คนท้อง คนท้องฉีดวัคซีน ฉีดวัคซีนโควิด วัคซีนโควิด19

หญิงตั้งครรภ์ ฉีดวัคซีนโควิด19 ได้ไหม ฉีดแล้วปลอดภัยต่อเด็กในครรภ์หรือไม่ มาหาคำตอบกัน

เรารวบรวมคำแนะนำที่เชื่อถือได้ และนำไปปฎิบัติได้จริง ในกรณีหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ต่อการปฎิบัตตัวในช่วงนี้ รวมถึงการฉีดวัคซีนโควิด19 อีกด้วย

Home / แฟชั่น / หญิงตั้งครรภ์ ฉีดวัคซีนโควิด19 ได้ไหม ฉีดแล้วปลอดภัยต่อเด็กในครรภ์หรือไม่ มาหาคำตอบกัน

จัดเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยงที่ยังขาดความมั่นใจและความเข้าใจอย่างชัดเจน สำหรับกลุ่ม หญิงตั้งครรภ์ ในเรื่องของการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด19 และนอกจากนั้นแล้วในช่วงนี้ยังมีข่าวน่าสะเทือนใจเกี่ยวกับการติดโควิด19 ในหญิงตั้งครรภ์ที่เพิ่มสูงขึ้น และยังทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อชีวิตทั้งแม่และเด็กในครรภ์ที่ค่อนข้างเสี่ยงอีกมาก เนื่องจากการที่ไม่ได้รับวัคซีนเป็นตัวช่วย วันนี้เรารวบรวมคำแนะนำที่เชื่อถือได้ และนำไปปฎิบัติได้จริง ในกรณีหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ต่อการปฎิบัตตัวในช่วงนี้ รวมถึงการฉีดวัคซีนโควิด19 อีกด้วย

ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ หากอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ สามารถฉีดวัคซีนได้

หมอแล็บแพนด้า ได้กล่าวถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ว่า ระลอกนี้มีคนท้องติดเชื้อมากขึ้นกว่าระลอกที่ผ่านมา จากข้อมูลตั้งแต่โควิดระบาด ตอนนี้มีคนท้องติดโควิดไปแล้ว 502 ราย
แม่ตาย 7 ราย ลูกตาย 4 ราย
ถือว่าคนท้องก็เป็นอีกกลุ่มนึงที่มีความเสี่ยงพอสมควร จัดได้ว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงกลุ่มที่ 8 ต่อจาก 7กลุ่มโรคเสี่ยง ผมอยากให้ช่วยพิจารณาให้คนท้องควรได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มแรกๆด้วยครับ สถานการณ์ตอนนี้คือคนท้องอยากฉีด แต่ไม่ได้คิวหรือได้คิวแล้ว เมื่อไปถึงหน่วยฉีด ไม่ได้รับการฉีด ซึ่งถ้าตั้งครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ สามารถฉีดวัคซีนได้ครับ

นอกจากนั้นแล้ว นพ.อานนท์ เรืองอุตมานันท์ สูตินรีแพทย์ ยังมีคำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่หากติดโควิดจะมีความเสี่ยงต่อทั้งตนเองและลูกในครรภ์ ดังนี้

ถ้าตั้งครรภ์อยู่แล้วติดโควิดขึ้นมาจะเป็นยังไงบ้าง
คำถาม … เรากลัวอะไร
กลัววัคซีนนี้จะไปมีผลต่อทารกในครรภ์ …. อันนี้ก็จริงเพราะยังไม่เคยมีการวิจัย เก็บข้อมูลระยะยาวอะไรมาก่อนเลย ฉีดไปแล้วใครจะรับรองว่ามันจะไม่มีปัญหา แล้วถ้าเคราะห์หามยามร้ายเกิดติดโควิดขึ้นมาล่ะ

ก่อนอื่นก็จต้องเข้าใจก่อนนะว่า ทารกในครรภ์ไม่ได้หายใจเอง แต่รกจะทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างกระแสเลือดลูกกับกระแสเลือดแม่ … แปลว่าปอดแม่อันเดียวใช้กันสองคน แล้วตอนท้องเมื่อท้องโตขึ้นเรื่อยๆ มดลูกก็จะเบียดทำให้ปอดเล็กลงเรื่อยๆ ทำอะไรมากมันก็จะเหนื่อยมาก เพราะปอดเหลือปริมาตรนิดเดียว

ทีนี้หากติดเชื้อโควิค มันก็จะทำให้มีปอดอักเสบตามมา ปอดที่เล็กลงอยู่แล้วในคนท้องก็จะยิ่งทำให้มีอาการเหนื่อยจากปอดอักเสบมากกว่าคนปกติ อาจจำเป็นต้องเข้าไอซียู ใช้เครื่องช่วยหายใจเร็วกว่าคนปกติ
แล้วผลกับลูกในครรภ์ล่ะ
จากตอนแรกที่กลัวลูกจะได้ผลจากวัคซีนไปด้วย คราวนี้หากเป็นโควิดแล้ว แม่จะต้องได้รับยาอะไรต่อมิอะไร เยอะแยะมากมาย โดยระหว่างการรักษาโควิดในระยะวิกฤต จะคำนึงถึงการรักษาชีวิตแม่มากกว่าลูก แต่ก็โชคดีที่ยังไม่มีรายงานผลกระทบต่อทารกในครรภ์ชัดเจน

