การออกเสียงเรียกคำว่า แม่ หรือผู้ให้กำเนิด ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ จะมีการออกเสียงที่ใช้ มอม้า หรืออักษรตัว M จึงทำให้มีการออกเสียงเรียกที่คล้ายกัน เกร็ดความรู้วันนี้ จะพาไปอ่านการเรียกคำว่า แม่ของแต่ละประเทศ มาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน
คำว่า แม่ ของแต่ละประเทศ ออกเสียง มอม้า คล้ายกัน
นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ การออกเสียงคำว่า แม่ เพราะว่า ม.ม้า เป็นพยัญชนะที่ออกเสียงได้ง่ายในมนุษย์ อย่างเสียงของเด็กแรกเกิดที่เมื่อออกมาจากท้องแม่แล้ว ก็จะร้องเรียก แม๊ แม๊ อุแว๊ๆ อุแว๊ๆ ซึ่งก็มีเสียงที่คล้ายกับการเรียกแม่ ในประเทศไทยเรียกฐานเสียงที่เกิดนี้ว่า “ฐานโอษฐชะ” หมายถึงเสียงที่ขณะเปล่งออกมาจะมีการเม้มริมฝีปาก แล้วเปล่งเสียง ตัวอักษรไทยที่เกิดจากฐานเสียงนี้ เช่น วรรค ป ได้แก่ บ ป ผ ภ พ ม เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทยเรียกผู้ให้กำเนิดว่า แม่ ส่วนคนไทยเชื้อสายจีนอรียก มาม้า ส่วนประเทศอื่นๆ เรียก แม่ ว่าอะไร ไปอ่านกันเลย
- ไทย เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า “แม่”
- ไทยเชื้อสายจีน เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า มาม้า
- ภาษาอังกฤษ เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า “มาเธอร์ (Mother)” หรือ “มัม (Mom)”
- ภาษาลาว เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “อีแม”
- คนญี่ปุ่น เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “โอก้าซัง”
- คนเกาหลี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “ออมม่า”
- ภาษาสันสกฤต เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า “มารดา”
- ภาษาเยอรมัน เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า “มุสเธอร์ (Mutter) หรือ มาม้า (Mama)”
- ภาษาบาลี เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า “มาตา”
- คนจีน เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า “ม่าม้า” (แต้จิ๋ว) จีนกลางจะออกเสียงว่า “มาหมะ”
- ชนเผ่าปกากะญอ เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “โม่”
- ชนเผ่าอาข่า เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “อะมา”
- คนเวียดนาม เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “แม๊” (ใกล้เคียงภาษาไทย)
- คนเขมร เรียกผู้ให้กำเนิดว่า ว่า “กุนแม”
- ภาษามาเลย์ เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มาม่า”
- ภาษาอาหรับ เรียกผู้ให้กำเนิดว่า ว่า “อุมมี”
- คนแขก เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มามี้”
- คนฝรั่งเศส เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มามอง (Maman)”
- คนสเปนและอิตาลี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มาเดร (Madre)”
- คนโปรตุเกส เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “แมะ (Mae)”
- คนแถบสแกนดิเนเวีย (เดนมาร์ก, นอร์เวย์, สวีเดน) เรียกผู้ให้กำเนิดว่า “มัวร์ (Mor, Moder)”