Muketing การตลาดสายมู สายมู

การตลาดสายมู (Muketing) คืออะไร ทำไมถึงมาแรงในยุคนี้

แม้การตลาดสายมูจะเป็นกระแสที่มาแรงมากแต่ธุรกิจก็ต้องมีความระมัดระวังเพราะอย่างที่บอกว่านี่คือ Emotional Marketing เป็นการตลาดที่เน้นด้านความรู้สึก

Home / PR NEWS / การตลาดสายมู (Muketing) คืออะไร ทำไมถึงมาแรงในยุคนี้
การตลาดสายมู

ที่จริงแล้วเรื่องความเชื่อกับคนไทยเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาอย่างยาวนาน ยิ่งบวกกับกระแสของคนยุคใหม่ที่มักกราบไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงการเลือกใช้สิ่งของนำโชคซึ่งมีศัพท์ที่เรียกกันติดปากว่า “มู” จึงไม่แปลกหากธุรกิจจำนวนมากจะนำเอากระแสพฤติกรรมผู้บริโภคเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางการตลาดจนเกิดเป็น “การตลาดสายมู” หรือ Muketing ซึ่งใครที่ยังมีข้อสงสัยว่า มูเก็ตติ้ง คืออะไร ลองมาหาข้อมูลกันเลย

การตลาดสายมู หรือ Muketing คืออะไร

การตลาดสายมู (Muketing) หรือ มูเก็ตติ้ง คือ หนึ่งในรูปแบบการทำการตลาดที่นำเอาเรื่องความเชื่อ ความศรัทธาของผู้คนเข้ามาผสานเอาไว้ เป็นการรวมกันระหว่างคำว่า Marketing + Mutelu จุดประสงค์สำคัญเพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่เชื่อถือในศาสตร์การมูเตลูสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น และยังช่วยปรับภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดูน่าเชื่อถือกว่าเดิม

หากมองอีกมุมหนึ่งการที่ธุรกิจเลือกกลยุทธ์ดังกล่าวเปรียบได้กับการใช้หลักจิตวิทยาประเภท Emotional Marketing เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะศาสตร์ของการมูเตลูเป็นความเชื่อส่วนบุคคล หากทำตามแล้วออกมาดีกระแสย่อมเพิ่มขึ้น ซึ่งคนจำนวนมากที่กำลังเจอปัญหารอบตัวหรืออยากได้สิ่งที่ตนเองคาดหวังอย่างน้อยการได้รับความสบายใจจากสิ่งของที่ตนเองซื้อหรือใช้บริการก็เป็นส่วนหนึ่งที่คนยุคใหม่นิยมทำกันนั่นเอง

เหตุผลที่ธุรกิจจำนวนมากหันมาใช้การตลาดสายมู

1.เป็นกระแสที่มาแรงอย่างต่อเนื่อง

อาจด้วยเรื่องของการแพร่ระบาดของโควิด-19 บวกกับปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น ฝุ่น PM 2.5 ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากมองว่าชีวิตของเขาควรได้รับสิ่งตอบแทนที่ดีกว่านี้ การพึ่งพาโชคลาภจากศาสตร์ที่มองไม่เห็นจึงเข้ามามีส่วนต่อการใช้ชีวิตมากขึ้น เรื่องของกระแสการมูมีผลสำรวจจากสวนดุสิตโพลระบุไว้ว่า เกิน 70% ของคนไทยมีความเชื่อเรื่องโชคลาง และยังมีแนวโน้มจะเลือกใช้สินค้า / บริการที่มีส่วนช่วยเสริมดวงชะตามากกว่าสินค้า / บริการทั่วไป อีกทั้งหลายคนมองว่าการมีติดตัวไว้ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย จึงยินดีที่จะซื้อ

