9 วิชาสามัญ dek62 ข้อสอบ ข้อสอบ วิชาสามัญ 9 วิชา วิชาพระพุทธศาสนา วิชาสังคมศึกษา สังคมศึกษา หลักธรรมพระพุทธศาสนา แนวข้อสอบ

ออกข้อสอบบ่อย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สอบ 9 วิชาสามัญ

มีเรื่องราวน่ารู้มาฝากกันอีกแล้วค่ะ โดยเฉพาะน้องๆ ที่กำลังจะเตรียมตัว ไม่ว่าจะเตรียมทำการบ้าน เตรียมตัวสอบในชั้นเรียนทั่วไป หรือสอบ 9 วิชาสามัญ กับหัวข้อของ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หากใครที่ยังจำเนื้อหาเรื่องนี้ไม่ได้ วันนี้เรามีหลักธรรมพระพุทธศาสนาแบบสรุปย่อๆ ที่มักจะออกสอบบ่อยๆ  มาฝากให้ทบทวน เข้าใจง่ายๆ…

Home / CAMPUS / ออกข้อสอบบ่อย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สอบ 9 วิชาสามัญ

มีเรื่องราวน่ารู้มาฝากกันอีกแล้วค่ะ โดยเฉพาะน้องๆ ที่กำลังจะเตรียมตัว ไม่ว่าจะเตรียมทำการบ้าน เตรียมตัวสอบในชั้นเรียนทั่วไป หรือสอบ 9 วิชาสามัญ กับหัวข้อของ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หากใครที่ยังจำเนื้อหาเรื่องนี้ไม่ได้ วันนี้เรามีหลักธรรมพระพุทธศาสนาแบบสรุปย่อๆ ที่มักจะออกสอบบ่อยๆ  มาฝากให้ทบทวน เข้าใจง่ายๆ กัน

ออกข้อสอบบ่อย
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

อิทธิบาท 4 (ความสำเร็จ)

1. ฉันทะ = ความพอใจ
2. วิริยะ = ความเพียรพยายาม
3. จิตตะ = ฝักใฝ่
4. วิมังสา = หมั่นไตร่ตรอง

สังคหวัตถุ 4 (เหนี่ยวใจคน)

1. ทาน = การให้
2. ปิยวาจา = วาจาอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา = การบำเพ็ญประโยชน์
4.สมานัตตา = ไม่ถือตัว, เสมอต้นเสมอปลาย

ฆราวาสธรรม 4 (ผู้ครองเรือน)

1. สัจจะ = ซื่อสัตย์
2. ทมะ = บังคับ อารมณ์
3. ขันติ = อดทน
4. จาคะ = เสียสละ

อธิษฐานธรรม 4 (ความตั้งใจไว้ในใจ)

1. ปัญญา = รอบรู้
2. สัจจะ = ความจริงใจ
3. จาคะ = เสียสละ
4. อุปสมะ = สงบ

อคติ 4 (ความลำเอียง)

1. ฉันทาคติ = รัก
2. โทสาคติ = โกรธ
3. ภยาคติ = หลง
4. โมหาคติ = กลัว

สัปปุริสธรรม 7 (ธรรมคนดี)

1. ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ
2. อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล
3. อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน
4. มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ
5. กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล
6. ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักบริษัท
7. ปุคคลัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล

พละ 5 (กำลัง 5 อย่าง)

1. สัทธา = ความเชื่อ
2. วิริยะ = ความเพียร
3. สติ = ความระลึกได้
4. สมาธิ = ความตั้งใจมั่น
5. ปัญญา = ความรอบรู้

อบายมุข 4

1. ความเป็นนักเลงหญิง
2. ความเป็นนักเลงสุรา
3.ความเป็นนักเลงการพนัน
4. คบคนชั่วเป็นมิตร

อบายมุข 6

1. ดื่มน้ำเมา
2. เที่ยวกลางคืน
3. เที่ยวดูการละเล่น
4. เล่นการพนัน
5. คบคนชั่วเป็นมิตร
6. เกียจคร้านการทำงาน

ทศพิธราชธรรม 10

1. ทาน = การให้
2. ศีล = ความประพฤติที่ดีงามทางกาย วาจา
3. บริจาค = เสียสละ
4. อาชีวะ = ซื่อสัตย์
5. มัทวะ = สุภาพ อ่อนโยน
6. ตบะ = ความเพียรไม่ย่อท้อต่อปัญหา
7.อโกรธะ = ความไม่โกรธ
8. อวิหิงสา = ไม่เบียดเบียน
9. ขันติ = อดทน
10. อวิโรธนะ = ไม่ผิดทำนองครองธรรม

มรรค 8 (ทางปฎิบัติดำเนินชีวิต)

1.สัมมาทิฐิ = ปัญญาชอบ
2. สัมมาสังกัปปะ = ดำริชอบ
3. สัมมาวาจา = วาจาชอบ
4. สัมมากัมมันตะ = การปฏิบัติชอบ
5. สัมมาอาชีวะ = เลี้ยงชีพชอบ
6.สัมมาวายามะ = เพียรชอบ
7. สัมมาสติ = ระลึกชอบ
8. สัมมาสมาธิ = ตั้งใจไว้ชอบ

เบญจาธรรม 5

1. เมตตาและกรุณา = ปราถนาเป็นคนอื่นมีความสุข
2. สัมมาอาชีวะและทาน = เลี้ยงชีพสุจริต
3. การสังวร = สำรวมในกาม
4. สัจจะ = กล่าววาจาจริง
5. ความมีสติรอบคอบ = อะไรควรไตร่ตรอง

อปริหานิยธรรม 7 (ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม)

1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
2.พร้อมเพียงกันประชุมและเลิก
3.เคารพและสักการะบูชาเจดีย์
4. ไม่บัญญัติหรือยกเลิกตามอำเภอใจ
5. เคารพนับถือผู้อาวุโส
6. ไม่ข่มเหงล่วงเกินสตรี
7. คุ้มครองพระสงฆ์

พรหมวิหาร 4 (ธรรมของพระพรหม)

1. เมตตา = อยากให้ผู้อื่นมีความสุข
2. กรุณา = สงสาร คิดช่วยเหลือผู้ให้พ้นทุกข์
3. มุทิตา = ยินดีเมื่อผู้อื่นประสบความสำเร็จ
4. อุเบกขา = รู้จักวางเฉย

ไตรสิกขา (ข้อปฎิบิติที่จะต้องศึกษา)

1. อธิศีลศึกษา = การฝึกฝนอบรม กาย วาจา
2. อธิจิตตสิกขา = การฝึกอบรมจิตใจให้มีคุณธรรม
3. อธิปัญญสิกขา = การฝึกอบรมปัญญาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริง

ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4

1. อุฏฐานสัมปทา = ขยันหาทรัพย์ วิธีสุจริต
2. อารักขสัมปทา = รู้จักใช้และรักษาทรัพย์
3. กัลยาณมิตตตา = มีเพื่อนที่ดี
4. สมชีวิตา = เลี้ยงชีพเหมาะสมตามกำลังทรัพย์ที่หามาได้

สาราณีธรรม 6 (ธรรมเป็นเหตุระลึกถึงกัน)

1. เมตตากายธรรม = ทำดีต่อกัน
2. เมตตาวจีกรรม = พูดดีต่อกัน
3. เมตตามโนกรรม = คิดดีต่อกัน
4. สีลสามัญญตา = มีศีลบริสุทธิ์
5. ทิฏฐิสามัญญตา = มีความเห็นร่วมกันดี
6. สาธารณโภคี = ได้สิ่งของมาแบ่งกัน

โลกธรรม 8 (ธรรมดาของโลก)

1. ลาภ = มีหรือได้ลาภ
2. อลาภ = เสื่อมหรือสูญเสียลาภ
3. ยส = ได้หรือมียศ
4. อยส = เสื่อมยศ
5. ปลิสา = สรรเสริญ
6. นินทา = ติเตียน
7. สุข = มีสุข
8. ทุกข์ = มีทุกข์

ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก @fieldtnp