ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์และผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก BabyAndMom.co.th พร้อมด้วย รศ.ดร.พิมลศรี มิตรภาพอาทร อาจารย์ประจำหลักสูตรจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เผยแพร่ความรู้และสรุปงานวิจัย เกี่ยวกับ “โพรไบโอติกส์” และ “ภาวะเจริญพันธุ์” ในรายการ Research talk รายการที่สืบค้นงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์ทั้งในและต่างประเทศนำมาแปลเป็นคอนเซ็ปต์สั้นๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เตรียมตั้งครรภ์ได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์ และโภชนาการเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก
โดย Research talk EP.20 นี้ “ครูก้อย นัชชา” พร้อมด้วย รศ.ดร.พิมลศรี มิตรภาพอาทร อาจารย์ประจำหลักสูตรจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้สืบค้นงานวิจัยเกี่ยวโพรไบโอติกส์ มาร่วมพูดคุยกับ ถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ ที่ส่งผลดีต่อภาวะเจริญพันธุ์ รวมถึงสายพันธุ์ของโพรไบโอติกส์ที่เหมาะสำหรับคนเตรียมตั้งครรภ์ คนท้อง คุณแม่หลังคลอด และให้นมบุตร รวมถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ที่เข้ามาช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ให้กับผู้ที่มีบุตรยาก โดยเผยแพร่ทาง https://web.facebook.com/watch/?v=324266573783559
โดย รศ.ดร.พิมลศรี มิตรภาพอาทร อาจารย์ประจำหลักสูตรจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เผยว่า “โพรไบโอติกส์” คือ จุลินทรีย์ชนิดดีที่มีชีวิต เป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นในร่างกายหลายๆ ระบบ หากร่างกายได้รับเข้าไปในปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอจะส่งผลดีและเกิดประโยชน์กับร่างกาย โดย “โพรไบโอติกส์” มีประโยชน์ต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นในผิวหนัง ระบบสืบพันธุ์ ในรังไข่ ช่องคลอด มดลูก น้ำนม อสุจิ และระบบทางเดินอาหาร มีหน้าที่ช่วยในการต้านเชื้อก่อโรคที่จะเข้าไปติดเชื้อในระบบต่างๆ ภายในร่างกาย โดยเฉพาะในทางเดินอาหาร จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ช่วยในการดูดซึมสารอาหารต่างๆ อีกทั้งยังช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมถึงระบบต่อมไร้ท่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่อการผลิตฮอร์โมนของร่างกาย เช่น ช่วยในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ภาวะวิตกกังวล โรคทางสมองและระบบประสาทต่างๆ ด้วย และยังพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะโรค Alzheimer’s Parkinson ซึมเศร้าต่างๆ อีกด้วย
ดร.พิมลศรี มิตรภาพอาทร กล่าวด้วยว่า ทุกคนได้รับ “โพรไบโอติกส์” มาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยได้รับจากคุณแม่ผ่าน รก มดลูก น้ำคร่ำ เพราะฉะนั้นจุลินทรีย์ในร่างกายทารกเริ่มแรกเลยคือมาจากในร่างกายคุณแม่ พอคลอดออกมาจะได้รับผ่านการรับประทานน้ำนม เพราะในน้ำนมแม่จะมีโพรไบโอติกส์ ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นเรียกว่าได้รับมาตั้งแต่เกิดเลย ซึ่งหากคุณแม่มีโพรไบโอติกส์ที่ดี ลูกก็จะได้รับโพรไบโอติกส์ที่ดีด้วย
อย่างไรก็ตาม โพรไบโอติกส์ สามารถลดลงได้ตามพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหารต่างๆ หรือแม้แต่อารมณ์ ความเครียด การติดเชื้อ การได้รับยาปฏิชีวนะ ล้วนแล้วส่งผลทำให้โพรไบโอติกส์มีจำนวนลดลง โดยสามารถเสริมโพรไบโอติกส์มีอยู่ในรูปของอาหารต่างๆ เช่น กิมจิ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว น้ำผึ้ง ไส้กรอกอีสาน เป็นต้น
โดย โพรไบโอติกส์ (Probiotics) มี พรีไบโอติกส์ (Prebitotics) เป็นอาหาร ช่วยในการเจริญเติบโตและก็ส่งเสริมการทำงานของโพรไบโอติกส์ ซึ่งพรีไบโอติกส์ส่วนใหญ่จะพบใน พืช ผัก ผลไม้ ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระเทียม หัวหอมใหญ่ หรือ แอปเปิ้ล กล้วย ถั่วต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วมีพรีไบโอติกส์ตามธรรมชาติ เพราะฉะนั้นการรับประทานพืชผักผลไม้จะช่วยในการกระตุ้นการทำงานของพรีไบโอติกส์ในลำไส้ด้วย โดยอาหารเสริมที่มีครบทั้ง โพรไบโอติกส์ และพรีไบโอติกส์ ทั้ง 2 ประเภทนี้ เรียกว่า ซินไบโอติกส์ ( Synbiotics) ดร.พิมลศรี กล่าว
“ครูก้อย นัชชา” กล่าวเสริมว่า ในกรณีที่เลือกเสริมโพรไบโอติกส์ในรูปแบบอาหารเสริมเนื่องจากอาจไม่สามารถทานอาหารที่อุดมไปด้วยโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ตามธรรมชาติได้ครบ ควรเลือกอาหารเสริมโพรไบโอติกส์ที่มีพรีไบโอติกส์ด้วย และควรเลือกที่ผ่านการรับรองความปลอดภัย และเกณฑ์หลายๆ อย่าง ต้องรู้ชนิด และต้องรู้สายพันธุ์ ต้องรู้ลำดับพันธุกรรม ต้องไม่มียีนที่ทำให้เกิดความอันตราย
ดร.พิมลศรี กล่าวต่อว่า จากการสืบค้นงานวิจัยเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ที่ส่งผลดีต่อลำไส้และภาวะเจริญพันธุ์ พบว่ามีงานวิจัยหลายฉบับมีการศึกษาความปลอดภัยของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (Probiotics) ในการใช้งานกับคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม Lactobaillus เป็นจุลินทรีย์ที่รู้จักกันดี สามารถย่อยสลายน้ำตาลแลคโตส เกิดเป็นกรด Lactic ซึ่งกรด Lactic ทำให้ PH ในร่างกายต่ำลง ก็จะช่วยทำลายเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้ และจุลินทรีย์อีกกลุ่มหนึ่งคือ Bifidobacterium มีบทบาทโดดเด่นในการส่งเสริมภูมิคุ้มกันกระตุ้นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นแบคทีเรียตัวแรกๆ เลยที่ยึดครองพื้นที่ลำไส้ของทารก โดยการศึกษาวิจัยพบว่าไม่ส่งผลต่อสภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หรือแม้แต่เด็กที่คลอดออกมา โดยจะไม่ได้ส่งผลต่อความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น
สำหรับโพรไบโอติกส์ที่มีประโยชน์ในการตั้งครรภ์นั้น มีประโยชน์ตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์ ในขณะตั้งครรภ์ และแม้แต่คลอดบุตร ซึ่งตอนที่เตรียมพร้อมตั้งครรภ์ สุขภาพของระบบสืบพันธุ์สำคัญมาก เพราะฉะนั้นโพรไบโอติกส์จะช่วยป้องกันการติดเชื้อในช่องคลอด ส่งเสริมสุขภาพของไข่ หรือแม้แต่คุณผู้ชายก็ช่วยในเรื่องของสเปิร์มด้วย และในขณะตั้งครรภ์คุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รวมถึงสภาวะต่างๆ ในร่างกาย ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้ออาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเสีย ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เป็นเบาหวาน โพรไบโอติกส์จะมีส่วนช่วยในการระบบต่างๆ เหล่านี้ด้วย หลังคลอดบุตรในน้ำนมแม่ มีจุลินทรีย์ โพรไบโอติกส์ เพราะฉะนั้นถ้าเรามีจุลินทรีย์ที่ดีไปด้วย คือได้ภูมิคุ้มกันถ่ายทอดทางน้ำนม หรือแม้ตอนที่คลอดออกมาผ่านช่องคลอด ลูกก็จะได้รับจุลินทรีย์ผ่านทางช่องคลอดเช่นกัน และโพรไบโอติกส์มีการสร้างสารที่ไปช่วยลดการอักเสบของร่างกายด้วย ช่วยให้ภูมิคุ้มกันดีขึ้น
