ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ผู้หญิงข้ามเพศ วาสลีน สุขภาพผิว

วาสลีนเผยผลวิจัยล่าสุด ความท้าทายด้านสุขภาพผิวที่ผู้หญิงข้ามเพศชาวไทยต้องเผชิญ

จากผลวิจัยล่าสุดพบว่า ผู้หญิงข้ามเพศชาวไทย 98% ต้องการผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ตอบโจทย์ความต้องการของพวกเธอในช่วงการเปลี่ยนแปลง 3 ใน 4 ของผู้หญิงข้ามเพศในประเทศไทย ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของผิวและความรู้สึกไม่สบายผิวระดับปานกลางถึงรุนแรง ในช่วงกระบวนการเปลี่ยนแปลง วาสลีน ประเทศไทย แนะนำครั้งแรก! วาสลีน โปร…

Home / PR NEWS / วาสลีนเผยผลวิจัยล่าสุด ความท้าทายด้านสุขภาพผิวที่ผู้หญิงข้ามเพศชาวไทยต้องเผชิญ

จากผลวิจัยล่าสุดพบว่า ผู้หญิงข้ามเพศชาวไทย 98% ต้องการผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ตอบโจทย์ความต้องการของพวกเธอในช่วงการเปลี่ยนแปลง 3 ใน 4 ของผู้หญิงข้ามเพศในประเทศไทย ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของผิวและความรู้สึกไม่สบายผิวระดับปานกลางถึงรุนแรง ในช่วงกระบวนการเปลี่ยนแปลง วาสลีน ประเทศไทย แนะนำครั้งแรก! วาสลีน โปร เดอร์มา ทรานซิชั่น บอดี้ โลชั่น นวัตกรรมที่พัฒนาร่วมกับ ผู้หญิงข้ามเพศ เพื่อผู้หญิงข้ามเพศ ผ่านการทดสอบทางคลินิก

15 กุมภาพันธ์ 2567 วาสลีน เชื่อว่าผิวที่สวยงาม คือ ผิวสุขภาพดี สำหรับผู้หญิงข้ามเพศที่กำลังอยู่ในช่วงกระบวนเปลี่ยนผ่านสู่การข้ามเพศ ความสวยงามมีบทบาทสำคัญในเส้นทางของพวกเธอ จากผลวิจัยล่าสุด โดย วาสลีน ผู้หญิงข้ามเพศมากกว่า 9 ใน 10 คน เชื่อว่าการมีผิวพรรณที่น่าพึงพอใจส่งผลต่อความรู้สึกเป็นผู้หญิงและความมั่นใจในตัวเองของพวกเธอเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ผู้หญิงข้ามเพศชาวไทย 98% ยังต้องการผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ตอบโจทย์ความต้องการของพวกเธอในช่วงการเปลี่ยนแปลง ในฐานะแบรนด์ที่ยืนหยัดเพื่อสุขภาพผิวที่ดีสำหรับทุกคน วาสลีนมุ่งมั่นที่จะดูแลผิวของทุกคน เพราะผิวของทุกคนสำคัญ (No skin ever goes unseen) ด้วยความมุ่งมั่นดังกล่าวนี้ วาสลีน ประเทศไทย ได้เปิดตัวนวัตกรรมล่าสุด วาสลีน โปร เดอร์มา ทรานซิชั่น บอดี้ โลชั่น (Vaseline Pro Derma Transition Body Lotion) ที่ผ่านการทดสอบทางคลินิก และพัฒนาร่วมกับผู้หญิงข้ามเพศ เพื่อผู้หญิงข้ามเพศ เป็นครั้งแรก วาสลีน โปร เดอร์มา ทรานซิชั่น บอดี้ โลชั่น  เริ่มวางจำหน่ายเฉพาะที่ร้าน วัตสันทั่วประเทศไทยและช่องทางออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้เป็นต้นไป

3 ใน 4 ของผู้หญิงข้ามเพศในประเทศไทยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังและความรู้สึกไม่สบายผิวระดับปานกลางถึงรุนแรงในช่วงระหว่างและหลังกระบวนการข้ามเพศ วาสลีน พัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นร่วมกับผู้หญิงข้ามเพศ ผ่านการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในประเทศไทย เพื่อจัดการกับปัญหาผิวที่พบได้บ่อยในช่วงการใช้ฮอร์โมนบำบัด เช่น ผิวไวต่อแสง หมองคล้ำง่าย ผิวระคายเคือง สีผิวไม่สม่ำเสมอ และผิวแพ้ง่าย จากนั้น ผ่านการทดสอบทางคลินิก เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพในการปรับสมดุล เสริมสร้างความแข็งแรง และเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว พร้อมทั้งเผยผิวดูกระจ่างใส และสุขภาพดีขึ้นอย่างเห็น
ได้ชัด

