เกร็ดความรู้ สำนวนสุภาษิตไทย วันนี้ขอนำสำนวนที่ว่า แน่เหมือนแช่แป้ง มาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน สำนวนนี้มีความหมายว่าอะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร
แน่เหมือนแช่แป้ง หมายถึงอะไร
อ้างอิงไปถึงเหตุการณ์ในสมัยก่อน ในการประกอบอาหารคนไทยมักจะนิยมทำกันเอง เวลามีการจัดงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารหวาน อาหารคาว ซึ่งส่วนประกอบหลักในการทำอาหารก็ต้องใช้พวกแป้งด้วย อาทิ แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว เอามาทำเส้นขนมจีน ขนมหวานอย่าง ข้าวหมาก เป็นต้น
ซึ่งแป้ง (ในตอนนั้นลักษณะเป็นเม็ด) จะต้องมาทำการแช่น้ำให้นิ่มก่อนโดยใช้เวลาแช่ล่วงหน้า 1 วัน หรือ 1 คืน แล้วนำไปบดด้วยเครื่องโม่ ซึ่งเป็นเครื่องที่ทำจากหินต้องค่อยๆ ใช้มือหมุนให้หินบดข้าวแป้งจนละเอียดแล้วแป้งจะไหลออกจากรอบโม่ลงไปสู่ภาชนะที่รองใต้ปากโม่
เอาเป็นว่าในยุคนั้นถ้าใครเห็นว่าบ้านไหนมีการแช่แป้งก็เป็นอันรู้ๆ กันว่า บ้านนั้นๆ จะมีการทำอาหารจะมีการจัดงานอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นแน่นอน !!! คือที่เขามั่นใจกันเวลาเห็นแป้งแช่แล้วจะมีการทำอาหารนั้น เพราะถ้าแช่แล้วไม่นำไปทำอะไรมันก็จะบูดและเสีย ทำให้ส่วนใหญ่มั่นใจว่าจะต้องมีการทำอาหารทำเมนูใดๆ ขึ้นมา เพราะคงไม่มีใครมาแช่แป้งให้เสียเล่นๆ นั่นเอง
โดยสรุปแล้วสำนวนที่ว่า แน่เหมือนแช่แป้ง ก็หมายถึง เกิดขึ้นแน่นอน เกิดขึ้นชัวร์ๆ ผลเป็นจริงตามที่คิด
ยกตัวอย่างเหตุการณ์ ที่ใช้สำนวน แน่เหมือนแช่แป้ง
- นาย ก มั่นใจและรู้ตัวเองดีว่ารู้สึกรัก นางสาว ข จึงได้บอกความรู้สึกออกไป (เกิดขึ้นแล้วแน่นอนเจ้าตัวรู้สึกแล้ว)
- นายพรานล่าสัตว์ เมื่อล่าได้แล้วก็จะนำใส่ถุงกลับบ้าน ไปทำอาหารหรือไม่ก็เอาไปขาย (อ้างอิง: สำนวน “in the bag”)
- เมื่อบุคคลนั้นๆ ถูกจับได้โดยมีหลักฐานว่ากระทำความผิดจริง ตามหลักกฎหมายจะต้องถูกดำเนินมาตรการการลงโทษ
แน่เหมือนแช่แป้ง สามารถใช้พูดในรูปปฏิเสธก็ได้นะ คือ “ไม่แน่ไม่แช่แป้ง’’ มักใช้คู่กับสำนวนที่ว่า “ไม่จริงไม่ยิงปืน” หมายถึง การที่ทำจริง เอาจริง อะไรเทือกๆ นั้น ยกตัวอย่าง เช่น เวลามีพิธีอะไรสมัยก่อน จะยิ่งปืนขึ้นเพื่อเป็นสัญญาณส่งเสียงว่าจะเริ่มงาน เริ่มพิธี เริ่มเคลื่อนขบวนกันแล้ว
แต่ยุคนี้ไม่จำเป็นต้องรอแช่แป้งแช่ข้าวกันแล้วล่ะค่ะ แป้งก็มีแบบสำเร็จรูปออกมามากมาย แถมยังแยกประเภทออกมาชัดเจนว่าคือแป้งอะไร แป้งแบบไหน ใช้ทำอะไร ใครเห็นก็รู้ว่ามันคือแป้ง หรือไม่ใช่แป้งนะคะ ^^
ส่งท้ายไปด้วย เพลง ไม่แน่ไม่แช่แป้ง