วิธีเอาตัวรอด ไฟไหม้

วิธีเอาตัวรอดจาก ไฟไหม้ ความรู้เบื้องต้นไว้ใช้ในยามคับขัน

จากเหตุการณ์ โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ สร้างผลกระทบอันตรายต่อประชาชนในละแวกพื้นที่ ขอนำความรู้เบื้องต้น วิธีเอาตัวรอดจาก ไฟไหม้ มาให้ได้อ่านกันไว้

Home / CAMPUS / วิธีเอาตัวรอดจาก ไฟไหม้ ความรู้เบื้องต้นไว้ใช้ในยามคับขัน

จากเหตุการณ์ โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ ซึ่งสร้างผลกระทบอันตรายต่อประชาชนในละแวกพื้นที่ ทำให้นายอำเภอบางพลีสั่งอพยพ ประชาชนในระยะรัศมี 5 กิโลเมตร จากจุดเกิดเหตุบริเวณซอยกิ่งแก้ว 21 เนื่องจากยังไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ และหวั่นไฟลามไปติดถังสารเคมี 2 หมื่นลิตร ทั้งนี้ขอนำความรู้เบื้องต้นไว้ใช้ในยามคับขัน วิธีเอาตัวรอดจาก ไฟไหม้ มาให้ได้อ่านกันไว้

วิธีเอาตัวรอดจาก ไฟไหม้ ความรู้เบื้องต้นไว้ใช้ในยามคับขัน

คำแนะนำจาก อ. นพ.พงศศิษฏ์ สิงหทัศน์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์อุบัติเหตุและเวชบำบัดวิกฤตศัลยกรรม ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อเกิเหตุการณ์ ไฟไหม้ เราต้องทำอย่างไรเพื่อที่จะเอาตัวรอดในสถานการณ์คับขัน

ก่อนจะเกิดเหตุ ไม่ว่าจะไปที่ใดๆ ก็ตาม ควรทำดังนี้

ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหน เข้าพักที่ไหนก็ตาม ถึงแม้จะยังไม่ได้เกิดเหตุไฟไหม้สิ่งที่ทุกคนต้องพึงทำไว้เสมอคือ

  • สังเกตทางหนีไฟและจดจำตำแหน่งเอาไว้อย่างแม่นยำ เวลาเกิดเหตุจะได้พาตัวเองออกจากที่เกิดเหตุไปได้ทันเวลา จากหลายๆ เหตุการณ์ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ประสบภัยหลายรายไม่ได้จดจำทางหนีไฟเอาไว้ ทำให้ไม่สามารถหลบหนีได้ทันเวลา

