เมื่อพูดถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยเสริมสภาพคล่อง เรามักจะได้ยินคำว่า “สินเชื่อส่วนบุคคล” และ “บัตรกดเงินสด” กันอยู่บ่อย ๆ โดยสินเชื่อทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอยู่ ซึ่งในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักสินเชื่อส่วนบุคคลกับบัตรกดเงินสด เพื่อให้เข้าใจถึงคุณสมบัติของสินเชื่อทั้งสองประเภทนี้เผื่อในอนาคตมีความจำเป็นต้องใช้ จะได้ตัดสินใจเลือกใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สินเชื่อส่วนบุคคล คือ สินเชื่อที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอนุมัติให้เงินไปทั้งก้อน โดยมีจำนวนวงเงินค่อนข้างสูง และเมื่อผ่านการอนุมัติแล้วจะได้รับเงินโอนเข้าบัญชี จากนั้นผู้ขอสินเชื่อสามารถถอนเงินไปใช้จ่ายได้ตามต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินหมดในครั้งเดียวก็ได้ ทั้งนี้ จะต้องผ่อนชำระคืนเป็นงวด ๆ ไป โดยคุณสามารถเลือกระยะเวลาผ่อนชำระที่เหมาะกับความสามารถในการชำระหนี้ของคุณได้ เช่น ภายใน 1 ปี, 2 ปี, 3 ปี เป็นต้น
บัตรกดเงินสด คือ สินเชื่อรูปแบบหนึ่ง ที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นผู้อนุมัติให้โดยรับวงเงินหมุนเวียน เมื่อผ่านการอนุมัติแล้วสามารถสั่งเงินโอนเข้าบัญชีแล้วใช้บัตรกดเงินสดเบิกเงินออกมาใช้กี่ครั้งก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวงเงินสูงสุดที่ได้รับอนุมัติ นอกจากนี้ บัตรกดเงินสดของสถาบันการเงินบางแห่ง ยังสามารถใช้ซื้อสินค้าหรือผ่อนสินค้าได้ด้วย เช่น บัตรกดเงินสดยูเมะพลัส ทั้งนี้ ระยะเวลาการชำระเงินก็ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินนั้นๆ เป็นผู้กำหนด และสามารถปรับเปลี่ยนวันชำระ และเลือกวันที่ต้องการชำระได้ตามความต้องการ
- วงเงินที่ได้รับ
สินเชื่อส่วนบุคคล: ได้รับการอนุมัติวงเงินค่อนข้างสูง โดยสูงสุดจะอยู่ที่ 5 เท่าของรายได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ โดยสถาบันการเงินหรือธนาคารจะเป็นผู้ประเมิน
บัตรกดเงินสด: วงเงินที่ได้รับอนุมัติส่วนใหญ่จะไม่เกิน 2 – 5 เท่าของรายได้ ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินหรือธนาคารจะเป็นผู้ประเมิน ตามความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตของผู้ขอสินเชื่อ
- วัตถุประสงค์การใช้งาน
สินเชื่อส่วนบุคคล: เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเงินก้อนใหญ่ นำเงินไปใช้ลงทุนทำธุรกิจ ขยายธุรกิจ ปิดหนี้บัตรเครดิต ค่าซ่อมบ้าน ค่าซ่อมรถ เป็นต้น
บัตรกดเงินสด: เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ต้องการมีเงินสดสำรองไว้ใช้ยามเกิดเหตุจำเป็น เช่น จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าเทอมบุตรหลาน ผ่อนชำระสินค้า เป็นต้น
- การคิดดอกเบี้ยและการชำระ
สินเชื่อส่วนบุคคล: คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก โดยอัตราดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับธนาคารหรือสถาบันการเงินแต่ละแห่งเป็นผู้กำหนด หรือบางธนาคารอาจจะคิดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ มีการกำหนดวันชำระไว้ล่วงหน้าตลอดอายุสัญญา โดยผู้กู้จะต้องชำระเงินตามกำหนดทุกงวด ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสูงสุดไว้ไม่เกิน 25% ต่อปี
บัตรกดเงินสด: คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกเช่นเดียวกับสินเชื่อส่วนบุคคล แต่จะมีค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินด้วย สูงสุดไม่เกิน 25% ต่อปี ขึ้นอยู่กับธนาคาร และสถาบันการเงินแต่ละแห่งเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ ดอกเบี้ยจะถูกคิดเป็นรายวัน นับตั้งแต่วันที่กดเงินสดออกมาใช้ และดอกเบี้ยสำหรับการกดเงินจะสูงกว่าการซื้อหรือผ่อนสินค้า โดยเจ้าของบัตรสามารถเลือกวันชำระได้ตามสะดวกว่าจะเลือกชำระตามวันที่กำหนดของรอบบิล หรือจะชำระก่อนกำหนด ชำระเต็มจำนวน ชำระขั้นต่ำก็ได้ เพราะยิ่งชำระเร็วเท่าไหร่ ชำระเต็มจำนวนหรือชำระมากที่สุดเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะดอกเบี้ยในงวดถัดไปก็จะลดน้อยลง และเมื่อมีการชำระแล้วก็จะได้วงเงินกลับคืนเข้าไปในบัตรด้วย
(ที่มาของข้อมูลอัตราดอกเบี้ย: https://www.bot.or.th/th/satang-story/managing-debt/consumer-loan-restructuring.html)
จะเห็นได้ว่า สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรกดเงินสด มีความแตกต่างเรื่องวัตถุประสงค์การใช้เงินอย่างชัดเจน แต่ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจเลือกขอสินเชื่อประเภทใด ให้พิจารณาถึงปัจจัย และความจำเป็นในการใช้จ่ายของตนเองก่อน สิ่งสำคัญคือการไม่ผิดนัดชำระ และควรพิจารณาอย่างละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม รายละเอียดเกี่ยวกับการผ่อนชำระ และความสามารถในการจัดการเงินของคุณเอง เพื่อให้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ที่เหมาะสมที่สุด และตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุดนั่นเอง
ทั้งนี้ ”บัตรกดเงินสดยูเมะพลัส” ขอเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยทางการเงิน ที่ช่วยเพิ่มความอุ่นใจในชีวิตให้กับทุกช่วงเวลาของคุณ ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษในการกดเงินสด 0% นานถึง 30 วัน* สามารถเลือกจ่ายคืนได้อย่างอิสระ จ่ายขั้นต่ำ จ่ายมาก หรือจ่ายหมดก็ได้
สำหรับผู้ที่สนใจ สมัครบัตรกดเงินสดยูเมะพลัส สามารถสมัครผ่านทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ https://www.umayplus.com/cashcard/applyform หรือผ่าน Umay+ Application ก็สะดวกเช่นกัน สมัครปุ๊บ อนุมัติปั๊บ สามารถสั่งเงินโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ (Prompt Pay ID) ได้ทันที*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด