จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รถดมไว สุนัข สุนัขดมกลิ่นหาผู้เชื้อโควิด โควิด-19

จุฬาฯ พัฒนา “รถดมไว” คันแรกในไทย ใช้สุนัขดมกลิ่นลงพื้นที่คัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19​

รู้จัก “รถดมไว” ใช้สุนัขดมกลิ่น คัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19​ การทำงานของรถดมไว สุนัขมีความเสี่ยงติดเชื้อไหม

Home / CAMPUS / จุฬาฯ พัฒนา “รถดมไว” คันแรกในไทย ใช้สุนัขดมกลิ่นลงพื้นที่คัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19​

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ตัวเลขของผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังไม่ลดลง นอกจาก “วัคซีน” ซึ่งเป็นความหวังของคนไทยที่มีส่วนช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากโควิด-19 แล้ว การพัฒนานวัตกรรมหรือเครื่องมือต่างๆ ในการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีส่วนช่วยรับมือและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าไปตรวจคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง

รู้จัก “รถดมไว” ใช้สุนัขดมกลิ่น คัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19​

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พัฒนานวัตกรรม “รถดมไว” ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่คัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 พร้อมอุปกรณ์มาตรฐานตามข้อกำหนดของกรมควบคุมโรค โดยนำสุนัขพันธุ์ลาบราดอร์รีทรีฟเวอร์ 6 ตัว ซึ่งได้รับการฝึกฝนในการดมกลิ่นเหงื่อผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบไม่แสดงอาการ ได้ผลถึง 96% มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองเชิงรุกในชุมชนและคลัสเตอร์ที่เกิดขึ้นใหม่ในแต่ละวัน เตรียมออกไปใช้งานในพื้นที่โดยประสานงานกับกรมควบคุมโรคต่อไป การทำงานร่วมกันระหว่างรถดมไวและสุนัขดมกลิ่นผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัทเชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด และบริษัทพีคิวเอ แอสโซซิเอส จำกัด

สุนัขดมกลิ่นคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 แม่นยำปลอดภัย

ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า ผู้ป่วยโควิด-19 จะมีกระบวนการเผาผลาญในร่างกายที่แตกต่างจากก่อนที่จะได้รับเชื้อ ทำให้มีสารเคมีจากต่อมใต้ผิวหนังที่เปลี่ยนแปลงไป สุนัขจึงตรวจจับได้จากเหงื่อของผู้ที่มาตรวจ จึงเป็นที่มาของโครงการวิจัย “การใช้สุนัขดมกลิ่นตรวจหาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ” ความสำเร็จของโครงการ สุนัขดมกลิ่นได้ให้บริการตรวจคัดกรองจำนวนทั้งสิ้นกว่า 1,500 ราย จึงได้มีการออกแบบห้องปฏิบัติงานเคลื่อนที่ “รถดมไว” เพื่อนำสุนัขที่ได้รับการฝึกฝนแล้วมาปฏิบัติงานบนรถดมไว ช่วยสร้างความปลอดภัยแก่ผู้ตรวจและสุนัขที่ปฏิบัติงาน สามารถขยายพื้นที่การตรวจได้มากขึ้น และป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสจากสิ่งแวดล้อมบนตัวสุนัขในระหว่างลงพื้นที่คลัสเตอร์ต่างๆ การตรวจผ่านรถดมไวจะให้ผลได้เร็ว ผู้ป่วยสามารถเก็บตัวอย่างเองได้ และตรวจซ้ำได้หลายครั้ง

