เคล็ดไม่ลับ! แชร์วิธีดูแลรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าง่ายๆ ทำได้ด้วยตนเอง

ในปัจจุบัน ตัวช่วยสำคัญที่หลายบ้าน หลายธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต้องมีติดไว้ก็คือ เครื่องกําเนิดไฟฟ้า หรือที่เราคุ้นหูกันว่า ‘เครื่องปั่นไฟ’ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงพลังงานกล เคมี หรือแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยจะสำรองไว้ใช้ในยามที่ไฟฟ้าเกิดขัดข้อง เช่น กรณีไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าตก หรือไฟไม่พอนั่นเอง…

Home / PR NEWS / เคล็ดไม่ลับ! แชร์วิธีดูแลรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าง่ายๆ ทำได้ด้วยตนเอง

ในปัจจุบัน ตัวช่วยสำคัญที่หลายบ้าน หลายธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต้องมีติดไว้ก็คือ เครื่องกําเนิดไฟฟ้า หรือที่เราคุ้นหูกันว่า ‘เครื่องปั่นไฟ’ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงพลังงานกล เคมี หรือแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยจะสำรองไว้ใช้ในยามที่ไฟฟ้าเกิดขัดข้อง เช่น กรณีไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าตก หรือไฟไม่พอนั่นเอง และสำหรับบ้านหรือธุรกิจไหนที่มีเครื่องสำรองไฟฟ้าติดตั้งอยู่ สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลยเป็นอันขาดก็คือ ‘การคอยหมั่นดูแลรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า’ เพราะเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นมีระบบการทำงานที่ซับซ้อน ต้องใช้งานหนักในกรณีที่ไฟฟ้ามีปัญหา แถมยังมีราคาที่ค่อนข้างสูง หากไม่ดูแลรักษาให้ถูกวิธีก็อาจทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานลดลง และเกิดการพังเสียหายในที่สุด ในบทความนี้เราจึงขอมาแชร์วิธีดูแลรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ทำได้ด้วยตนเองกัน รับรองว่าไม่ยากอย่างที่คิด ไปดูพร้อมๆ กันเลย

1. ปิดสวิตช์ไฟและปิดระบบการจ่ายไฟทุกครั้งก่อนตรวจสอบ

ขั้นตอนแรก ก่อนจะทำการตรวจสอบและดูแลรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เราควรปิดสวิตช์ไฟฟ้าและระบบการจ่ายไฟให้เรียบร้อยก่อนทุกครั้ง เพราะหากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ายังคงทำงานอยู่ มีกระแสไฟฟ้าหมุนเวียนอยู่ในระบบ อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุจากเครื่องยนต์ได้ เช่น ไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าลัดวงจร หรือเครื่องยนต์ระเบิด เป็นต้น เมื่อปิดสวิตช์ไฟและปิดระบบการจ่ายไฟเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มการตรวจสอบแต่ละส่วนของตัวเครื่องได้เลย โดยควรตรวจสอบทุกๆ 20 ชั่วโมง ให้มั่นใจว่าตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของเราสามารถทำงานได้อย่างปกตินั่นเอง 

2. ตรวจสอบระดับน้ำมันของเครื่องยนต์ 

แล้วเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องมีการตรวจสอบอะไรบ้าง? มาเริ่มกันด้วยการตรวจสอบระดับน้ำมันของเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของเราให้ทำงานกัน โดยน้ำมันของเครื่องยนต์จะต้องมีปริมาณที่เหมาะสม มีสีเหมือนเดิม ไม่มีตะกอนหรือคราบดำผสมอยู่ รวมถึงต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องยนต์ทุกครั้งก่อนการใช้งานด้วย เพราะการใช้น้ำมันที่ไม่มีคุณภาพอาจทำให้เครื่องยนต์ที่อยู่ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เสี่ยงต่อการชำรุดเสียหายได้ง่าย 

3. บริเวณหม้อน้ำกลั่นและสภาพหม้อน้ำกลั่นต้องสะอาด

ตรวจสอบระดับน้ำมันของเครื่องยนต์แล้ว ก็ต่อด้วยการตรวจสอบหม้อน้ำกลั่น ซึ่งมีหน้าที่สำคัญคือการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าภายในแบตเตอรี่นั่นเอง สำหรับสภาพหม้อน้ำกลั่นจะต้องสะอาด ไม่มีฝุ่น และสิ่งสกปรกเกาะติดอยู่ โดยให้เราใช้ผ้าแห้งค่อยๆ เช็ดบริเวณรอบนอกหม้อน้ำกลั่น และใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดแผงรังผึ้งด้านนอกของหม้อน้ำ จากนั้นให้ตรวจสอบสภาพน้ำกลั่นในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หากไม่มีสีที่ใส และมีตะกอนลอยอยู่ ให้เปลี่ยนน้ำกลั่นใหม่ทันที 

