Universal Prevention กระทรวงสาธารณสุข โควิด-19

Universal Prevention แนวคิดป้องกันโควิด-19 คืออะไร ทำได้อย่างไร ?

Universal Prevention แนวคิดป้องกันโควิด-19 คืออะไร ทำได้อย่างไร ? ขอให้คิดว่าบุคคลที่อยู่ตัวเราอาจเป็นผู้ติดเชื้อได้ทั้งหมด ให้เน้นป้องกันตัวเองให้รอบด้าน

Home / CAMPUS / Universal Prevention แนวคิดป้องกันโควิด-19 คืออะไร ทำได้อย่างไร ?

เนื่องจากการระบาดโควิด-19 ในไทยยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงได้หารือและเสนอแนวคิด Universal Prevention หรือ การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาลออกมา โดยเผยว่า สาระสำคัญ คือ เราต้องอยู่กับโควิดให้ได้ เพราะโรคนี้ยังคงอยู่กับประเทศไทย และในโลกอีกระยะหนึ่ง แนวคิดดังกล่าวคืออะไร จะทำได้อย่างไร? ไปลองอ่านทำความเข้าใจกัน

Universal Prevention แนวคิดป้องกันโควิด-19 จากกระทรวงสาธารณสุข

Universal Prevention คืออะไร?

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้เปิดเผยว่า ที่ประชุม ศบค. ชุดเล็ก ได้หารือในเรื่องของ Universal Prevention คือ การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล ซึ่งเป็นการเสนอแนวคิดจากทางกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ในไทยตอนนี้เป็นไปอย่างกว้างขวางไม่สามารถทราบแน่ชัดได้ว่า ผู้ติดเชื้อได้รับเชื้อมาจากใคร หรือว่ามีการเดินทางไปในพื้นที่ใดบ้าง

ดังนั้นเพื่อเป็นการปรับตัวให้สมดุลกับการดำรงชีวิตแบบใหม่คือต้องอยู่กับโควิดให้ได้ เพราะแนวโน้มโรคนี้ยังคงอยู่กับประเทศไทยและในโลกอีกระยะหนึ่งจึงได้เสนอแนวคิด

หลักปฏิบัติ Universal Prevention ขอให้คิดว่าบุคคลที่อยู่รอบตัวเราอาจจะเป็นผู้ติดเชื้อได้ทั้งหมด ให้เน้นป้องกันตัวเองให้รอบด้าน

แนวทาง 10 ข้อ Universal Prevention การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล

Universal Prevention ทำอย่างไร?

  1. ออกจากบ้านเมื่อจําเป็นเท่านั้น
  2. เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร ในทุกสถานที่
  3. สวมหน้ากากอนามัยและทับด้วยหน้ากากผ้าตลอดเวลา ทั้งที่อยู่ในและนอกบ้านที่มีคนมากกว่า 2 คน
  4. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือแจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วม ไอจาม หรือสัมผัสวัตถุ/สิ่งของ ที่ใช้ร่วมกัน
  5. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าที่สวมใส่อยู่ รวมทั้งใบหน้า ตา จมูก ปาก โดยไม่จําเป็น
  6. ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี และผู้มีโรคเรื้อรัง หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน เว้นแต่จําเป็น(น้อยครั้งและใช้เวลาสั้นที่สุด)
  7. ทําความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้หรือสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ
  8. แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิด ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น
  9. เลือกทานอาหารที่ร้อนหรือปรุกสุกใหม่ ควรทานอาหารแยกสํารับ หากทานร่วมกันให้ใช้ช้อนกลางส่วนตัว
  10. หากสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยง เช่น สัมผัสผู้ที่อาจติดเชื้อ หรือมีอาการ ควรได้รับการตรวจด้วย ATK บ่อย ๆ เพื่อยืนยันว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ หรือไปรับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน