ครูก้อย นัชชา

ปรับสมดุล PH ในช่องคลอด เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ ด้วย “โพรไบโอติกส์”

ค่า pH สภาพความเป็น “กรด” หรือ “ด่าง” มีบทบาทสำคัญต่อสภาพแวดล้อมที่อยู่ภายในช่องคลอด และสามารถบ่งบอกได้ว่าช่องคลอดของคุณมีสุขภาพที่ดีหรือไม่

Home / PR NEWS / ปรับสมดุล PH ในช่องคลอด เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ ด้วย “โพรไบโอติกส์”

ค่า pH สภาพความเป็น “กรด” หรือ “ด่าง” มีบทบาทสำคัญต่อสภาพแวดล้อมที่อยู่ภายในช่องคลอด และสามารถบ่งบอกได้ว่าช่องคลอดของคุณมีสุขภาพที่ดีหรือไม่ ซึ่งหากช่องคลอดมีอาการติดเชื้อโดยแสดงอาการต่างๆ เช่น กลิ่นเหม็นคาว ตกขาวสีผิดปกติ เช่น สีเทา หรือ สีเขียว อาการแสบคัน ล้วนเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงสุขภาพภายในช่องคลอดอันเนื่องมาจากค่า pH ขาดความสมดุล อันเนื่องมาจาก แบคทีเรียชนิดดี หรือ โพรไบโอติกส์ มีจำนวนน้อยและอ่อนแอ ไม่สามารถจัดการกับแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคได้ ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดปัญหากวนใจและไม่มั่นใจแล้ว ยังก่อให้เกิดโรคทางสูติศาสาตร์และส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ โดยเฉพาะผู้ที่วางแผนเตรียมตั้งครรภ์ ความสมดุลของ pH มีผลต่อการมีชีวิตรอดของอสุจิในช่วงของการปฏิสนธิกับไข่ และส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากอีกด้วย

ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์และผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th ได้สรุปความรู้จากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ (Probiotics) และภาวะเจริญพันธุ์ (Fertility) ว่า ค่า PH ในช่องคลอด คือ ค่าที่แสดงความเป็น กรด (Acidic) หรือ ด่าง (Alkaline) ในช่องคลอด โดยในช่วงวัยเจริญพันธุ์อายุประมาณ 15-49 ปี ค่า pH ที่เหมาะสม จะอยู่ระหว่าง 3.8 – 4.5 ช่วยให้สภาพแวดล้อมในช่องคลอดเกิดความเป็นกรดอ่อนๆ และสามารถปกป้องช่องคลอดไม่ให้เกิดการติดเชื้อ จากเชื้อแบคทีเรียก่อโรคต่าง ๆ ได้ หากค่า pH มากกว่า 4.5 จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้ช่องคลอดเกิดการติดเชื้อขึ้นได้ โดยเชื้อที่มักพบ เมื่อ pH ของช่องคลอดมีค่ามากกว่า 4.5 ส่วนใหญ่ คือ Bacterial Vaginosis (BV) และ Trichomoniasis

ซึ่งสอดคล้องกับรายงานวิจัยเรื่อง Biological control of vaginosis to improve reproductive health ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Indian Journal of Medical Research, Supplement เมื่อ ปี 2014 ได้ทำการศึกษาในผู้หญิงที่มีการอักเสบของช่องคลอด ที่พบว่ามีปริมาณแบคทีเรียแอนแอโรบส์ (Anaerobes) แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการอักเสบจำนวนมาก ผลการศึกษาพบว่า การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดโรค bacterial vaginosis; BV เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงในวัยก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนมากที่สุด โดยการติดเชื้อนี้ไม่ได้เกิดจากแบคทีเรียตัวร้ายตัวใดตัวหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เกิดจากการที่ แบคทีเรียในช่องคลอดขาดสมดุล การติดเชื้อนี้มักนำไปสู่ความซับซ้อนทางสูติเวช เช่น ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ การคลอดก่อนกำหนด รวมถึงการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ และการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำลายสุขภาพการเจริญพันธุ์ และนำไปสู่ภาวะมีบุตรยากได้

มีงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาถึงปัจจัยการเจริญพันธุ์ที่ส่งผลต่อจุลินทรีย์ในช่องคลอด เรื่อง Fertility factors affect the vaginal microbiome in women of reproductive age ที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Reproductive Immunology ปี 2020 โดยได้ทำการศึกษาผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จำนวน 85 คน ที่ต้องการมีบุตร เพื่อหาปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ ระดับฮอร์โมนทางเพศ ท่อนำไข่ และค่า pH ในช่องคลอด ว่าส่งผลต่อระบบนิเวศในช่องคลอดอย่างไร พบว่าผู้หญิงที่มีปัญหาท่อนำไข่อุดตัน มีรอบเดือนห่าง มีจำนวนไข่ในรังไข่มากกว่า 15 ฟอง หรือมีค่าความเป็น กรด-ด่างในช่องคลอดมากกว่า 4.5 มักมีจำนวนแบคทีเรียชนิดอีโคไล (Escherichia coli) ในช่องคลอดจำนวนมากซึ่งส่งผลให้ช่องคลอดเกิดการอักเสบ

