละ 3 หรือ 4 คน แต่ปกติจะใช้ 4 คน

ญัตติของการโต้วาที

ญัตติ คือ ประเด็นหรือหัวข้อของการโต้วาที ซึ่งต้องเป็นญัตติกลางๆ ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ โดยที่ฝ่ายเสนอหรือฝ่ายค้านไม่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันมากนัก

การตีญัตติ

คือการแปลญัตติ หรือการแปลความหมายของหัวข้อหรือประเด็นที่ใช้โต้วาทีนั่นเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยเป็นหน้าที่หลักของหัวหน้าทีมทั้งสองฝ่ายเมื่อขึ้นพูดในรอบแรก เพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตของเรื่อง ตีกรอบญัตติให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายตนมากที่สุด จนบางครั้งผลการแพ้ชนะอาจอยู่ที่การตีญัตติเลยทีเดียว

จุดมุ่งหมายการโต้วาที

1. พูดอย่างมีเหตุผล สามารถแสดงความคิดเห็นของตนอย่างเป็นระบบ

2. ค้นคว้าข้อมูลประกอบคำพูดให้มีน้ำหนัก ฟังแล้วน่าเชื่อถือ

3. รู้จักพูดโน้มน้าวให้ผู้ฟังมีความคิดเห็นคล้อยตาม

4. ศึกษาหลักและศิลปะการพูด และฝึกฝนทักษะให้ดียิ่งขึ้น

5. เป็นผู้ฟังที่ดี รู้จักคิดใคร่ครวญอย่างมีเหตุผล และไม่หลงเชื่อคำพูดของผู้อื่นโดยง่าย

6. มีไหวพริบปฏิภาณดี แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี และรู้จักใช้ข้อมูลของฝ่ายตรงข้ามย้อนศรกลับไป

มารยาทในการพูด

1. แต่งกายสุภาพเหมาะสม

2. เลือกใช้ถ้อยคำเหมาะสมกับผู้ฟังและเรื่องที่จะพูด

3. ยอมรับความคิดเห็นของผู้ฟัง ควบคุมอารมณ์ ไม่แสดงความก้าวร้าว หรือพูดหยาบคาย

4. ไม่พูดเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น ไม่พูดกระทบ พูดข่มผู้อื่น

5. ปฏิบัติตามธรรมเนียมการพูด เช่น กล่าวคำขึ้นต้น กล่าวคำลงท้าย กล่าวคำขอบคุณ เป็นต้น

การให้คะแนนการโต้วาที

1. คะแนนเหตุผล 3๐ คะแนน

2. คะแนนหักล้าง 3๐ คะแนน

3. คะแนนวาทศิลป์ 2๐ คะแนน

4. คะแนนหลักฐานอ้างอิง 1๐ คะแนน

5. คะแนนมารยาท 1๐ คะแนน

เทคนิคการโต้วาที

1. เมื่อเริ่มพูด ต้องทักทายผู้ดำเนินรายการ คณะกรรมการ ฝ่ายตรงข้าม และท่านผู้ชม

2. ขึ้นต้นคำพูดให้น่าสนใจ และลงท้ายให้จับใจโดยใช้เพลง กลอน คำคม หรือถ้าสมัยนี้อาจจะใช้การแร็ปให้ดูน่าสนใจและสนุกยิ่งขึ้น

3. ต้องมีจุดเด่นเป็นของตนเอง

4. ต้องพูดให้ผู้ฟังและคณะกรรมการเชื่อในฝั่งเราให้มากที่สุด น่าเชื่อถือที่สุด มีหลักฐานอ้างอิงที่เหนือกว่าฝ่ายตรงข้าม

5. ห้ามนำเรื่องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์มาพูดถึงหรืออ้างอิงเพราะเป็นการไม่สมควร

6. ใช้เวลาให้พอดีและคุ้มค่าให้มากที่สุด

7. ฝึกฝนการพูดหน้ากระจกบ่อยๆ อย่าพูดมีเสียงสั่นเครือ