10 วิธีการเอาตัวรอดจากสถานการณ์ ไฟไหม้

  1. อย่างแรกต้องตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก คิดไว้ทางหนีไฟอยู่ตรงไหน เพื่อจะพาตัวเองออกไปให้เร็วที่สุด!
  2. เอาผ้าชุบน้ำปิดปากปิดจมูก หรือหาผ้าห่มชุบน้ำแล้วห่มตัว รีบพาตัวเองออกมาจากที่เกิดเหตุไฟไหม้ให้เร็วที่สุด!
  3. กดสัญญาณเตือนไฟ เพื่อแจ้งให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ จะได้หนีกันได้ทัน ทั้งนี่ส่วนมากตามออฟฟิศ ที่พักคอนโด หอพัก จะมีปุ่มสัญญาณเตือนภัยอยู่
  4. หลีกเลี่ยงการสูดควันต่าง ๆ เพราะส่งผลให้ร่างกายขาดออกซิเจน และเสี่ยงรับสารเคมีต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
  5. พยายามก้มต่ำหรือคลาน ระหว่างหาทางหนีออกจากที่เกิดเหตุ หากมีควันมากให้พยายามก้มต่ำหรือคลาน เพราะออกซิเจนจะลอยอยู่ที่ต่ำ
  6. อย่ารีบเปิดประตูให้จับประตูก่อนว่าร้อนหรือไม่ หากรู้สึกร้อนนั่นหมายถึงอาจมีไฟอยู่หลังประตู จึงไม่ควรเปิดเพราะจะทำให้ควันไฟเข้าห้อง วิธีเอาตัวรอดคือ ให้หาผ้าหนาๆ หรือผ้าหรืออื่น ๆ ชุบน้ำมาอุดตรงประตู อุดตามช่องที่ควันไฟสามารถลอยเข้ามาได้เพื่อป้องกันไม่ให้ควันไฟเข้ามาในห้อง ปิดพัดลมระบายอากาศและเครื่องปรับอากาศ เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟ รีบโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อบอกตำแหน่งให้มาช่วย ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือให้ได้มากที่สุด
  7. หากติดอยู่ในห้อง พยายามส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ เช่น ส่องไฟมือถือออกไปทางหน้าต่าง หรือสัญลักษณ์อะไรก็ได้ผ้าขาวโบกออกไปตรงหน้าต่าง เป็นต้น เพื่อให้ภายนอกรู้ว่ามีคนต้องการความช่วยเหลืออยู่
  8. ห้ามใช้ลิฟต์ ควรใช้บันไดหนีไฟแทน เพราะเมื่อไฟไหม้ไฟฟ้าจะดับ ทำให้ลิฟท์ติดค้างภายในลิฟต์คนที่อยู่นนั้นจะขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้
  9. ไม่วิ่งหนีไปที่ห้องน้ำ หลีกเลี่ยงการวิ่งหนีเข้าจุดอับ เช่น ห้องใต้ดิน เพราะอาจจะทำให้ช่วยเหลือได้ลำบาก หนีออกมาได้ยากขึ้น
  10. หากไฟไหม้เสื้อผ้าให้กลิ้งตัวกับพื้น ให้รีบถอดเสื้อผ้าหรือใช้วิธีนอนราบกับพื้นและกลิ้งตัวไปมาให้ไฟดับ อย่าวิ่งอย่างเด็ดขาด เพราะไฟจะลุกลามเร็วขึ้น

การช่วยเหลือผู้อื่นจากสถานการณ์ไฟไหม้

  • หากอยู่ในสถานการณ์คับขันให้รีบพาผู้ประสบภัยออกมาจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด
  • หากเพลิงไหม้สงบลงแล้ว ดูแลเรื่องกระดูกต้นคอเป็นหัวใจสำคัญ ขนย้ายด้วยเปลหรือเบาะ อย่าหิ้วแขนหรือยกศีรษะห้อยลงในขณะเคลื่อนย้าย เพราะอาจทำให้กระดูกเคลื่อนได้
  • กรณีถูกไฟครอกจนเสียหายรุนแรง หลังช่วยเหลือออกจากที่เกิดเหตุได้แล้ว ให้รีบถอดหรือตัดเสื้อผ้าออกจากร่างกายผู้ประสบภัย เพราะเสื้อผ้าจะอมความร้อนเอาไว้มาก อย่าใช้วิธีกระชากเพราะเนื้อผ้าบางส่วนอาจติดที่บริเวณผิวหนัง ทำให้ผิวหนังหลุดออกมาด้วย
  • ถอดเครื่องประดับ เช่น นาฬิกาข้อมือ กำไล ต่างหู ออกจากตัวผู้ประสบภัย เพราะของเหล่านี้อมความร้อนจะทำให้เกิดการพอง
  • ใช้น้ำสะอาดอุณหภูมิปกติรดตัวผู้ประสบภัย เพื่อลดความร้อนให้กับร่างกาย
  • ใช้ผ้าชุบน้ำห่มตัวผู้ประสบภัยไว้ก่อน แล้วนำผ้าบางคลุมอีกชั้นหนึ่ง จากนั้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
  • หากที่เกิดเหตุและโรงพยาบาลอยู่ไกลให้ผู้ประสบภัยดื่มน้ำก่อน เพราะผู้ประสบภัยมักจะมีภาวะขาดน้ำ แต่ถ้าโรงพยาบาลอยู่ไม่ไกลจากที่เกิดเหตุมากนักให้รีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
  • รีบเปิดทางเดินหายใจให้ผู้ประสบภัยหลังนำตัวออกมาจากที่เกิดเหตุ

บทความแนะนำ