รู้จักรถดมไว

ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการออกแบบและผลิต “รถดมไว” อธิบายว่า รถดมไวเป็นพื้นที่ปฏิบัติงานที่ปลอดภัยและสะดวกต่อสุนัข มีพื้นที่ให้สุนัขได้ทำงาน มีการเปลี่ยนเวรทำงานภายในเวลา 1ชั่วโมง มีเครื่องปรับอากาศให้ความเย็นแก่สุนัขทำให้สุนัขไม่เครียด นอกจากนี้ยังคำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งเจ้าหน้าที่และสุนัขผู้ปฏิบัติงานบนรถ โดยได้สร้างระบบความดันลบในห้องเตรียมตัวอย่างมาตรฐานกรมควบคุมโรคระบบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV ในช่องรับส่งตัวอย่าง ห้องเตรียมตัวอย่างและห้องปฏิบัติงาน พร้อมทั้งระบบความปลอดภัยอื่นๆ อาทิ ตู้ยาปฐมพยาบาล ถังดับเพลิงไฟขอความช่วยเหลือฉุกเฉินและไฟแจ้งเตือนขณะปฏิบัติงานบนรถ

ชุดตรวจแท่งลำสีและหลอดแก้ว

เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจคัดกรอง

สำหรับผู้ที่มาตรวจคัดรองทุกคนจะได้รับชุดตรวจคนละ 1 ชุด ภายในชุดตรวจประกอบด้วย ขวดแก้วและแท่งสำลี ให้ผู้รับการตรวจหนีบแท่งลำสีไว้ที่รักแร้ข้างซ้ายและขวาข้างละ 1 แท่ง และรอเวลาประมาณ 15 นาที เพื่อให้แท่งสำลีดูดซับเหงื่อเข้ามา จากนั้นเก็บตัวอย่างใส่ในขวดแก้วเพื่อนำส่งเข้าสู่รถดมไวต่อไป

การทำงานของรถดมไว

  1. Sample Delivery การส่งตัวอย่างเหงื่อของผู้ตรวจผ่าน Pass box ซึ่งใน Pass box จะมี UVC สำหรับฆ่าเชื้อโรคที่อาจะบนเปื้อนมาบนขวดแก้ว
  2. Sample Preparation การเตรียมตัวอย่างก่อนให้สุนัขดม ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเตรียมตัวอย่างบรรจุเหงื่อที่อยู่ในขวดแก้วนำใส่ภาชนะที่เป็นกล่องสแตนเลสอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งกล่องสแตนเลสจะมีลักษณะฝาเป็นรูเพื่อให้สุนัขดม
  3. Sample Loading นำตัวอย่างใส่ขาตั้งที่ปรับความสูงได้ตามสรีระของสุนัข สามารถโหลดตัวอย่างได้สูงสุด 12 ตัวอย่างต่อรอบ
  4. Inspection ครูฝึกจะนำสุนัขออกมาดมกลิ่นตัวอย่างทั้งหมด ถ้าตรวจเจอเชื้อโควิด-19 สุนัขจะนั่งลงหน้าตัวอย่างนั้น มีแนวโน้มว่าเหงื่อของผู้ป่วยคนนั้นเป็นบวกจะแนะนำให้ผู้ป่วยไปตรวจ PCR อีกครั้งเพื่อยืนยันผล
  5. Next Round Preparation นำตัวอย่างออกและเตรียมตัวอย่างสำหรับรอบถัดไป
  6. Disposal ตัวอย่างที่ได้รับการตรวจเสร็จแล้วจะนำไปทิ้งในกลุ่มขยะที่มีการทำลายเชื้อเป็นขยะติดเชื้อ
  7. Cleaning & Disinfection ทำความสะอาดพื้นที่บริเวณที่ตรวจ

สุนัขมีความเสี่ยงติดเชื้อไหม

สุนัขดมกลิ่นและครูฝึกจะไม่ได้สัมผัสกับตัวอย่างและผู้เข้าตรวจโดยตรง เนื่องจากแท่งสำลีที่เก็บตัวอย่างเหงื่อจะอยู่ในขวดแก้วที่มีปิดมิดชิด และเก็บกลิ่นได้ ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC ในช่องรับส่งตัวอย่างและนำไปใส่ภาชนะที่เป็นกล่องสแตนแลสอีกชั้นก่อนให้สุนัขดม