กรมการค้าภายใน มะนาว มะนาวถูก

กรมการค้าภายใน ดูแลสินค้ามะนาวต่อเนื่องตลอดฤดูการผลิต

นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคมของทุกปี เป็นช่วงที่มะนาวออกสู่ตลาดในปริมาณมาก แหล่งผลิตสำคัญอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี พิจิตร กำแพงเพชร และสมุทรสาคร ซึ่งในปี 2566…

Home / PR NEWS / กรมการค้าภายใน ดูแลสินค้ามะนาวต่อเนื่องตลอดฤดูการผลิต

นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคมของทุกปี เป็นช่วงที่มะนาวออกสู่ตลาดในปริมาณมาก แหล่งผลิตสำคัญอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี พิจิตร กำแพงเพชร และสมุทรสาคร ซึ่งในปี 2566 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้คาดการณ์ปริมาณผลผลิตมะนาวจากเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี 2565 มีประมาณ 368,000 ตัน โดยปกติมะนาวสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี แต่ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม เป็นช่วงที่มะนาวจะให้ผลผลิตมากเป็นพิเศษ

         อย่างไรก็ตาม กรมการค้าภายใน ได้ดำเนินการเชิงรุกตั้งแต่ช่วงต้นฤดูที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก โดยได้ติดตามและประเมินสถานการณ์การผลิตการตลาดมะนาวทั่วประเทศร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาด้านราคาตกต่ำที่จะส่งผลให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนซึ่งที่ผ่านมา กรมฯ ได้เชื่อมโยงรับซื้อมะนาวในราคานำตลาดไปจำหน่ายสู่ผู้บริโภคโดยตรงผ่านช่องทางในความส่งเสริมของกรมฯ อาทิ รถและจุดโมบายพาณิชย์ ศูนย์การค้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล ห้างท้องถิ่น รวมทั้งเร่งประสานขอความร่วมมือจากผู้ค้าในตลาดท้องถิ่นประจำจังหวัด รับซื้อผลผลิตจากกลุ่มเกษตรนำไปจำหน่ายยังตลาดปลายทาง

         นายอุดม กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการเชื่อมโยงไปจำหน่ายเป็นผลสดตั้งแต่ต้นฤดูกาลกรมฯ ยังได้ประสานโรงงานแปรรูปน้ำมะนาวให้รับซื้อผลผลิตมะนาวจากกลุ่มเกษตรกรในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจากเดิม เพื่อเร่งดูดซับผลผลิตในส่วนที่เหลือเพื่อนำไปแปรรูปและเตรียมจำหน่ายในช่วงที่ผลผลิตขาดตลาดและราคาสูงต่อไป

ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว เป็นกลไกหนึ่งในการรักษาระดับเสถียรภาพด้านราคาและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกมะนาว ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 เพื่อพยุงราคาที่เกษตรกรขายได้ให้อยู่ในระดับเหมาะสมตลอดฤดูกาล และบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร อย่างไรก็ตาม กรมฯ จะได้ติดตามและประเมินสถานการณ์การผลิตการตลาดพืชผักและสินค้าเกษตรอื่นๆ ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอย่างใกล้ชิด เพื่อใช้ประกอบการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาผลผลิตด้านปริมาณและราคาที่จะมีผลกระทบต่อเกษตรกรและผู้บริโภค
อย่างใกล้ชิดต่อไป