กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เส้นทางความเชื่อ เส้นทางความเชื่อลุ่มแม่น้ำโขง

วธ. เปิดเส้นทางความเชื่อความศรัทธาแห่งลุ่มแม่น้ำโขง นำอัตลักษณ์และวิถีชีวิตท้องถิ่นผ่านคติความเชื่อเรื่อง “พญานาค” เชื่อมต่อ 5 จังหวัดท่องเที่ยวภาคอีสาน

กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา จับมือสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม มุกดาหาร บึงกาฬ หนองคาย และอุดรธานี จัดกิจกรรมตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา เชิญชวนนักท่องเที่ยวสัมผัสกลิ่นอายมนต์เสน่ห์แห่งประเพณีและวิถีชีวิตของคนลุ่มแม่น้ำโขงที่มีคติความเชื่อเรื่อง “พญานาค” ใน “เส้นทางความเชื่อความศรัทธาแห่งลุ่มแม่น้ำโขง” วันที่ 8 กรกฎาคม…

Home / PR NEWS / วธ. เปิดเส้นทางความเชื่อความศรัทธาแห่งลุ่มแม่น้ำโขง นำอัตลักษณ์และวิถีชีวิตท้องถิ่นผ่านคติความเชื่อเรื่อง “พญานาค” เชื่อมต่อ 5 จังหวัดท่องเที่ยวภาคอีสาน

กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา จับมือสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม มุกดาหาร บึงกาฬ หนองคาย และอุดรธานี จัดกิจกรรมตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา เชิญชวนนักท่องเที่ยวสัมผัสกลิ่นอายมนต์เสน่ห์แห่งประเพณีและวิถีชีวิตของคนลุ่มแม่น้ำโขงที่มีคติความเชื่อเรื่อง “พญานาค” ใน “เส้นทางความเชื่อความศรัทธาแห่งลุ่มแม่น้ำโขง”

วันที่ 8 กรกฎาคม 2566 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรมตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา “เส้นทางความเชื่อความศรัทธาแห่งลุ่มแม่น้ำโขง” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงศาสนา พัฒนาวัด ศาสนสถาน และชุมชน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิต พร้อมรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม วัฒนธรรมจังหวัดนครพนม มุกดาหาร บึงกาฬ หนองคาย และอุดรธานี ผู้แทนหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรม ณ วัดมหาธาตุ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ครม. เห็นชอบให้นาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนาน ซึ่งเป็นการประกาศในเชิงสัญลักษณ์ เพื่อสร้างให้เกิดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติ อีกทั้งยังเป็น Soft Power ในการนำทุนวัฒนธรรมมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและนำรายได้เข้าประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ได้ดำเนินการจัดงาน “เส้นทางความเชื่อความศรัทธาแห่งลุ่มแม่น้ำโขง” โดยบูรณาการงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น รวมทั้งภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างเข้มแข็ง นำอัตลักษณ์ วิถีชีวิตท้องถิ่นของคนลุ่มแม่น้ำโขงที่มีคติความเชื่อเรื่อง “พญานาค” มาเป็น Soft Power ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ เชื่อมต่อเส้นทางท่องเที่ยวในมิติศาสนาและวัฒนธรรม 5 จังหวัดภาคอีสาน ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม มุกดาหาร บึงกาฬ หนองคาย และอุดรธานี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อว่า นอกจากจะเป็นการยกระดับเทศกาล ประเพณีท้องถิ่น ให้เป็นที่รู้จักแก่นานาชาติ นำมาสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากจากสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมผ่านการท่องเที่ยวแล้ว กรมการศาสนา ยังมุ่งพลิกโฉมให้วัด ศาสนสถาน และชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีศักยภาพ โดยจัดให้มีการแสดงเส้นทางความเชื่อความศรัทธาแห่งลุ่มแม่น้ำโขงของทั้ง 5 จังหวัด การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและสินค้าชุมชน การแสดงศิลปวัฒนธรรม รวมถึงการจัดแสดงผลงานศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในจังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นการสร้างการรับรู้แก่ภาคส่วนต่าง ๆ นำไปสู่การบูรณาการความร่วมมือพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ให้เกิดขึ้นอย่างเข้มแข็ง พร้อมเป็นแหล่งบ่มเพาะเรียนรู้ด้านศาสนาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่

สำหรับเส้นทางความเชื่อความศรัทธาแห่งลุ่มแม่น้ำโขงของทั้ง 5 จังหวัดนั้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนริมแม่น้ำโขงที่สะท้อนผ่านความเชื่อความศรัทธาและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ โดยเส้นทางดังกล่าวประกอบด้วย 1.จังหวัดนครพนม ได้แก่ วัดมหาธาตุ ลานพญาศรีสัตตนาคราช วัดพระธาตุพนม 2.จังหวัดมุกดาหาร ได้แก่ ลานพญาศรีภุชงค์มุกดานาคราช พญาอนันตนาคราช วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ 3.จังหวัดบึงกาฬ ได้แก่ ถ้ำนาคา เจ้าปู่อือลือนาคราช 4.จังหวัดหนองคาย ได้แก่ พระธาตุหล้าหนอง วัดโพธิ์ชัย พระธาตุบังพวน และ 5.จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ วังนาคินทร์ คำชะโนด ซึ่งเส้นทางดังกล่าวนี้ จะเป็นการเชื่อมต่อการท่องเที่ยว โดยนำอัตลักษณ์ และวิถีชีวิตท้องถิ่นจากคติความเชื่อเรื่อง “พญานาค” ต่อยอดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างเข้มแข็งและทรงพลัง