2.ขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น

ปกติสินค้า / บริการของธุรกิจอาจเจาะจงไปยังกลุ่มเป้าหมายเดียว แต่เมื่อนำเอาเทคนิคมูเก็ตติ้งเข้ามาก็เป็นวิธีขยายฐานลูกค้ากลุ่มที่มีความเชื่อเรื่องโชคลางให้รู้สึกสนใจแบรนด์ของคุณมากขึ้น เพิ่มโอกาสที่คนเหล่านี้จะลองซื้อไว้ใช้งานและถ้าหากพึงพอใจก็สามารถเปลี่ยนเป็นลูกค้าประจำได้ไม่ยากเลย

3.เสริมภาพลักษณ์และสร้างโอกาสทางธุรกิจ

โดยพื้นฐานของสายมูพวกเขาจะรู้สึกดีต่อสิ่งที่ทำให้ตนเองสบายใจ เมื่อธุรกิจเลือกใช้การตลาดสายมูเข้ามาแล้วทำให้ผู้บริโภครู้สึกแบบนั้นได้ย่อมช่วยเสริมภาพลักษณ์เชิงบวก และยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจในการบอกต่อ หรือเกิดกระแสจนผู้คนแห่นเข้ามาซื้อ หรืออยากทำความรู้จักมากขึ้น

ตัวอย่างกลยุทธ์การทำมูเก็ตติ้ง (Muketing)

  • การใช้ศาสตร์ความเชื่อเข้ามาประยุกต์กับสินค้า / บริการ ออกเป็นคอลเลคชันใหม่เพื่อกระตุ้นยอดขายและสร้างการรับรู้ให้แบรนด์ เช่น การใช้สี การนำภาพหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับองค์เทพเข้ามาอยู่ในผลิตภัณฑ์ รวมถึงการปลุกเสก การผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ
  • การจ้าง Influencer ที่มีชื่อเสียงด้านสายมู หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่คนมองว่าภาพลักษณ์ดูน่าเชื่อถือเข้ามาช่วยประชาสัมพันธ์
  • การทำคอนเทนต์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคลิปวิดีโอ ภาพนิ่ง บทความโดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสายมู ซึ่งธุรกิจไหนที่สนใจทำคอนเทนต์กลุ่มบทความและอยากได้ความคุ้มค่า 2 ต่อด้วยการกระตุ้น SEO ไปในตัวก็ต้องเลือกบริษัทรับทำ SEO เข้ามาช่วย
  • การจัดอีเว้นท์ การร่วมงานกิจกรรมต่าง ๆ แล้วมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ภายใต้ธีมที่เกี่ยวข้องกับการมูเตลู
  • การทำ CSR หรือเป็นผู้สนับสนุนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการมู เช่น การทำกิจกรรมทางศาสนา

สิ่งที่ต้องระวังเมื่อทำการตลาดสายมู

แม้การตลาดสายมูจะเป็นกระแสที่มาแรงมากแต่ธุรกิจก็ต้องมีความระมัดระวังเพราะอย่างที่บอกว่านี่คือ Emotional Marketing เป็นการตลาดที่เน้นด้านความรู้สึก หากมีกลุ่มคนที่รู้สึกติดลบกับแบรนด์จากกลยุทธ์นี้คงไม่ใช่เรื่องดีแน่ สิ่งที่ต้องระวังมากสุดคือ อย่าโฆษณาเกินจริง หรือบอกผลลัพธ์แบบโอเวอร์ (ยุคนี้คนดูออก) อย่าด้อยค่าหรือลบหลู่ความเชื่อของคนอื่น และต้องพยายามแสดงศักยภาพของผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคเปิดใจยอมรับด้วย

การตลาดสายมู (Muketing) หรือมูเก็ตติ้ง เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจของธุรกิจยุคใหม่ แต่ทั้งนี้อย่าลืมศึกษาข้อมูลแบบรอบด้าน วางแผนอย่างละเอียดที่สุด และเข้าใจพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายของตนเองว่าชอบแบบไหน ควรหลีกเลี่ยงวิธีใด เพื่อให้เกิดผลลัพธ์น่าพึงพอใจสูงสุดในทุกด้านแบบครอบคลุม