“ที่ยูนิลีเวอร์  เรามุ่งสร้างสังคมที่เปิดรับความแตกต่างหลากหลายและเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น ภายใต้วัฒนธรรมที่ทุกคนสามารถประสบความสำเร็จ  ได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพและเท่าเทียม และความแตกต่างนั้นได้รับการยอมรับและชื่นชม  เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว เราได้ใช้ธุรกิจและศักยภาพของเราเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้เกิดขึ้นภายในองค์กรของเรา รวมไปถึงสังคมโดยรวม” นายเจย์ โก Beauty & Wellbeing Thailand Lead, SEA Head of Customer Strategy & Planning บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด กล่าว

“วาสลีน เรามุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวสำหรับทุกคน ผู้หญิงข้ามเพศมีความต้องการเฉพาะในเรื่องผิวที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง และเรารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้คิดค้นโลชั่นบำรุงผิวที่ตอบสนองความต้องการเหล่านี้ของผู้หญิงข้ามเพศ ช่วยให้ผิวพรรณของพวกเธอแลดูสุขภาพดีและเสริมความมั่นใจในตัวเองยิ่งขึ้น” นางสาวสถิรวรรณ เอี่ยมอ่อง ผู้นำฝ่ายพัฒนาตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายและผิวหน้า บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด

“ผู้หญิงข้ามเพศต้องเผชิญกับความท้าทายหลากหลายด้านในช่วงกระบวนการเปลี่ยนแปลง ผิวพรรณของพวกเธออาจจะแห้งและบอบบางแพ้ง่ายในช่วงเดือนแรกๆ ของการใช้ฮอร์โมนบำบัด อาการเหล่านี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อความมั่นใจในสภาพผิวและความรู้สึกมั่นใจในตัวเอง” นพ. วรพล รัตนเลิศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศัลยแพทย์ตกแต่ง ผ่าตัดแปลงเพศชายเป็นหญิง โรงพยาบาลยันฮี กล่าว

“เรารู้สึกดีใจที่ได้เห็นวาสลีนสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวนี้ขึ้นร่วมกับกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศ เพื่อผู้หญิงข้ามเพศ ปัจจุบัน พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของผู้หญิงข้ามเพศยังมีไม่มากนัก จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ได้เห็นวาสลีนเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงผ่านการเปิดตัวนวัตกรรมใหม่นี้” ซีซ่า ฤทธิวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักสิทธิมนุษยชน ความยั่งยืน และการระดมทรัพยากร สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย กล่าว

ผลิตภัณฑ์ วาสลีน โปร เดอร์มา ทรานซิชั่น บอดี้ โลชั่น เป็นผลิตภัณฑ์ล่าสุดภายใต้กลุ่มโลชั่นเวชสำอาง วาสลีน โปร เดอร์มา ซึ่งคิดค้นขึ้นเพื่อตอบโจทย์ปัญหาผิวเฉพาะด้านที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองของผู้หญิงข้ามเพศในประเทศไทย ตัวผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกสำหรับผิวบอบบางแพ้ง่าย โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีกลูต้า-เซราไมด์ และสารแอคทีฟที่ช่วยให้ผู้หญิงข้ามเพศมีผิวสุขภาพดีในช่วงกระบวนการข้ามเพศและหลังกระบวนการข้ามเพศ

จากผลวิจัยพบว่า 90% ของผู้หญิงข้ามเพศต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้านในช่วงกระบวนการเปลี่ยนแปลง เพื่อรับมือกับหลากหลายความกังวลที่เกิดขึ้น ผู้หญิงข้ามเพศกว่า 78% จึงทุ่มเทกับความพยายามด้านความงามเพื่อแสดงออกถึงความเป็นผู้หญิง และการมีผิวสุขภาพดีนั้นเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญ

อย่างไรก็ดี ผู้หญิงข้ามเพศบางครั้งรู้สึกว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆ ยังไม่ตอบโจทย์กับทุกความต้องการด้านผิวพรรณของพวกเธอนัก ซึ่งข้อมูลเชิงลึกที่วาสลีนได้รับจากการทำวิจัยร่วมกับผู้หญิงข้ามเพศในประเทศไทยนี้เอง ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ วาสลีน ประเทศไทย ร่วมกับ สุธน เพ็ชรสุวรรณ ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณามือรางวัล ในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาออนไลน์เปิดตัวผลิตภัณฑ์ โดยตัวภาพยนตร์นั้นถ่ายทอดมุมมองของผู้หญิงข้ามเพศคนหนึ่งซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในโลกที่ไม่มีอะไรพอดีสำหรับเธอ สะท้อนถึงเส้นทางความท้าทายในแต่ละวันที่ผู้หญิงข้ามเพศต้องเผชิญในช่วงกระบวนการเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ วาสลีนยังได้จับมือกับยูน – ปัณพัท เตชเมธากุล ศิลปินวาดภาพประกอบหญิงข้ามเพศชาวไทย ในการออกแบบขวดผลิตภัณฑ์วาสลีน โปร เดอร์มา ทรานซิชั่น บอดี้ โลชั่น เรารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่คิดค้นขึ้นเพื่อผู้หญิงข้ามเพศโดยเฉพาะ ลวดลายผีเสื้อบนขวดนั้นสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ที่แสดงออกถึงอิสรภาพและการเฉลิมฉลองเธอกล่าว

