กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม น้ำท่วมเชียงใหม่ บูรณะฟื้นฟู เวียงกุมกาม โบราณสถาน

“รมว.สุดาวรรณ” เร่งบูรณะฟื้นฟูแหล่งโบราณคดีเวียงกุมกาม – อาสนวิหารพระหฤทัย หลังเหตุการณ์น้ำท่วมเชียงใหม่ โดยเฉพาะเวียงกุมกามพบมีโบราณสถานและแหล่งเรียนรู้ 18 แห่ง ได้รับผลกระทบ

มอบกรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ จัดทำแผนบูรณะและแผนการฟื้นฟู รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาพื้นที่ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานและประชานในพื้นที่ วันที่ 30 พศจิกายน 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.)…

Home / PR NEWS / “รมว.สุดาวรรณ” เร่งบูรณะฟื้นฟูแหล่งโบราณคดีเวียงกุมกาม – อาสนวิหารพระหฤทัย หลังเหตุการณ์น้ำท่วมเชียงใหม่ โดยเฉพาะเวียงกุมกามพบมีโบราณสถานและแหล่งเรียนรู้ 18 แห่ง ได้รับผลกระทบ

มอบกรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ จัดทำแผนบูรณะและแผนการฟื้นฟู รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาพื้นที่ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานและประชานในพื้นที่

วันที่ 30 พศจิกายน 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) ลงพื้นที่ วิทยาลัยนาฏศิลปะเชียงใหม่ อาสนวิหารพระหฤทัย เชียงใหม่ และแหล่งโบราณสถานเวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ ในโอกาสที่คณะรัฐมนตรีกำหนดจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2567 ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ เป็นสถานศึกษาในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม โดยมีการเปิดการเรียนการสอนด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ มุ่งเน้นพัฒนาให้ผู้เรียนได้ศึกษารากเหง้าของความเป็นไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นผู้นำทางด้านศิลปวัฒนธรรม การวิจัยและการสร้างสรรค์ ทำให้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ซึ่งการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเพื่อติดตามความคืบหน้าการปรับปรุงสภาพสภาพแวดล้อม การซ่อมแซมวัสดุและครุภัณฑ์ทางการศึกษาของวิทยาลัยนาฏศิลปะเชียงใหม่ หลังจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อเดือนกันยายน 2567 ที่ผ่านมา

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า ส่วนอาสนวิหารพระหฤทัย เชียงใหม่ สร้างเมื่อปี 2474 เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของสัตบุรุษในเขตการดูแลของวัดและสัตบุรุษภายนอกที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่ รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ความเชื่อ คำสอน วัฒนธรรมประเพณีของศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก และพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้แก่คนในสังคม รวมทั้งอนุญาตให้คนในชุมชนและหน่วยงานใช้สถานที่เพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมา วธ. โดยกรมการศาสนา ได้ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ องค์การทางศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรมศาสนสัมพันธ์และร่วมกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น การประชุมศาสนสัมพันธ์ 5 ศาสนา กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นต้น รวมทั้งเชิญชวนศาสนิกชนต่างศาสนาที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่ตั้งวัดเข้าร่วมกิจกรรมและงานประจำปีของวัดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและสำรวจความเสียหายของศาสนสถานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย เมื่อเดือนกันยายน 2567 ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาช่วยเหลือเยียวยาตามความเหมาะสม ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา พิจารณาสนับสนุนงบประมาณในการบูรณะซ่อมแซมศาสนสถานงบประมาณ โครงการเงินอุดหนุนบูรณะศาสนสถาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า ที่สำคัญได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามความคืบหน้าตามแผนการบูรณะโบราณสถานเวียงกุมกาม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเวียงกุมกามได้รับการขนานนามว่านครโบราณใต้พิภพ โดยเป็นในโบราณสถานสำคัญของประเทศไทย และเป็นชุมชนโบราณ ซึ่งพญามังรายกษัตริย์แห่งโยนกนครได้สถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของอาณาจักรล้านนา แต่เนื่องจากเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ทำให้เวียงกุมกามจมอยู่ใต้พิภพ เวียงกุมกามจึงล่มสลายและกลายเป็นเมืองร้าง ซึ่งกรมศิลปากร ได้บูรณะและฟื้นฟูรวมทั้งมีการประกาศให้เวียงกุมกามเป็นโบราณสถานตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ส่งผลให้เวียงกุมกามกลับมามีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอีกครั้ง อย่างไรก็ตามในปี 2559-2561 กรมศิลปากรได้ทำการปรับปรุงศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวเพื่อให้ระบบการให้บริการข้อมูลมีความทันสมัยมากขึ้น โดยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบมัลติมีเดีย สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนเป็นอย่างมาก ประกอบกับเมื่อพิจารณาศักยภาพของแหล่งโบราณสถานโบราณคดีทั้งหมดกับองค์ประกอบด้านการให้บริการการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ และในปี 2562 ได้ทำการศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการยกระดับเวียงกุมกามเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการและการส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยว

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า ต่อมาในปี 2563 ประเทศไทยประสบผลกระทบจากภาวการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิท 19 ทำให้การท่องเที่ยวและศึกษาความรู้จากแหล่งโบราณสถานโบราณคดีได้รับผลกระทบโดยทั่ว และกระทบต่อเศรษฐกิจรายได้ชุมชนที่มีฐานจากการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จวบจนเข้าสู่ภาวะปกติ จากนั้นในปี 2565 เวียงกุมกามได้ฟื้นตัวมาเป็นลำดับและกลับมามีนักท่องเที่ยวและผู้เข้าชมเช่นในอดีต โดยจากสถิติผู้เข้าชมศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวเวียงกุมกามพบว่าในเดือนมกราคม ปี 2566 มียอดนักท่องเที่ยวกว่า 2 พันคน ทั้งนี้ ปัจจุบันกรมศิลปากร ยังคงดำเนินงานบริหารจัดการแหล่งโบราณสถาน โบราณคดีเวียงกุมกามอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง เพื่อให้ทุนทางวัฒนธรรม และเป็นทั้งทุนทางความรู้และทุนทางเศรษฐกิจที่ทรงคุณค่าของเมือง

“โบราณสถานภายในเวียงกุมกามได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย เมื่อช่วงระหว่างเดือนกันยายน – ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีโบราณสถานหลายแห่งถูกน้ำท่วมโบราณสถานจมอยู่ใต้น้ำเป็นเวลานานทำให้โบราณสถานได้รับความเสียหาย ซึ่งมีโบราณสถานและแหล่งเรียนรู้ได้รับความเสียหาย 18 แห่ง หลังจากนั้น กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เร่งจัดทำแผนการบูรณะและแผนการฟื้นฟู รวมถึงมีแนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาพื้นที่ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานและประชานในพื้นที่อีกด้วย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าว

ทั้งนี้ โบราณสถาน โบราณวัตถุที่โดดเด่นของเวียงกุมกาม อาทิ ปูนปั้นราวบันไดรูปมกรคายมังกร เครื่องถ้วยจากวัดหนานช้างและชั้นทับถมทางโบราณคดี เจดีย์วัดปู่เปี้ย เจดีย์ทรงปราสาทที่มีสวยและสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่งของล้านนา ช้างคู้เข่าแห่งวัดหัวหนอง เจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ร่องรอยแห่งศิลปกรรมหริภุญชัย และเมืองคร่อมแม่น้ำ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) วัดกู่ป้าด้อม วัดปู่เปี้ย และวัดหนานช้าง เป็นต้น