คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยไทย มหาวิทยาลัยไทยที่ดีที่สุด เรียนหมอ

16 คณะแพทย์ ของมหาวิทยาลัยไทยที่ดีที่สุด ปี 2019

น้องๆ ที่สนใจเรียนต่อการแพทย์ แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกเรียนมหาวิทยาลัยอะไรดี มาฟังทางนี้ โดยการกระทรวงสาธารณสุข การกระทรวงศึกษาธิการ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยว่า สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) ของประเทศไทย ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากสมาพันธ์แพทยศาสตร์ศึกษาโลก ว่าเป็นสถาบันที่ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาแพทยศาสตร์ด้วยเกณฑ์มาตรฐานสากล เป็นผลให้แพทย์ที่จบจากสถาบันผลิตแพทย์ที่ผ่านการประเมินจาก สมพ.จะได้รับรองว่า…

Home / CAMPUS / 16 คณะแพทย์ ของมหาวิทยาลัยไทยที่ดีที่สุด ปี 2019

น้องๆ ที่สนใจเรียนต่อการแพทย์ แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกเรียนมหาวิทยาลัยอะไรดี มาฟังทางนี้ โดยการกระทรวงสาธารณสุข การกระทรวงศึกษาธิการ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยว่า สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) ของประเทศไทย ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากสมาพันธ์แพทยศาสตร์ศึกษาโลก ว่าเป็นสถาบันที่ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาแพทยศาสตร์ด้วยเกณฑ์มาตรฐานสากล เป็นผลให้แพทย์ที่จบจากสถาบันผลิตแพทย์ที่ผ่านการประเมินจาก สมพ.จะได้รับรองว่า เป็นแพทย์ที่ได้มาตรฐานระดับโลก

16 คณะแพทย์ ของมหาวิทยาลัยไทย
ที่ดีที่สุด ปี 2019

ซึ่งมีสถาบันผลิตแพทย์ 16 แห่งจากทั้งหมด 22 แห่ง โดยไทยถือเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลก ทั้ง สรพ. และ สมพ. ที่ได้มาตรฐานแพทย์ไทย การให้บริการของสถานพยาบาล ไปจนถึงคุณภาพการศึกษาของแพทย์ไทยในสายตาโลก คราวนี้เรามาดูกันว่า มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของไทย มีที่ไหนกันบ้าง?

1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

นับได้ว่าเป็นคณะที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด และเป็นคณะแพทยศาสตร์ที่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนมากที่สุดของประเทศไทย ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีอายุ 128 ปี มีแพทย์สำเร็จการศึกษาทั้งหมด 130 รุ่น

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์ เผยแพร่ความรู้สู่สังคมและให้การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนทั่วไป มีชื่อเสียงและผลงานด้านการรักษาพยาบาล รวมถึงงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

2. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล

เป้าหมายของคณะฯ คือการผลิตบุคลากรทางการแพทย์สาขาต่างๆพยาบาล และบุคลากรอื่นทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ เน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้การดูแลรักษาแบบองค์รวม การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและสามารถทำงานในชุมชนได้

3. คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามของประเทศไทยต่อจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังเป็นเป็นโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย

4. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์และสหศาสตร์ เผยแพร่ความรู้สู่สังคมและให้การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนทั่วไป มีชื่อเสียงและผลงานด้านการรักษาพยาบาล รวมถึงงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ในปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีภาควิชาที่ทำการเรียนการสอนอยู่ 21 ภาควิชา และมีหน่วยงานภายใน 9 หน่วยงาน โดยแต่ละภาควิชาจะมีฐานะเป็นแผนกหนึ่งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

5. คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 ปัจจุบันเปิดสอนในสายวิชาชีพแพทยศาสตร์ และสายวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา

  • ชั้นพลีเม็ดดิเคล (ปี 1) เรียนที่คณะวิทยาศาสตร์เป็นหลัก และเรียนทางด้านภาษาที่คณะศิลปศาสตร์
  • ชั้นพรีคลินิก (ปี 2-3) เริ่มใช้ระบบการเรียนแบบใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป โดยใช้หลักการเรียนแบบ Problem-based Learning(PBL) เป็นการเรียนแบบไม่มีการแยกเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์, สรีรวิทยา, หรือพยาธิวิทยาเป็นรายวิชา แต่ใช้การเรียนไปเป็นระบบๆของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายแทน โดยเริ่มในนักศึกษาแพทย์รุ่นที่ 26 เป็นรุ่นแรกของคณะแพทยศาสตร์ในประเทศไทย
  • ชั้นคลินิก (ปี 4-5) แยกเรียนเป็น 3 โรงพยาบาลคือ โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลยะลา และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (โดยแบ่งตามโควตาที่เข้ามาตั้งแต่ตอนแรกรับ)
  • ชั้นเอกซ์เทอร์น (ปี 6)
    • หากเรียนปี 4-5 ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ จะต้องมาฝึกงานเพิ่มเติมที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นเวลา 6 เดือน
    • หากเรียนปี 4-5 ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จะต้องเลือกฝึกงานตามโรงพยาบาลจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการสอนนักศึกษาแพทย์ร่วมกัน ได้แก่ โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี, โรงพยาบาลตรัง, โรงพยาบาลสงขลา, โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เป็นเวลา 6 เดือน และที่เหลืออีก 6 เดือนฝึกงานที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • เมื่อสำเร็จการศึกษารับปริญญาบัตรแพทยศาสตร์บัณฑิต (พ.บ.) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทั้งหมด (โดยไม่มีการแบ่งแยกโรงพยาบาล) ก็เป็นอันว่าจบสิ้นในการเรียนระดับปริญญาตรี

6. คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น

เเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะแพทยศาสตร์ลำดับที่ 5 ของประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 2 ของส่วนภูมิภาค ต่อจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีสถานปฏิบัติการคือโรงพยาบาลศรีนครินทร์

7. วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

เป็นสถาบันผลิตแพทย์ทหารแห่งเดียวในประเทศไทย ก่อตั้งเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ลำดับที่ 7 ของประเทศ จากกระแสพระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ โดยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก และดำรงสถานะสถาบันสมทบของ มหาวิทยาลัยมหิดล

8. คณะแพทยศาสตร์ ม.บูรพา

เป็นคณะแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นแห่งแรกในภาคตะวันออก เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคณะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งประกอบด้วยคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ รวมถึงคณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ที่จะดำเนินการเปิดสอนในอนาคต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาผ่านการรับรองหลักสูตรจากแพทยสภาแล้ว โดยมีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการแก่สังคมและชุมชน

9. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.นวมินทราธิราช

เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2455 วชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลในสังกัดคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และเป็นที่ทำการเรียนการสอนของ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์

10. วิทยาลัยแพทยศาสตร์ ม.รังสิต

เป็นสถาบันแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ลำดับที่ 9 ในจำนวนโรงเรียนแพทย์ทั่วประเทศ 21 สถาบัน ได้รับการรับรองจากแพทยสภาเปิดเป็นโรงเรียนแพทย์โดยสมบูรณ์ ด้วยปณิธานของมหาวิทยาลัยรังสิตที่จะผลิตผลิตบัณฑิตในสาขาที่ประเทศขาดแคลนต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อเพิ่มจำนวนแพทย์ให้เพียงพอโดยการร่วมกันผลิตแพทย์ระหว่างภาครัฐคือกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และเอกชน

11. คณะแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

การเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันคือ หลักสูตรปีพุทธศักราช 2552 โดยในระดับพรีคลินิค (ชั้นปีที่ 2-3) มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Hybrid Problem-based Learning (Hybrid PBL) คือมีการเรียนการสอนแบบบรรยาย ประกอบกับการใช้โจทย์ปัญหาในกระบวนการกลุ่มย่อยที่อ้างอิงทางคลินิก และในระดับคลินิก (ชั้นปีที่ 4-6) มีการจัดการเรียนการสอนคล้ายคลึงกับสถาบันอื่น ๆ โดยเน้นการปฏิการทางคลินิกบนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

12. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)

เป็นสถาบันแพทยศาสตร์ในกำกับของรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทย ได้จัดตั้งขึ้นโดยมีข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในปีการศึกษา 2549 มหาวิทยาลัยได้เปิดรับนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกในโครงการผลิตแพทย์และพยาบาลเพิ่ม ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และกระทรวงสาธารณสุข โดยรับนักศึกษารุ่นละ 48 คน และต่อมาปี 2550 ได้รับนักศึกษาจาก 2 โครงการ คือ โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่ม และโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ต่อมาในปี 2553 ได้มีการเปิดให้บริการ ศูนย์ปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในเวลาต่อมา

13. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)

เป็นคณะแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 8 ของประเทศไทย โดยในช่วงแรกนั้นได้ทำการร่วมมือกับทางโรงพยาบาลวชิรพยาบาล และโรงพยาบาลตำรวจ ในการร่วมผลิตแพทย์ และหลังจากนั้นทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจึงเริ่มทำการเรียนการสอน ณ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีซึ่งเป็นโรงพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ ร่วมกับศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน

14. คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรมีวิสัยทัศน์ที่จะผลิตบัณฑิตแพทย์คุณภาพ บริการทางการแพทย์มาตรฐานสากล และพันธกิจในการบริหารการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม สร้างเสริมงานวิจัยทั้งระดับพื้นฐานและประยุกต์ ให้บริการทางการแพทย์ระดับมาตรฐานสากล ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เน้นการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนและเข้าถึงประชาชน ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรแบ่งหน่วยงานออกเป็น 15 ภาควิชา

15. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ม.อุบลราชธานี

เป็นคณะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งที่ 2 ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ต่อจากคณะเภสัชศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์จัดตั้งขึ้นมาเพื่อผลิตแพทย์ในเขตพื้นที่ชนบท และรองรับการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง รวมทั้งการวิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในเขตภูมิภาค

16. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตแพทย์ ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ รับผิดชอบ ใฝ่รู้ มีการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง เป็นผู้ที่มีน้ำใจ มีสำนึกสาธารณะ มีคุณธรรม และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นได้ บัณฑิตแพทย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นผู้มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก ระเบียบวิธีการวิจัยทางการแพทย์ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

อ้างอิงข้อมูลที่มา scholarship