“โพรไบโอติกส์” คือ จุลินทรีย์ชนิดดีที่มีชีวิต เป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นในร่างกายหลายๆ ระบบ หากร่างกายได้รับเข้าไปในปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอจะส่งผลดีและเกิดประโยชน์กับร่างกาย โดย “โพรไบโอติกส์” มีประโยชน์ต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ดีต่อสตรีเตรียมตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ หลังคลอด และให้นมบุตร โดยเฉพาะผู้ที่มีบุตรยาก โพรไบโอติกส์ยังช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์อีกด้วย
ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์และผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก BabyAndMom.co.th ได้ศึกษารวบรวมและสรุปงานวิจัย เกี่ยวกับ “โพรไบโอติกส์” และ “ภาวะเจริญพันธุ์” เพื่อให้ความรู้และแนวทางการเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก กล่าวว่า จากการสืบค้นงานวิจัยเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ที่ส่งผลดีต่อลำไส้และภาวะเจริญพันธุ์ พบว่ามีงานวิจัยหลายฉบับมีการศึกษาความปลอดภัยของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (Probiotics) ในการใช้งานกับคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม Lactobaillus เป็นจุลินทรีย์ที่รู้จักกันดี สามารถย่อยสลายน้ำตาลแลคโตส เกิดเป็นกรด Lactic ซึ่งกรด Lactic ทำให้ PH ในร่างกายต่ำลง ก็จะช่วยทำลายเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้ และจุลินทรีย์อีกกลุ่มหนึ่งคือ Bifidobacterium มีบทบาทโดดเด่นในการส่งเสริมภูมิคุ้มกันกระตุ้นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นแบคทีเรียตัวแรกๆ เลยที่ยึดครองพื้นที่ลำไส้ของทารก โดยการศึกษาวิจัยพบว่าไม่ส่งผลต่อสภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หรือแม้แต่เด็กที่คลอดออกมา โดยจะไม่ได้ส่งผลต่อความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น
โพรไบโอติกส์ที่ มีประโยชน์ตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์ ในขณะตั้งครรภ์ และแม้แต่คลอดบุตร
สำหรับโพรไบโอติกส์ที่มีประโยชน์ในการตั้งครรภ์นั้น มีประโยชน์ตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์ ในขณะตั้งครรภ์ และแม้แต่คลอดบุตร ซึ่งตอนที่เตรียมพร้อมตั้งครรภ์ สุขภาพของระบบสืบพันธุ์สำคัญมาก เพราะฉะนั้นโพรไบโอติกส์จะช่วยป้องกันการติดเชื้อในช่องคลอด ส่งเสริมสุขภาพของไข่ หรือแม้แต่คุณผู้ชายก็ช่วยในเรื่องของสเปิร์มด้วย และในขณะตั้งครรภ์คุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รวมถึงสภาวะต่างๆ ในร่างกาย ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้ออาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเสีย ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เป็นเบาหวาน โพรไบโอติกส์จะมีส่วนช่วยในการระบบต่างๆ เหล่านี้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าแบคทีเรียโพรไบโอติกส์ มีความเกี่ยวกับการสร้างโฟแลตอีกด้วย อ้างอิงงานวิจัย เรื่อง Folate Production by Probiotic Bacteria ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients ปี 2011 โดยการศึกษาได้ทำการเปรียบเทียบลำดับพันธุกรรมของ Probiotics หลายๆ สายพันธุ์ เพื่อดูว่ามีลำดับยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง Folate พบว่าลำดับยีนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งแบคทีเรียใน กลุ่ม Lactobacillus plantarum และ Bifidobacterium และมีการศึกษาเพิ่มเติม ในการศึกษาในการสร้างสาร Folate ในชามเลี้ยงเชื้อ พบว่า โพรไบโอติกส์ สามารถสร้าง Folate ได้เช่นกัน โดยได้ทำการศึกษา การผลิตโฟเลตโดยแบคทีเรียโปรไบโอติกส์ พบว่า Bifidobacterium สามารถช่วยสังเคราะห์โฟเลตได้ ซึ่ง โฟมเลต นั้นมีส่วนช่วยในการสร้างตัวอ่อน ช่วยป้องกันและลดความผิดปกติของระบบประสาท ทั้งภาวะไม่มีเนื้อสมอง ภาวะไขสันหลังไม่ปิดจากการขาดโฟลิก นอกจากนี้ยังช่วยซ่อมแซมพันธุกรรม ควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ ไปจนถึงการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกของลูกน้อยในครรภ์ได้อีกด้วย
“ลูกน้อย” ได้รับภูมิคุ้มกันจากจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ผ่านรก น้ำคร่ำ ช่องคลอด และน้ำนมแม่