“ครูก้อย นัชชา” กล่าวเสริมว่า จากศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการอักเสบในร่างกายส่งผลต่อภูมิคุ้มกัน คือ ถ้าภูมิคุ้มกันไม่ดี ร่างกายก็จะอักเสบ พอร่างกายอักเสบ ก็จะส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก อ้างอิงงานวิจัยเรื่อง Inflammation in Reproductive Disorders ที่ตีพิมพ์ในวารสารปี 2011 จากการศึกษาพบว่าการอักเสบเป็นสาเหตุจองโรคทางสูติศาสตร์ ซึ่งค่าการอักเสบมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนเพศ และฮอร์โมนโดยรวม มีผลเกี่ยวข้องกับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และการอักเสบยังมีผลต่อภาวะอื่นๆ ที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก เช่น เยื้อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาววะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ(PCOS)ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ซีสต์รังไข่ หรือเนื้องอกมดลูก รังไข่เสื่อมก่อนวัยหรือวัยทองก่อนกำหนด เซลล์ไข่และเซลล์สเปิร์มที่เสื่อมคุณภาพ การที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัวหรือเกิดการแท้งในระยะเริ่มต้น ล้วนแล้วเกี่ยวข้องกับการที่ร่างกายอักเสบ
นอกจากนี้ร่างกายที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ภาวะ SLE หรือบางคนที่มีค่า ANA สูง นั้นคือค่า Anitnuclear antiboy จะส่งผลทำให้เกิดค่าการอักเสบ และการต้านตัวอ่อน โดยเฉพาะคนที่ทำเด็กหลอดแก้ว หรือทำ ICSI อยู่ในกระบวนการย้ายตัวอ่อน ซึ่งบางคนได้ตัวอ่อนคุณภาพดี คัดโครโมโซมผ่าน เตรียมผนังมดลูกพร้อม แต่ใส่ตัวอ่อนหลายครั้งแล้วไม่ติดแนะนำว่าลองตรวจค่า ANA เป็นค่า แอนตี้ตัวอ่อน ซึ่งหากค่า ANA สูงจะส่งผลให้การใส่ตัวอ่อนล้มเหลว
อ้างอิงงานวิจัยเรื่อง Investigation of the impact of antinuclear antibody on the outcome of in vitro fertilization/intracytoplasmic sperm injection treatment ที่ตีพิมพ์ใน วารสาร Obstetrics and Gynocology เมื่อปี 2015 ศึกษาพบว่าผู้หญิงที่มีค่า ANA หรือค่าต้านตัวอ่อนสูง หรือคล้ายๆภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองแต่ยังไม่ถุงขั้น SLE ซึ่งการศึกษาพบว่าในสตรีที่มีบุตรยาก ถ้าเจาะเลือดออกมาแล้วได้ค่า ANA สูง จะส่งผลต่ออัตราการตั้งครรภ์ที่ลดลง และมีอัตราการแท้งที่สูงขึ้นหลังย้ายตัวอ่อนด้วย
นอกจากนี้ยังมีความรู้ดีๆ เกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ และงานวิจัยอีกหลายฉบับที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์และภาวะเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นสาระความรู้ดีๆ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพสำหรับสตรีเตรียมตั้งครรภ์และผู้มีบุตรยาก โดยสามารถติดตามความรู้เพิ่มเติมได้ที่ https://web.facebook.com/watch/?v=324266573783559 หรือติดตามสาระความรู้ดีๆ เกี่ยวกับเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยากได้ที่เว็บไซต์และเฟซบุ๊กแฟนเพจ และไลน์แอดภายใต้เชื่อเดียวกันที่ BabyAndMom.co.th