4. หมุนขั้วสายไฟให้แน่นอยู่เสมอ 

ขั้วสายไฟเป็นสิ่งสำคัญในทุกเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของกระแสไฟฟ้า หากขั้วมีปัญหา กระแสไฟฟ้าก็ไม่สามารถไหลเวียนได้ปกติ กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นก่อนใช้งานและหลังการใช้งานให้เราหมุนขั้วสายไฟให้แน่นทุกครั้ง พร้อมกับใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้มีฝุ่นละออง หรือสิ่งสกปรกไปเกาะติดบริเวณขั้วสายไฟนั่นเอง 

5. สายพานต้องมีน้ำมันหล่อลื่นอยู่เสมอ

สายพานในเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีหน้าที่สำคัญคือการถ่ายทอดกำลังไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และน้ำมันหล่อลื่นก็ทำหน้าที่เสมือนยาบำรุงให้สายพานทำงานได้อย่างแข็งขัน โดยเราควรใส่น้ำมันหล่อลื่นที่สายพานทุกครั้งหลังจากการใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อให้สายพานสามารถหมุนได้ต่อเนื่อง เป็นปกติ และหากพบว่าสายชำรุดหรือเสียหาย ให้เปลี่ยนสายยางทันที เพื่อไม่ให้การใช้งานขัดข้อง

6. ถ่ายน้ำมันหล่อลื่นให้สม่ำเสมอ

อีกหนึ่งขั้นตอนที่ควรให้ความสำคัญ คือ ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นให้สม่ำเสมอ ทุกๆ 3 เดือน เพราะถึงแม้ว่าน้ำมันเก่าจะยังดูสะอาด มีสีใส ไม่มีตะกอนขุ่น แต่หากผ่านการใช้งานไปสักพักแล้ว ประสิทธิภาพการใช้งานอาจลดลง และนอกจากจะถ่ายน้ำมันหล่อลื่นแล้ว ควรเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันหล่อลื่นด้วย 

7. อย่าลืมเปลี่ยนไส้กรองเชื้อเพลิงและไส้กรองอากาศ 

ไส้กรองเชื้อเพลิงและไส้กรองอากาศ เป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยกรองและดักจับฝุ่นละออง รวมไปถึงสิ่งสกปรกไม่ให้เข้าสู่ห้องเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เมื่อใช้มาระยะหนึ่ง ไส้กรองอากาศอาจมีอาการอุดตันจากเศษฝุ่นหรือสิ่งสกปรก ซึ่งส่งผลให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกิดความเสียหาย เพราะอากาศหรือออกซิเจนผ่านเข้าไปผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้น้อยลง ทำให้การเผาผลาญของเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นเพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องงกำเนิดไฟฟ้า อย่าลืมเปลี่ยนไส้กรองเชื้อเพลิงและไส้กรองอากาศทุก 6 เดือนด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างกับวิธีดูแลรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าง่ายๆ ที่เรานำมาฝากทุกคนกัน แต่ละขั้นตอนทำได้ไม่ยากเลย แต่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอและทำต่อเนื่อง โดยจำเป็นต้องมีการวางแผนการบำรุงรักษา รวมถึงการเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ และของเหลวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น การเปลี่ยนสายยางในสายพาน ไส้กรองเชื้อเพลิง หรือไส้กรองอากาศ ฯลฯ เพื่อป้องกันความเสียหายแก่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุขัดข้องที่เป็นอันตรายต่างๆ กับเรานั่นเอง 

ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้งที เลือก Siam Generator
ผู้นำด้านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

สำหรับบ้านหรือธุรกิจอุตสาหกรรมไหนที่กำลังมองหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เราขอแนะนำ Siam Generator ผู้นำด้านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้บริการมาอย่างยาวนาน ที่นี่มีฐานโรงงานประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในทวีปยุโรปและเอเชีย ดำเนินการควบคุมและดูแลจากวิศวกรมืออาชีพ มาพร้อมทีมเซอร์วิสในการส่งมอบติดตั้งดูแลเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั่วประเทศไทยทั้งก่อนและหลังการขาย มั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ และไม่ต้องกังวลเรื่องการซ่อมบำรุง หากพบปัญหาด้านการใช้งาน ใครสนใจติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Siam Generator พร้อมให้คำปรึกษาและบริการแบบครบครัน