การขาดออกซิเจนจากความเสียหายของปอดของแม่จากโควิด จะทำให้เกิดการขาดออกซิเจนค่อนข้างเฉียบพลัน … แต่ก็โชคดีที่มักไม่มากพอจนทำให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน แล้วการขาดออกซิเจนที่เกืดจากโควิดมักไม่ยาวนานเรื้อรังจนทำให้เกิดภาวะเติบโตช้าในครรภ์ จะอยู่จะรอด ก็ใน7-14วันนี้แหละ การที่แม่ติดโควิดจะมีผลชัดเจนก็ตอนคลอดนี้แหละ ระหว่างการคลอดมดลูกมีการบีบตัว ระหว่างการบีบตัวเลือดจะไปเลี้ยงทารกในครรภ์น้อยลง ทำให้เกิดการขาดออกซิเจนได้ง่าย ยิ่งปอดแม่ไม่ดี ออกซิเจนในกระแสเลือดยิ่งน้อย ก็จะยิ่งทำให้เกิดภาวะการขาดออกซิเจนในระหว่างการคลอดได้ง่ายที่สุด
ดูแล้ว หากตั้งครรภ์แล้วติดโควิด ชีวิตเปลี่ยนเลยนะครับ หากมีโอกาสเลือกได้ .. แนะนำให้ฉีดวัคซีนเลยนะครับ

วัคซีนถึงแม้ว่าป้องกันการติดโรคได้ไม่ร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็ป้องกันอาการรุนแรง ป้องกันการเสียชีวิตได้เกือบร้อยเปอร์เซนต์
เนื่องจากวัคซีนโควิดเป็นวัคซีนตัวใหม่ ยังไม่มีข้อมูล ยังไม่มีรายงาน แต่ในแง่ของกระบวนการผลิตเทียบเคียงกับวัคซีนเก่าๆแล้ว ก็ไม่น่าจะมีอันตรายอะไร ดังนั้นในอังกฤษจึงประกาศให้สามารถฉีดวัคซีนได้ในสตรีตั้งครรภ์ และให้นมบุตร

สำหรับในประเทศไทย กรมอนามัย และ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยก็เห็นควรให้ฉีดวัคซีนได้ในสตรีตั้งครรภ์ อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์เป็นต้นไป และคุณแม่ที่ให้นมบุตร

ด้านคำแนะนำจาก นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ได้แนะนำในส่วนของข้อมูลการใช้วัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ยังมีไม่มาก แต่หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด19 มีความเสี่ยงที่โรคจะรุนแรงกว่าคนทั่วไป ดังนั้น การนัดหมายตรวจครรภ์ กรณีตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่2 โดยไม่มีนัดตรวจพิเศษอื่นๆ สามารถเลื่อนการนัดตรวจครรภ์ออกไปก่อนได้ตามความเหมาะสม

ส่วนในรายที่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์เป็นต้นไป และในรายที่เป็นกลุ่มครรภ์เสี่ยงสูงหรือมีโรคร่วม เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไทรอยด์ หัวใจ หอบหืด ปอดเรื้อรัง ไต และภูมิต้านทานผิดปกติ ควรไปฝากครรภ์ตามนัดหมายทุกครั้ง และควรนัดหมายล่วงหน้าเพื่อลดระยะเวลาในการอยู่ในโรงพยาบาลให้สั้นที่สุด หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยรถสาธารณะ และสวมหน้ากากตลอดเวลาที่ออกนอกบ้าน พกเจลแอลกอฮอล์ติดตัวเพื่อล้างมือให้สะอาดเมื่อจำเป็น ระหว่างนั่งรอตรวจควรนั่งห่างคนอื่นอย่างน้อย2เมตร เมื่อกลับถึงงบ้านให้ถอดหน้ากากทิ้งอย่างถูกวิธี ล้างมือและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที รวมถึงหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของการตั้งครรภ์ เช่น บวม ลูกดิ้นน้อยลง มีเลือดออกทางช่องคลอด เจ็บครรภ์ น้ำเดิน หากมีอาการให้รีบประสานกับโรงพยาบาลที่ฝากครรภ์โดยทันที

และนอกจากนั้นยังมีคำแนะนำ ให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฉีดวัคซีนได้คือ ช่วงหลังอายุครรภ์12สัปดาห์เป็นต้นไป และนำนำให้ฉีดวัคซีน Sinovac ก่อน เนื่องจากผลิตจากเชื้อที่ตายแล้ว ในขณะที่ Astrazeneca เป็น viral vector vaccine มีโอกาสเกิดอาการไข้หลังฉีดได้มากและมีรายงานการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหญิงที่อายุน้อยกว่า 30ปี แต่พบน้อยมาก และสำหรับหญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร สามารถรับการฉีดวัคซีนได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

อ้างอิงข้อมูลจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
นพ.อานนท์ เรืองอุตมานันท์ สูตินรีแพทย์
หมอแล็บแพนด้า