ครูก้อย นัชชา กล่าวเสริมว่า จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์และภาวะเจริญพบว่าโดยโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ ที่มีการทดสอบ ว่ามีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพได้จริงที่โดดเด่น จะมีด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ Bifidobacterium และ Lactobacillus จุลินทรีย์ทั้งสองประเภทนี้เกี่ยวข้องกับภาวะเจริญพันธุ์ และเหมาะสมกับคนที่เตรียมตัวมีบุตร คนตั้งครรภ์ คุณแม่หลังคลอดและให้นมบุตร

โดยมีการศึกษาวิจัยพบว่า “โพรไบโอติกส์ กลุ่ม Bifidobacterium ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ อ้างอิงรายงานวิจัยเรื่อง Enhancement of Natural immune function by dietary consumption of Bifidobacterium lactis (HN019) ที่ตีพิมพ์ใน วารสาร European Journal of Clinical Nutrition เมื่อปี 2000 ได้ทำการศึกษาทดลองในกลุ่มตัวอย่างโดยให้ทาน Bifidobacterium lactis HN019 / 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ติดต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ทานมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติดีขึ้น โดยวัดจาก ระดับของ Interferon Alpha ซึ่งเป็นสารโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย โดยสำหรับสตรีที่วางแผนตั้งครรภ์ การมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น ทั้งการท้องธรรมชาติ และการทำเด็กหลอดแก้ว

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยศึกษาพบว่า โพรไบโอติกส์ กลุ่ม Lactobacillus สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ส่งผลให้ช่องคลอดอักเสบได้ อ้างอิงงานวิจัยเรื่อง Effect of Lactobacillus rhamnosus and Lactobacillus acidophilus on bacterial vaginal pathogen ที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Immunopathology and Pharmacology ปี 2017 ที่ได้ทำการศึกษาถึงสรรพคุณของโพรไบโอติกส์สองสายพันธุ์ที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านจุลชีพหรือแบคทีเรียในช่องคลอด ได้แก่ สายพันธุ์ Lactobacillus rhamnosus HN001 และสายพันธุ์ Lactobacillus acidophilus La-14 โดยทำการทดสอบจากการเพาะเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลให้ช่องคลอดอักเสบทั้งชนิด E.coli และ S.aureus โดยใส่โพรไบโอติกส์ทั้งสองชนิดในการเพาะเชื้อ พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียจากการฟักตัวและเจริญเติบโตได้ 100%

การเสริมโพรไบโอติกส์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสุขภาพในการเสริมสร้างเกราะป้องกันที่ดีจากระบบภายในร่างกาย โดยเฉพาะสตรีที่มีสัญญาณบ่งบอกถึงสุขภาพภายในช่องคลอดอันเนื่องมาจากค่า pH ขาดความสมดุลควรเสริมโพรไบโอติกส์ชนิดที่ดีต่อลำไส้และระบบภายในสตรีเพื่อเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเข้าไปจัดการกับแบคทีเรียตัวร้ายไม่ให้ก่อโรค โดยเฉพาะผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์การเสริมโพรไบโอติกส์ นอกจากจะมีประโยชน์ต่อทั้งตัวคุณแม่เอง ยังส่งผลต่อเนื่องให้ทารกในครรภ์ รวมถึงทารกที่คลอดธรรมชาติยังจะได้รับแบคทีเรียชนิดดีที่บริเวณช่องคลอดของคุณแม่อีกด้วย และช่วงให้นม ลูกจะได้รับแบคทีเรียที่ดีจากน้ำนม ทำให้ลำไส้ของลูกแข็งแรงขึ้นด้วยและมีภูมิคุ้มกันที่ดีตามมา หรือแม้แต่ในคนทั่วไป การต้องเสริมโพรไบโอติกส์ยังช่วยรักษาสมดุลในระบบย่อยอาหาร ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป สร้างสารป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้ ป้องกัน และบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน ท้องร่วง ท้องผูก ด้วย Ferty Probiotics By KruKoy ที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ดีต่อระบบลำไส้และระบบภายในสตรี และมีพรีไบโอติกส์ช่วยเสริมการทำงานของโพรไบโอติกส์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสามารถติดตามความรู้และเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ที่เหมาะกับผู้ที่เตรียมตั้งครรภ์และมีผู้บุตรยากในการดูแลสุขภาพตามหลักวิทยาศาสตร์ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th หรือ แอดไลน์ปรึกษาครูก้อยได้โดยตรงผ่านทางไลน์แอด @babyandmom.co.th