Soft Power กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขอนแก่น พิธียกอ้อยอครูหมอลำ สภาวัฒนธรรม

สวธ.ร่วมกับ สภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น จัดพิธียกอ้อยอครูหมอลำ หนุน Soft Power สืบสานวัฒนธรรมอีสาน ณ จังหวัดขอนแก่น

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่นและภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรม ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดงานพิธียกอ้อยอครูหมอลำ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมของชาวอีสานอันงดงามและเพื่อระลึกถึงครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณของศิลปินหมอลำภาคอีสาน โดยเป็นกิจกรรมหนึ่งในงานมหกรรมหมอลำพื้นบ้าน ออนซอนอีสาน ฮีตสิบสองตามฮอยอีสาน ในงานเทศกาลไหมนานาชาติประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่นและงานขอนแก่น ซอฟต์พาวเวอร์ ประจำปี พ.ศ.…

Home / PR NEWS / สวธ.ร่วมกับ สภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น จัดพิธียกอ้อยอครูหมอลำ หนุน Soft Power สืบสานวัฒนธรรมอีสาน ณ จังหวัดขอนแก่น

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่นและภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรม ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดงานพิธียกอ้อยอครูหมอลำ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมของชาวอีสานอันงดงามและเพื่อระลึกถึงครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณของศิลปินหมอลำภาคอีสาน โดยเป็นกิจกรรมหนึ่งในงานมหกรรมหมอลำพื้นบ้าน ออนซอนอีสาน ฮีตสิบสองตามฮอยอีสาน ในงานเทศกาลไหมนานาชาติประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่นและงานขอนแก่น ซอฟต์พาวเวอร์ ประจำปี พ.ศ. 2566  โดยมีนายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมให้เกียรติร่วมงานและเป็นประธานในพิธียกอ้อยอครูหมอลำ และ นายพันธ์เทพ เสาโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น  กล่าวต้อนรับ โอกาสนี้  กงสุลใหญ่ กงสุลกิตติมศักดิ์ ผู้บริหาร สวธ. หัวหน้าส่วนราชการ สภาวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินหมอลำภาคอีสาน นักเรียน เยาวชนต้นกล้าเครือข่ายสภาวัฒนธรรม ร่วมงาน ณ เวทีสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอแก่น

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประธานพิธียกอ้อยอครูหมอลำ กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มุ่งเน้นการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อนำพาสังคมไทยไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน  ด้วยการสนับสนุนภาคีเครือข่ายทางวัฒนธรรมในการดำเนินงานส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น และการพัฒนาชุมชนวัฒนธรรมเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตามที่รัฐบาลมีนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์   เพื่อสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้ “วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจ” ซึ่งพิธียกอ้อยอครูหมอลำถือเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญสำหรับหมอลำภาคอีสาน เป็นการระลึก ถึงคุณครูบาอาจารย์  ผู้มีพระคุณ ด้วยความเคารพ อ่อนน้อมด้วยจิตใจที่ดีงาม และเต็มเปลี่ยมไปด้วยมนต์ขลังของจิตวิญญาณรากเหง้าแห่งวัฒนธรรมอีสาน ทั้งยังสะท้อนถึงวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตท้องถิ่นความประณีตในการจัดเครื่องคาย บายศรี และมนต์เสน่ห์ของพิธีกรรมต่าง ๆ อันเป็นมรดกที่ทรงคุณค่าต่อสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง

 ด้าน ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า พิธียกอ้อยอครูหมอลำ เป็นพิธีที่สำคัญของลูกศิษย์ทุกคนที่จะรำลึกถึงพระคุณของบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ผู้ประสาทวิชาให้ โดยผ่านพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ตามแบบแผนโบราณที่ผ่านการสั่งสมและสืบทอด จนเป็นมรดกอันทรงคุณค่าของวัฒนธรรมภาคอีสาน ขอบคุณกรมส่งเสริมวัฒนธรรม  โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น สภาวัฒนธรรมอำเภอ 26 อำเภอ ศิลปินหมอลำภาคอีสาน และภาคีเครือข่ายที่ได้ร่วมกันจัดพิธีจัดพิธียกอ้อยอครูหมอลำขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ นับว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีของการเริ่มต้นจัดกิจกรรม เพื่อความเป็นสิริมงคล เสริมกำลังใจให้กับศิลปินหมอลำ ท่านประธานในพิธี แขกผู้มีเกียรติ และประชาชนชาวจังหวัดขอนแก่นทุกคน

สำหรับพิธียกอ้อยอครูหมอลำ เริ่มด้วยพิธีสงฆ์ จากนั้นเป็นการลำบูชาครู ป่าวเทวดาอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดย 3 บรมครูหมอลำ ได้แก่ นางฉวีวรรณ ดำเนิน หรือ ฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2536 สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ)  นายฉลาด ส่งเสริม (ป.ฉลาดน้อย)  ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2548 สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ) และ ดร. ราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร  หรือหมอลำราตรีศรีวิไล  ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2565 สาขาศิลปการแสดง (หมอลำประยุกต์ ) จากนั้นเชิญบรมครูหมอลำทั้ง 3 ท่านขึ้นบนเวที เพื่อให้ลูกศิษย์นำขันครูไหว้บูชาครูหมอลำ  เริ่มพิธีบายศรีสู่ขวัญศิลปินหมอลำ ด้วยการผูกแขนสศิลปินหมอลำด้วยฝ้ายขาว

หลังจากจบพิธีบายศรีสู่ขวัญศิลปินหมอลำเป็นการแสดงหมอลำโดยบรมครูหมอลำและศิลปินหมอลำภาคอีสาน นอกจากนี้ยังมีการการแสดงสาธิตหมอลำพื้นบ้าน ทั้ง 5 ประเภทให้ชม ได้แก่ การแสดงหมอลำพื้นบ้าน โดยหมอลำอุดมศิลป์ หมอลำกลอน โดยหมอลำจินตนา ปากไฟ คู่กับหมอลำจำนง ฤาชา หมอลำเพลิน โดย ผศ.ดร.มนูศักดิ์ เรืองเดช (แฟนลำเพลิน) หมอลำผีฟ้า โดยนางบุญเรือง เศิกสิริ หัวหน้าหมอลำทรง และชมหมอลำหมู่ คณะหนูภารวิเศษศิลป์การแสดงลำล่องฮีตสิบสองตามฮอยอีสาน โดย ดร.ราตรีศรีวิไล ศิลปินแห่งชาติ นายกสมาคมหมอลำจังหวัดขอนแก่น พร้อมคณะ จากนั้นชมการแสดงมรดกหมอลำอีสาน คณะหนูภารวิเศษศิลป์