ผู้พิการทางสายตา อักษรเบรลล์ เกร็ดความรู้

ครูชาวฝรั่งเศสผู้จุดแสงสว่างในโลกมืด ประดิษฐ์อักษรเบรลล์ เพื่อผู้ที่มองไม่เห็น

อักษรเบรลล์ ประดิษฐ์ขึ้นโดย หลุยส์ เบรลล์ครูตาบอดชาวฝรั่งเศส ปัจจุบันถูกนำไปใช้ไปทั่วโลก การอ่านอักษรเบรลล์ อ่านอย่างไร มีความหมายแบบไหน

Home / CAMPUS / ครูชาวฝรั่งเศสผู้จุดแสงสว่างในโลกมืด ประดิษฐ์อักษรเบรลล์ เพื่อผู้ที่มองไม่เห็น

ประเด็นน่าสนใจ

  • อักษรเบรลล์ สำหรับผู้พิการทางสายตา ต้องใช้การสัมผัสช่วยในการเรียนรู้ วิธีการอ่านคือต้องใช้นิ้วมือไปสัมผัสที่เป็นจุดๆ นูนๆ ขึ้นมา
  • จุดเริ่มต้นของ อักษรเบรลล์ นั้นประดิษฐ์ขึ้นโดย ครูตาบอดชาวฝรั่งเศส ปัจจุบันถูกนำไปใช้ไปทั่วโลก
  • การอ่านอักษรเบรลล์ อ่านอย่างไร มีความหมายแบบไหน ถ้าอยากเขียนชื่อเราให้เป็นอักษรเบรลล์บ้างต้องทำยังไง วันนี้มีเกร็ดความรู็มาฝาก

ครูตาบอดชาวฝรั่งเศส จุดเริ่มต้น อักษรเบรลล์ (Braille)

หลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) ครูตาบอดชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ที่ประดิษฐ์ อักษรเบรลล์ (Braille) ขึ้นมา เขาเกิดที่เมือง Coupvray ใกล้กับปารีส ในฝรั่งเศส แต่ไปเติบโตที่เมือง Lisle บิดาคือ ไซมอน เรเน่ เบรลล์ (Simon-René Braille) มีอาชีพทำอานม้า

เมื่ออายุได้ 3 ปี เบรลล์ประสบอุบัติเหตุจากเข็มของบิดา ทำให้ตาข้างซ้ายบอด เมื่ออายุได้ 4 ปี โรคตาอักเสบอย่างรุนแรงทำให้เบรลล์ตาบอดทั้ง 2 ข้าง แต่เบรลล์ก็ยังได้เข้าเรียน ด้วยการสนับสนุนจากพ่อ ในปี 1821 กัปตันชาร์ล บาบิแอร์ นายทหารแห่งกองทัพบกฝรั่งเศสได้มาเยี่ยมโรงเรียน และนำวิธีการส่งข่าวสารของทหารในเวลากลางคืน เรียกว่า night-writing มาลองใช้ ซึ่งเป็นรหัสที่ใช้จุด 12 จุด และใช้ค่อนข้างยาก ในปีนั้นเองเบรลล์ได้เริ่มประดิษฐ์อักษรเบรลล์ขึ้นมา

ขั้นตอนการ ประดิษฐ์อักษรเบรลล์

เบรลล์ใช้จุดเพียง 6 จุด และใช้เพียงนิ้วเดียววางบนจุดทั้งหมด ซึ่งมีลักษณะเป็นจุดนูนเล็กๆ โดยใน 1 ช่องประกอบด้วยจุด 6 ตำแหน่ง ซึ่งนำมาจัดสลับกันไปมาเป็นรหัสแทนอักษรตาดีหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โน้ตดนตรี ฯลฯ การเขียนใช้เครื่องมือเฉพาะที่เรียกว่า สเลต (Slate) และดินสอ (Stylus) การพิมพ์ใช้เครื่องพิมพ์เรียก เบรลเลอร์ (Brailler) ใช้กระดาษหนาขนาดกระดาษวาดรูป

ในช่วงแรกๆ ที่ประดิษฐ์เสร็จอักษรเบรลล์นั้นไม่เป็นที่รู้จักมากนัก จนกระทั่งปีค.ศ. 1868 เมื่อ Dr. Thomas Armitage กับเพื่อนอีก 5 คน ผู้ก่อตั้ง British and Foreign Society for Improving the Embossed Literature of the Blind (ตอนหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Royal National Institute of the Blind) ได้ตีพิมพ์หนังสือ Braille’s system ขึ้นมา จึงทำให้เป็นที่รู้จัก และจากนั้นจนถึงปัจจุบันอักษรเบรลล์ได้ถูกนำไปใช้ทั่วโลก

ส่วนประกอบ จุดทั้ง 6 ใช้สร้างอักษรเบรลล์

ตัวอักษรเบรลล์จะมีจุดทั้งหมด 6 จุด เรียงกันเป็น 2 แถวในแนวตั้ง นับจากด้านซ้าย จากบนลงล่าง เป็น 1-3 และด้านขวา จากบนลงล่าง เป็น 4-6 โดยมีจุดและไม่มีจุดเป็นรหัส

กล่าวคือวงกลมทึบ ● หมายถึงจุดนูน และวงกลมโปร่ง ○ หมายถึงจุดที่ไม่ใช้ วิธีนี้สามารถทำได้ถึง 63 ตัวอักษร (มาจาก (2^6) -1) การกำหนดรหัสตัวอักษร 10 ตัวแรก A-J จะใช้จุด 1 2 4 และ 5 สลับกันไป 10 ตัวต่อมา K-T จะเติมจุดที่ 3 ลงไปในอักษร 10 ตัวแรก และ 5 ตัวสุดท้าย (ไม่นับ W เพราะ ณ เวลานั้นภาษาฝรั่งเศสไม่ใช้ W) เติมจุดที่ 3 และ 6 ลงไปในอักษร 5 ตัวแรก

อักษรเบรลล์ ภาษาไทย

อักษรเบรลล์ภาษาไทย ประดิษฐ์ดัดแปลงเพิ่มเติมโดย เจนีวีฟ คอล์ฟิลด์ และ นายแพทย์ฝน แสงสิงห์แก้ว (ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ในปี ค.ศ. 1966)

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากจะลองมีชื่อของตัวเองเป็นอักษรเบรลล์ดูบ้าง ลองสร้างเล่นๆ โดยการฝนกระดาษให้นู้นเป็นจุดๆ และลองหลับตาสัมผัสดู

ข้อมูลและภาพจาก wiki/อักษรเบรลล์, http://www.slri.or.th