ครูก้อย นัชชา

“โพรไบโอติกส์” ตัวช่วยเตรียมตั้งครรภ์ ลำไส้ดูดซึมดี ภูมิต้านทานดี ภาวะเจริญพันธุ์ดี

หัวใจสำคัญในการบำรุงเตรียมตั้งครรภ์ คือ การทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์

Home / PR NEWS / “โพรไบโอติกส์” ตัวช่วยเตรียมตั้งครรภ์ ลำไส้ดูดซึมดี ภูมิต้านทานดี ภาวะเจริญพันธุ์ดี

หัวใจสำคัญในการบำรุงเตรียมตั้งครรภ์ คือ การทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ก่อนเข้าสู่กระบวนการทางแพทย์เพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ หากบำรุงเต็มที่แต่ลำไส้ดูดซึมไม่ดีก็เสียเปล่า เพราะเมื่ออายุมากขึ้นจุลินทรีย์ “โพรไบโอติกส์” ตามธรรมชาติในร่างกายจะลดลงไปด้วย ส่งผลให้การทำงานของระบบลำไส้ทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ความสามารถในการป้องกันและฆ่าจุลินทรีย์ก่อโรคลดลง ขาดจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ในการช่วยย่อย ดูดซึมวิตามินและสารอาหารที่ดีเพื่อไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย รวมถึงเซลล์ไข่ มดลูก ซึ่งล้วนส่งผลต่อภูมิคุ้มกันในร่างกาย สมดุลฮอร์โมน และระบบเจริญพันธุ์

ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์และผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th เผยว่า โพรไบโอติกส์ (Probiotics) คือ จุลินทรีย์มีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในร่างกาย ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการเกี่ยวกับภาวะในลำไส้ได้ มักพบมากในบริเวณระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ภายในช่องปาก บริเวณผิวหนัง ทางเดินปัสสาวะ มดลูก และพบมากในลำไส้ ซึ่งโพรไบโอติกส์ทนทานต่อกรดและด่าง และนับเป็นจุลินทรีย์ประเภทที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่คล้ายกับเกราะที่ยึดเกาะอยู่กับเยื่อบุลำไส้ คอยสร้างสารออกมาช่วยกำจัดจุลินทรีย์ชนิดก่อโรคอื่นๆ ได้ หากมีในปริมาณที่เพียงพอจะมีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหาร สังเคราะห์วิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย และยังช่วยปรับภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สมดุลได้อีกด้วย และจากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ พบว่ามีรายงานวิจัยหลายฉบับที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณของโพรไบโอติกส์ ที่ช่วยในการดูดซึมสารอาหารและส่งเสริมภาวะเจริญพันธุ์

โดยมีงานวิจัยที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพทางเดินอาหารและภูมิคุ้มกัน เรื่อง Digestive & immune Health ที่ตีพิมพ์ใน The Miracles of science ปี 2013 โดยให้กลุ่มทดลองทาน Bifidobacterium lactis HN019™ วันละ1ครั้ง มีปริมาณโพรไบโอติกส์ 10 พันล้านตัว เป็นเวลา 14 วัน พบว่า Bifidobacterium lactis HN019™ แสดงฤทธิ์ที่เป็นปฏิปักษ์กับเชื้อโรคในทางเดินอาหารทั่วไปและจุลินทรีย์จากอาหาร ส่งผลให้ระดับแบคทีเรียที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น และยังช่วยลดเวลาการขนส่งในลำไส้ ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารสบายขึ้น ลดอาการท้องอืด และลดแก๊สไข่เน่า ซึ่งส่งผลดีกับสตรีที่อยู่ในช่วงบำรุงเตรียมตั้งครรภ์ ซึ่งจะช่วยให้อาหารบำรุงที่ทานเข้าไปดูดซึมได้ดี นำไปซ่อมแซม และเสริมสร้างเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย

และมีงานวิจัยที่ได้ทำการทดลองด้านประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหารโดยการเพิ่มโพรไบโอติกส์ สายพันธุ์ Bifidobacteria longum BB536 ในหนูทดลอง อ้างอิงงานวิจัยเรื่อง Effect of Bifidobacterium longum and Lactulose on the Strength of Bone in Ovariectomized Osteoporosis Model Rats ที่ตีพิมพ์ใน วารสาร Japan Women’s University ปี 1994 ได้ทำการทดลอง ในหนูที่เป็นโรคกระดูกพรุน โดยให้หนูที่เป็นโรคกระดูกพรุนกลุ่มที่ 1 ได้รับแคลเซียมอย่างเดียว และอีกกลุ่มได้รับแคลเซียมและโพรไบโอติกส์ Bifidobacteria longum BB536 ระยะเวลา 31 วัน พบว่ากลุ่มหนูที่ได้รับรับแคลเซียมและโพรไบโอติกส์ Bifidobacteria longum BB536 จะมีความแข็งของกระดูกมากกว่ากลุ่มหนูที่ได้รับแคลเซียมอย่างเดียว จึงสรุปได้ว่าการเสริมโพรไบโอติกส์ Bifidobacteria longum BB536 ช่วยในการดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวโพรไบโอติกส์ สายพันธุ์ Bifidobacterium ถึงความสามารถในการเผาพลาญ โพลีฟีนอลสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในพืช ผัก ผลไม้ จากรายงานวิจัยเรื่อง Which Bifidobacteria can help with the metabolism of polyphenols? ที่ตีพิมพ์ใน วารสาร Interntl Journal of Food Sciences and Nutrition เล่มที่ 67 ฉบับที่ 2 หน้า 117-124 ปี 2016 ได้ทำการศึกษาพบว่า โพรไบโอติกส์ สายพันธุ์ Bifidobacterium Breve B3 และ M16V ช่วยเพิ่มการเผาพลาญและการดูดซึมโพลีฟีนอล (Polyphenol) ในร่างกายได้ดีที่สุดในเวลาอันสั้น คือ 50% ภายในเวลา 1-3 ชั่วโมง

ครูก้อย นัชชา กล่าวเสริมว่า โพลีฟีนอล (Polyphenol) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในพืช ผัก ผลไม้ ถั่ว ช็อกโกแลต ชาเขียว กาแฟ หรือในไวน์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีงานวิจัยศึกษาแพร่หลายถึงสรรพคุณในด้านการต้านการอักเสบและการต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ส่งผลให้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และรวมไปถึงการมีส่วนช่วยในด้านการเจริญพันธุ์

โดยมีงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาผลของโพลีฟีนอลในอาหารที่มีต่อสุขภาพการเจริญพันธุ์และพัฒนาการในระยะเริ่มต้น เรื่อง The Effects of Dietary Polyphenols on Reproductive Health and Early Development ที่ตีพิมพ์ใน วารสาร Human Reproductive Update เมื่อปี 2014 โดยได้ทำการศึกษารวบรวมเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีสารโพลีฟีนอล หรืออาหารเสริมที่มีส่วนผสมของโพลีฟีนอลที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ซึ่งผลการศึกษาได้สอดคล้องกับงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาถึงบทบาทโพลีฟีนอลในชาเขียวในการปรับปรุงภาวะเจริญพันธุ์ จากงานวิจัยเรื่อง Therapeutic Role of Green tea Polyphenols in Improving Fertility: A review ที่ตีพิมพ์ใน วารสาร Nutrients เมื่อปี 2018 โดยผลการศึกษาของทั้ง 2 งานวิจัยได้ผลลัพธ์ในทิศทางเดียวกัน โดยพบว่า โพลีฟีนอลช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์เพราะสรรพคุณในการต้านการอักเสบและการต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ เพิ่มอัตราการว่ายและการมีชีวิตของสเปิร์ม รวมไปถึงการเจริญเติบโตของตัวอ่อนอีกด้วย

