สำหรับใครที่กำลังมองหาช่องทางในการลงทุน ‘กองทุนรวมตราสารหนี้‘ คืออีกหนึ่งในตัวเลือกสำคัญที่นักลงทุนมักจะมองหา ในกรณีที่ต้องการกระจายการลงทุนมาที่ความเสี่ยงในระดับกลางๆ เป็นการลงทุนที่มีความยืดหยุ่นในกรณีที่ต้องการนำเอาเงินสดไปใช้ในการปรับพอร์ต แต่นอกเหนือจากคุณสมบัติคร่าวๆ เกี่ยวกับกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ได้เกริ่นไปบ้างแล้ว จะมีเรื่องควรทราบอะไรอีกบ้างเกี่ยวกับกองทุนประเภทนี้ ตามมาหาคำตอบกันต่อได้จากบทความนี้เลย
โอกาสในการขาดทุน
เริ่มต้นกันที่ข้อควรรู้อย่างแรกเกี่ยวกับกองทุนรวมตราสารหนี้คือโอกาสในการขาดทุน หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าถ้าหากเลือกลงทุนกับกองทุนที่มีความเสี่ยงปานกลางแล้วจะมีโอกาสในการขาดทุนบ้างหรือไม่ คำตอบคืออาจจะมีโอกาสที่กองทุนรวมตราสารหนี้จะขาดทุน เนื่องจากอัตราผลตอบแทนของดอกเบี้ยนั้นเป็นแบบคงที่ ยกตัวอย่างเช่นเราเลือกลงทุนกับกองทุนรวมตราสารหนี้แบบที่มีอัตราตอบแทนอยู่ที่ 3% เป็นระยะเวลา 5 ปี แล้วในระหว่างทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดเริ่มสูงขึ้น ดังนั้นก็มีความเป็นไปได้ที่จะสูญเสียโอกาสของกองทุนที่เราลงทุนไป เป็นส่วนต่างที่เกิดขึ้นในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นนั่นเอง
ผลตอบแทนที่ได้รับ
สิ่งควรทราบลำดับถัดมาเกี่ยวกับกองทุนรวมตราสารหนี้นั่นก็คือเรื่องของผลตอบแทน หลายๆ คนก็อาจจะสงสัยว่าผลตอบแทนที่ได้รับจากกองทุนประเภทนี้มาจากไหน คำตอบคือจะรับมาจากดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นในวันที่เลือกซื้อกองทุน ตลอดไปจนถึงกำไรส่วนต่างที่ได้รับจากราคาการซื้อขาย ในกรณีที่ได้สูงกว่าราคาที่ซื้อมา ก็จะนับว่าเป็นผลตอบแทน แต่ทั้งนี้ถ้าขายได้ราคาต่ำกว่าก็จะกลายเป็นขาดทุนแทน จากที่ได้อธิบายไปแล้วในข้อด้านบน
เหมาะสมกับใคร
จาก 2 สิ่งที่ควรทราบโดยคร่าวๆ เกี่ยวกับกองทุนรวมตราสารหนี้นั้น คำถามถัดมาคือแล้วการลงทุนประเภทนี้เหมาะกับใคร แนะนำว่าจะต้องเป็นผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ไม่เยอะมาก อาจจะแลกมาซึ่งผลตอบแทนที่ไม่ได้มากมาย แต่ยังคงเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีความมั่นคง โอกาสขาดทุนอาจจะมีได้บ้างแต่น้อย แนะนำให้กระจายความเสี่ยงและเลือกกองทุนรวมตราสารหนี้นี้ไว้เป็นหนึ่งในการลงทุนก็จะดีกว่า
ปัจจุบันตลาดกองทุนรวมตราสารหนี้นั้นมีหลากหลายแบบให้เลือก ตามแต่ไลฟ์สไตล์และความสามารถในการรับความเสี่ยง หากไม่มั่นใจหรือมีข้อสงสัยแนะนำให้สอบถามจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงินนั้นๆ ที่จำหน่ายกองทุนจะดีที่สุด ตลอดไปจนถึงอย่าลืมทำการบ้านไปล่วงหน้าด้วยก็จะดีมาก เพื่อให้ได้การลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง อยู่ในระดับที่กำลังพอดี สบายกระเป๋า ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป เพื่อให้มีเงินทุนคงเหลือมากพอที่จะกระจายไปทำอย่างอื่นด้วย