ที่ผ่านมา วาสลีน เดินหน้ามอบประสบการณ์การดูแลผิวที่เท่าเทียมสำหรับทุกคน ผ่านโครงการต่างๆ อาทิ Vaseline Healing Project ซึ่งเป็นโครงการระดับโลกที่ช่วยให้ชุมชนที่ขาดโอกาสสามารถเข้าถึงการดูแลด้านผิวหนังขั้นพื้นฐานและมอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลผิว รวมถึงในประเทศไทย และวาสลีนยังคงมุ่งมั่นสานต่อพันธกิจในการส่งเสริมให้ผู้คนทั่วโลกมีสุขภาพผิวดีขึ้น

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ วาสลีน โปร เดอร์มา ทรานซิชั่น บอดี้ โลชั่น สามารถเข้าไปที่ facebook.com/VaselineThailand และรับชมภาพยนตร์โฆษณาได้ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ ที่ช่องทางยูทูบ VaselineThailand

เกี่ยวกับวาสลีน ประเทศไทย

กว่า 150 ปี วาสลีน มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อบำรุงผิวของทุกคน ทั้งการดูแลสภาพผิวในทุกวัน และสภาพผิวที่มีปัญหา เพราะวาสลีนเชื่อว่า เมื่อคุณมีผิวสวย สุขภาพดี คุณจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่

นับตั้งแต่ปี 2558 วาสลีนช่วยให้ประชากรเฉลี่ย 1 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปีสามารถเข้าถึงการดูแลด้านผิวหนังขั้นพื้นฐานและมอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลผิว พันธกิจของวาสลีน คือ การช่วยรักษาปัญหาผิวหนังให้กับประชากรจำนวน 3 ล้านคนภายในปี 2573 มีการจัดฝึกอบรมให้กับบุคลากรสุขภาพ ให้การดูแลด้านผิวหนัง รวมทั้งมอบผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์วาสลีนและสิ่งจำเป็นทางการแพทย์ เพื่อรักษาผิวหนังผู้ได้รับผลกระทบจากความยากจนหรือสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วโลก ภายใต้ความร่วมมือกับ Direct Relief องค์กรช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

ในประเทศไทย โครงการสกินส์ ฟอร์ สกิน (Skins for Skin)  เป็นโครงการที่มุ่งสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมให้คนไทยเห็นความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนของการบริจาคผิวหนังในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากบาดแผลไฟไหม้สูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อช่วยเพิ่มและคงปริมาณผิวหนังสำรองในธนาคารผิวหนังของสภากาชาดไทยให้เพียงพอสำหรับนำไปรักษาอาการบาดเจ็บรุนแรงบนผิวหนัง โดยวาสลีนได้รับความร่วมมือจากเกมเมอร์แถวหน้าของไทยที่ต่างรู้กันดีว่า “สกิน” ของคาแรคเตอร์ในเกมเป็นสิ่งมีค่าที่ต้องใช้เวลาและความเพียรพยายามกว่าจะได้มา ทั้งยังเป็นสิ่งที่สะท้อนศักยภาพและสำคัญต่อการแสดงออกถึงตัวตนของผู้เล่นแต่ละคน จึงพร้อมใจกันสละ “สกิน” พิเศษในเกมที่ตนเอง
ชื่นชอบ แทนการกระทำเชิงสัญลักษณ์ในการบริจาคผิวหนัง พร้อมเปิดตัว วาสลีน ปิโตรเลียม เจลลี่ ลิมิเต็ด อิดิชัน ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งนั้นถูกนำไปบริจาคเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อสาธารณประโยชน์ของสภากาชาดไทย

เกี่ยวกับผลวิจัย

ผลวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยวาสลีน ร่วมกับ Edelman Data and Intelligence เพื่อศึกษาประสบการณ์และความต้องการของผิวตลอดช่วงกระบวนการข้ามเพศของผู้หญิงข้ามเพศ การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative) ในรูปแบบออนไลน์นี้ได้ทำการวิเคราะห์คำตอบของผู้หญิงข้ามเพศ จำนวน 80 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-45 ปี ในประเทศไทย โดยทุกคนนั้นได้เริ่มต้นกระบวนการการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศหรือกระบวนการข้ามเพศแล้ว การทำวิจัยเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 9-20 ธันวาคม 2566