Soft Power สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ หนังสือภาพสำหรับเด็ก ไต้หวัน-ไทย

โครงการแลกเปลี่ยนหนังสือภาพสำหรับเด็ก ไต้หวัน-ไทย ประจำปี 2567 ผลักดัน soft power สู่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

โครงการแลกเปลี่ยนหนังสือภาพสำหรับเด็ก ไต้หวัน-ไทย (Taiwan-Thailand Picture Book Exchange 2024: ttpicbook) ได้จัดขึ้นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่…

Home / PR NEWS / โครงการแลกเปลี่ยนหนังสือภาพสำหรับเด็ก ไต้หวัน-ไทย ประจำปี 2567 ผลักดัน soft power สู่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

โครงการแลกเปลี่ยนหนังสือภาพสำหรับเด็ก ไต้หวัน-ไทย (Taiwan-Thailand Picture Book Exchange 2024: ttpicbook) ได้จัดขึ้นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม – 8 เมษายน 2567  โดยในปีนี้ ฝ่ายวัฒนธรรม สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ยังคงสานต่อโครงการโดยการเชิญนักเขียนหนังสือภาพชาวไทยอย่าง ชีวัน วิสาสะ และ ปรีดา ปัญญาจันทร์ มาร่วมงานกับนักเขียนหนังสือภาพชาวไต้หวันอย่าง หลี่หรูชิง (Lee, Ru-Qing), เหยียนข่ายซิ่น (Yen, Kai-Hsin) และ ชุ่ยลี่จุน (Tsui, Li-Chun) ผู้ชนะรางวัล Golden Comic Awards พร้อมทั้งจัดกิจกรรม         “เสวนาแลกเปลี่ยนหนังสือภาพสำหรับเด็ก ไต้หวัน-ไทย และกิจกรรม “เวิร์กชอปอ่านหนังสือภาพไต้หวัน” เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีผู้เข้าร่วมงานอย่างล้นหลาม อาทิ สำนักพิมพ์ นักเขียน ผู้ปกครองและเด็ก รวมถึงนักเรียนจากมูลนิธิสิกขาเอเชีย และโรงเรียนเมืองพัทยา 3 เป็นต้น 

เซียซิ่วเม่ย (Hsueh Hsiu-Mei) รองผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “หนังสือภาพ คือ หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวผ่านภาพวาด โดยไม่จำกัดอายุและความแตกต่างทางภาษา และถือเป็น ‘หนังสือที่เป็นมิตรที่สุด’ หวังว่าผู้อ่านชาวไทยจะได้พบกับหนังสือภาพสำหรับเด็กจากไต้หวันที่เป็นเล่มโปรดของตนเอง” ดวงพร สุทธิสมบูรณ์ อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “หวังว่ากิจกรรมแลกเปลี่ยนหนังสือภาพในครั้งนี้ จะทำให้ประเทศไทยและไต้หวันสามารถแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และมีโอกาสร่วมมือกันในอนาคตมากยิ่งขึ้น”

โครงการแลกเปลี่ยนหนังสือภาพสำหรับเด็ก ไต้หวัน-ไทยในปีนี้ ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรม “เสวนาแลกเปลี่ยนหนังสือภาพสำหรับเด็ก ไต้หวัน-ไทย”, กิจกรรม “เวิร์กชอปอ่านหนังสือภาพไต้หวัน” และ “บูธจัดแสดงหนังสือภาพจากไต้หวัน” โดยได้เชิญนักเขียนหนังสือภาพชาวไต้หวันและชาวไทยมาร่วมกันเสวนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับผลงานที่เคยได้ร่วมกันสร้างสรรค์ในปี 2565 โดยนักเขียนชาวไต้หวันได้บินตรงมาเพื่อแนะนำหนังสือภาพให้แก่ผู้อ่านชาวไทยโดยเฉพาะ และยังได้เปิดบูธภายในงานหนังสือ ฯ สำหรับจัดแสดงหนังสือภาพของ หลี่หรูชิง, เหยียนข่ายซิ่น และ ชุ่ยลี่จุน รวมถึงหนังสือภาพสำหรับเด็กจากไต้หวันที่ได้รับรางวัลมากมาย เพื่อเป็นการแนะนำให้แก่สำนักพิมพ์และผู้อ่านชาวไทย นอกจากนี้ ภายในบูธยังมีการจัดเตรียม ‘กระดาษระบายสี’ สุดพิเศษ ซึ่งเป็นผลงานความร่วมมือระหว่างนักเขียนหนังสือภาพชื่อดังจากไต้หวันและไทย ให้เพื่อนๆ น้องๆ ทุกคนได้มาร่วมระบายสี และสัมผัสถึงเสน่ห์หนังสือภาพของไต้หวันด้วยตัวเอง

ในปี 2565 เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ทำให้นักเขียนหนังสือภาพชาวไต้หวันและไทยทั้ง 4 ท่านอย่าง หลี่หรูชิง, เหยียนข่ายซิ่น, ชีวัน วิสาสะ และ ปรีดา ปัญญาจันทร์ ต้องร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานผ่านทางออนไลน์ โดยร่วมกันเขียนเรื่อง “การเดินทางของพลทหารหลินวั่ง / วันสนุก” และ “ฉันออกไปข้างนอกหน่อยนะ / ออกเดินทางไปหาเพื่อน” เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของตัวละครผู้เป็นตัวแทนของไต้หวันและไทยที่ได้เดินทางมาพบกันในหนังสือภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ข้ามวัฒนธรรม และเพื่อเป็นการสานต่อโครงการแลกเปลี่ยนหนังสือภาพสำหรับเด็กก่อนหน้านี้ ฝ่ายวัฒนธรรม สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ อีกครั้งในปีนี้ โดยมี Vision Thai เป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรม พร้อมมุ่งหวังที่จะถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม รวมถึงกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันและประเทศไทยผ่านโครงการในครั้งนี้