ครูก้อย นัชชา กล่าวด้วยว่า สำหรับสตรีที่วางแผนตั้งครรภ์ การมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น ทั้งการท้องธรรมชาติ และการทำเด็กหลอดแก้ว โดยหากร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ส่งผลให้ร่างกายอักเสบ ซึ่งการอักเสบส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก โดยงานวิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับการเสริมสร้างภูมิต้านทานในร่างกายด้วยการเสริมโพรไบติกส์ ในงานวิจัยเรื่อง Enhancement of Natural immune function by dietary consumption of Bifidobacterium lactis (HN019) ที่ตีพิมพ์ใน วารสาร European Journal of Clinical Nutrition เมื่อปี 2000 ได้ทำการทดลองโดยให้กลุ่มตัวอย่างทาน Bifidobacterium lactis HN019 / 1 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ติดต่อกัน จากการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ทานมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติดีขึ้น โดยวัดจากระดับของ Interferon Alpha ซึ่งเป็นสารโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย

นอกจากนี้จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ยังมีส่วนช่วยในการสังเคราะห์กรดโฟเลตซึ่งสำคัญสำหรับผู้หญิงเตรียมตั้งครรภ์อีกด้วย อ้างอิงจากงานวิจัย Folate Production by Probiotic Bacteria ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients ปี 2011 ได้ทำการศึกษาการผลิตโฟเลตโดยแบคทีเรียโพรไบโอติกส์ พบว่า Bifidobacterium สามารถช่วยสังเคราะห์โฟเลตได้ ซึ่ง โฟเลต นั้นมีส่วนช่วยในการสร้างตัวอ่อน ช่วยป้องกันและลดความผิดปกติของระบบประสาท ทั้งภาวะไม่มีเนื้อสมอง ภาวะไขสันหลังไม่ปิดจากการขาดโฟลิก นอกจากนี้ยังช่วยซ่อมแซมพันธุกรรม ควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ ไปจนถึงการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกของลูกน้อยในครรภ์ได้อีกด้วย

Pregnant woman relaxing at home on the couch

กล่าวโดยสรุป โพรไบโอติกส์ มีประโยชน์สำหรับสตรีเตรียมตั้งครรภ์หลากหลายประการได้แก่ 1. ช่วยในกระบวนการย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารให้ดีขึ้น 2.ช่วยในการปรับสมดุลฮอร์โมน 3.สร้างภูมิต้านทานตามธรรมชาติให้กับร่างกาย 4.เพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีให้กับร่างกาย และ5.ช่วยในการปรับสมดุลค่า pH ในช่องคลอดให้มีสภาวะที่เหมาะสม เพราะการที่ได้รับโพรไบโอติกส์อย่างเพียงพอตั้งแต่ในช่วงเตรียมตัวตั้งครรภ์ จะมีประโยชน์ต่อทั้งตัวคุณแม่เอง และส่งผลต่อเนื่องให้ทารกในครรภ์ รวมถึงช่วงคลอดที่ทารกจะได้รับแบคทีเรียดีๆ ที่บริเวณช่องคลอด และช่วงให้นมที่ลูกจะได้รับแบคทีเรียที่ดีทำให้ลำไส้ของลูกแข็งแรงขึ้นด้วย หรือแม้แต่ในคนทั่วไปการเสริมโพรไบโอติกส์ช่วยรักษาสมดุลในระบบย่อยอาหาร ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป สร้างสารป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้ ป้องกัน และบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน ท้องร่วง ท้องผูก ด้วย Ferty Probiotics By KruKoy ที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ดีต่อระบบลำไส้และระบบภายในสตรี และมีพรีไบโอติกส์ช่วยเสริมการทำงานของโพรไบโอติกส์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสามารถติดตามความรู้และเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ที่เหมาะกับผู้ที่เตรียมตั้งครรภ์และมีผู้บุตรยากในการดูแลสุขภาพตามหลักวิทยาศาสตร์ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th หรือ แอดไลน์ปรึกษาครูก้อยได้โดยตรงผ่านทางไลน์แอด @babyandmom.co.th