กระทรวงวัฒนธรรม ท่ามะโอ รมว.ปุ๋ง วัดพระธาตุ เที่ยวชุมชน เที่ยวลำปาง

“รมว.ปุ๋ง” ขึ้นเหนือชวนนักท่องเที่ยวแอ่วลำปาง – ลำพูน ยกย่องชุมชนคุณธรรมฯ ท่ามะโอ – วัดพระธาตุลำปางหลวง ต้นแบบท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเมืองรถม้า

สร้างรายได้แก่ชุมชน ส่วนที่ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย” เร่งปรับภูมิทัศน์สร้างภาพลักษณ์ – อัตลักษณ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์โบราณคดีเทียบเท่าสากล วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม…

Home / PR NEWS / “รมว.ปุ๋ง” ขึ้นเหนือชวนนักท่องเที่ยวแอ่วลำปาง – ลำพูน ยกย่องชุมชนคุณธรรมฯ ท่ามะโอ – วัดพระธาตุลำปางหลวง ต้นแบบท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเมืองรถม้า

สร้างรายได้แก่ชุมชน ส่วนที่ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย” เร่งปรับภูมิทัศน์สร้างภาพลักษณ์ – อัตลักษณ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์โบราณคดีเทียบเท่าสากล

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) ลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน และจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 28 – 30 พฤศจิกายน 2567 ในโอกาสการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2567 ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับอุทกภัย โดยมุ่งเน้นการซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และฟื้นฟูการท่องเที่ยว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมสถานที่ของหน่วยงานในสังกัดและของเครือข่ายด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเพื่อรับฟังข้อเสนอในการเยียวยาและฟื้นฟู รวมถึงตรวจเยี่ยมแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเพื่อกำหนดแนวนโยบายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในพื้นที่ดังกล่าว โดยมี ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า โดยในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ได้ลงพื้นที่ชุมชนคุณธรรมฯ ท่ามะโอ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งอยู่เขตเมืองเก่า ถือเป็นตัวอย่างของการพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมหลากหลายสมบูรณ์ด้วยศิลปวัฒนธรรม โบราณสถาน สถาปัตยกรรมและชุมชนที่ที่โดดเด่น อาทิ มีตลาดถนนสายวัฒนธรรมเปิดทุกวันศุกร์ มีร้านค้ากว่า 300 ร้านค้า การแสดงศิลปวัฒนธรรมที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้คนลำปาง มีบริการเส้นทางการท่องเที่ยวด้วยรถราง “ชมมรดกทางวัฒนธรรมประตูเมืองสู่ลำปาง” รวมถึงมีแหล่งท่องเที่ยวชุมชนวันเสาร์ – วันอาทิตย์ ประกอบด้วย วัดประตูป่อง โบราณสถานสำคัญและบ้านหลุยส์ นอกจากนี้ มีความโดดเด่นด้านผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม อาทิ ผงฮังเลและเมนูแกงฮังเลได้รับคัดเลือก ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น จังหวัดลำปาง เป็นต้น ได้รับการประกาศเป็นหนึ่งใน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปี 2564 อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง และชุมชนคุณธรรม ชุมชนท่ามะโอ ได้เสนอการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในการจัดโครงการส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชนยลวิถี ชุมชนคุณธรรม ชุมชน ท่ามะโอ “มหกรรมอาหาร 1 เมนูเชิดชูอาหารถิ่นอีกด้วย ซึ่งทาง วธ.จะมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาและส่งเสริมต่อไป

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากนั้นได้ตรวจราชการที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางและเป็นวัดไม้ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทยความงดงามประทับใจนักท่องเที่ยว โดยติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ในประเด็นการส่งเสริมการท่องเที่ยววัดพระธาตุลำปางหลวงและการดำเนินการของ วธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดพระธาตุลำปางหลวงให้มีความเชื่อมโยงกับเส้นทางการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ กระจายรายได้และสร้างอาชีพที่เกี่ยวเนื่องให้เพิ่มมากขี้น โดย วธ. จะส่งเสริมให้วัดพระธาตุลำปางหลวง และเครือข่ายชุมชนคุณธรรมโดยรอบวัดให้เป็นสุดยอดเที่ยวชุมชน ยลวิถี ระดับประเทศ กิจกรรม 1 อำเภอ 1 ลานสร้างสรรค์ นำทุนทางวัฒนธรรมส่งเสริมการสร้างรายได้ให้ประชาชน และสามารถนำมาเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว อาทิ งานสืบสานตำนานพ่อเจ้าทิพย์ช้าง วีรบุรุษแห่งเขลางค์นคร งานประเพณีแห่ครัวตาน เป็นต้น อย่างไรก็ดีในปี 2568 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปางและเครือข่าย ได้เสนอโครงการตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธาและโครงการครอบครัวหิ้วตะกร้าศรัทธาอิ่มบุญด้วย

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการที่วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหารและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน โดยให้พัฒนาปรับปรุงทางเข้าและภูมิทัศน์ภายใน ซึ่งคณะที่ปรึกษาฯ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ พิพิธภัณฑสถานแห่งหริภุญไชย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ออกแบบปรับปรุงทางเข้าและภูมิทัศน์โดยรอบ เพื่อดำเนินงานตามนโยบายในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เพื่อฟื้นฟู การท่องเที่ยว “หอศิลป์อินสนธิ์ วงค์สาม” โดยได้หารือและตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการ “ สืบศิลป์…….สู่ศิลป์” และพิธีไหว้ครูประจำปี 2567 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และได้ตรวจเยี่ยมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม “ศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์การทอผ้าไหมลำพูน” ซึ่งได้ตรวจเยี่ยมการพัฒนาออกแบบและการผลิตผ้าไหมยกดอกลำพูน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมคุณภาพสูง รวมถึงหารือแนวทาง การสนับสนุนของ วธ. ในการส่งเสริมเครื่องแต่งกายที่ออกแบบและผลิตจากผ้าไหมยกดอกลำพูน นอกจากนี้ ได้มีโอกาสพบปะหารือกับกลุ่มนักคิด นักสร้างสรรค์ และสถาปนิกของจังหวัดลำพูน เพื่อหารือถึงแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของจังหวัดลำพูนอีกด้วย