ตกรรมได้อย่างทั่วถึง และเท่าเทียม นำไปสู่การมีสุขภาพช่องปากที่ดีส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี การประชุมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้านสุขภาพช่องปากภายในปี 2573 และเกิด Roadmap ของแต่ละประเทศ นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
3 ด้าน ดังนี้ 1) ร้อยละ 80 ของประชากรโลก มีสิทธิในการรับบริการด้านสุขภาพช่องปากที่จำเป็น
2) อุบัติการณ์ของโรคและสภาวะในช่องปากที่สำคัญทั่วโลกรวมกันตลอดช่วงชีวิต มีแนวโน้มลดลง ร้อยละ 10
3) ร้อยละ 50 ของประเทศสมาชิกมีมาตรการที่มุ่งลดการบริโภคน้ำตาล
“ทั้งนี้ หลังจากการประชุมสุขภาพช่องปากโลกครั้งนี้ ประเทศไทยจะนำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพช่องปากโลก พ.ศ. 2566 –2573 (ปี 2023-2030) มาขับเคลื่อนอย่างจริงจัง
โดยประการแรกที่จะดำเนินการคือ จัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาติซึ่งประกอบด้วยภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งด้านสาธารณสุข นอกภาคสาธารณสุข โดยเฉพาะภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการร่วมกันจัดการปัจจัยกำหนดสุขภาพเชิงพาณิชย์ เช่น น้ำตาล บุหรี่ ซึ่งส่งผลคุกคามต่อสุขภาพช่องปากและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เร่งสร้างให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันตนเองจากการเกิดโรคในช่องปาก และสามารถจัดการปัญหาสุขภาพช่องปากได้ รวมทั้ง การจัดระบบบริการสุขภาพช่องปากให้เอื้อต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ ชุมชนแออัดในพื้นที่เขตเมือง ผู้ด้อยโอกาสในสังคม ให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ” อธิบดีกรมอนามัยกล่าว