ครูก้อย นัชชา กล่าวด้วยว่า ทุกคนได้รับ “โพรไบโอติกส์” มาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยได้รับจากคุณแม่ผ่าน รก มดลูก น้ำคร่ำ เพราะฉะนั้นจุลินทรีย์ในร่างกายทารกเริ่มแรกได้รับมาจากในร่างกายคุณแม่ พอคลอดออกมาจะได้รับผ่านการรับประทานน้ำนม เพราะในน้ำนมแม่จะมีโพรไบโอติกส์ ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นเรียกว่าได้รับมาตั้งแต่เกิดเลย ซึ่งหากคุณแม่มีโพรไบโอติกส์ที่ดี ลูกก็จะได้รับโพรไบโอติกส์ที่ดีด้วย
หลังคลอดบุตรในน้ำนมแม่ มีจุลินทรีย์ โพรไบโอติกส์ ทำให้ลูกได้รับภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดทางน้ำนม อ้างอิงงานวิจัยเรื่อง Lactobacillus Bacteria in Breast Milk ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients ปี 2020 พบว่า น้ำนมแม่มี จุลินทรีย์ Probiotics โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Lactobacillus และ Bifidobacterium จะช่วยส่งเสริมสุขภาพในทารกทีดื่มนมแม่ พบว่าทารกที่ดื่มนมแม่จะมีระดับของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ สูงกว่าทารกที่ดื่มแต่นมผงด้วย เพราะฉะนั้นประโยชน์ของการได้รับนมแม่ที่มีจุลินทรีย์ดี ก็จะช่วยส่งผลต่อสุขภาพของทารกด้วยเช่นกัน
หรือแม้ตอนที่คลอดลูกแบบธรรมชาติผ่านช่องคลอด ลูกก็จะได้รับจุลินทรีย์ผ่านทางช่องคลอด เช่นกัน และโพรไบโอติกส์ ยังมีการสร้างสารที่ไปช่วยลดการอักเสบของร่างกายด้วย ช่วยให้ภูมิคุ้มกันดีขึ้น โดยมีรายงานวิจัยเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ช่วยลดอาการแพ้ทางผิวหนังในทารก อ้างงานวิจัยเรื่อง effects of Bifidobacterium powder on infant intestinal flora and allergic symptoms in children with atopic dermatitis ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Japanese Journal of Allergology ปี 2003 โดยได้ทำการศึกษาเด็กทารก 15 คน ที่มีอาการแพ้ ผิวหนังมีผื่นแดง เนื่องจากอาการแพ้นม โดยวิธีทดสอบ ได้มีการเพิ่ม Bifidobacterium breve M16V ลงไปในนมแล้วให้ทารกกิน ระยะเวลา 1 เดือน ปริมาณเชื้อ 5 พันล้านตัว ผลลัพธ์ หลังจากการทดสอบ พบว่ามีปริมาณ Bifidobacteria ในลำไส้เพิ่มมากขึ้น และพบว่าอาการผื่นแดงแพ้ในทารกมีอาการลดลง
โพรไบโอติกส์ ช่วยลดภาวะซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด
โพรไบโอติกส์ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ภาวะซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด โดยมีรายงานวิจัยเรื่อง Effect of Lactobacillus rhamnosus HN001 in Pregnancy on Postpartum Symptoms of Depression and Anxiety : A randomized Double-blind Placebo-controlled Trial ที่ตีพิมพ์ใน วารสาร EBioMedicine เมื่อปี 2017 ได้ทำการทดลอง ให้หญิงตั้งครรภ์ทานโพรไบโอติกส์ชนิดนี้ ตั้งแต่ตั้งครรภ์ 14-16 สัปดาห์จนถึง 6 เดือนหลังคลอด (รวมระยะเวลา 11 เดือนโดยทานทุกวัน ปริมาณเชื้อ 6 พันล้านตัว) พบว่า: กลุ่มที่ได้รับโพรไบโอติกส์ HN001 มีความเครียดและความกังวลลดลงอย่างมากเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ โดยทำการวัดจากแบบสอบถาม Depression Score and Anxiety Score จากเครื่องมือ Edinburgh Postnatal Depression Scale and State Anxiety Inventory
กล่าวโดยสรุป “โพรไบโอติกส์” จุลินทรีย์ชนิดดีมีประโยชน์มากมาย ช่วยส่งเสริมการทำงานของลำไส้และภาวะเจริญพันธุ์ในองค์รวม ส่งผลดีต่อคุณแม่เตรียมตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ หลังคลอด และให้นมบุตร ช่วยส่งเสริมให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดี และสร้างสมดุลในระบบเจริญพันธุ์ ในกรณีที่ต้องการเลือกเสริมโพรไบโอติกส์ในรูปแบบอาหารเสริม เนื่องจากอาจไม่สามารถทานอาหารที่อุดมไปด้วยโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ตามธรรมชาติได้ครบ ควรเลือกอาหารเสริมโพรไบโอติกส์ที่มีพรีไบโอติกส์ด้วย และควรเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะกับสตรีวางแผนตั้งครรภ์ ที่ผ่านการรับรองความปลอดภัย โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Ferty Probiotics By KruKoy ที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ดีต่อระบบลำไส้และระบบภายในสตรี และมีพรีไบโอติกส์ช่วยเสริมการทำงานของโพรไบโอติกส์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสามารถติดตามความรู้และเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ที่เหมาะกับผู้ที่เตรียมตั้งครรภ์และมีผู้บุตรยากในการดูแลสุขภาพตามหลักวิทยาศาสตร์ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th หรือ แอดไลน์ปรึกษาครูก้อยได้โดยตรงผ่านทางไลน์แอด @babyandmom.co.th