ครูก้อย นัชชา

ทานกรดไขมันดี ฮอร์โมนดี ช่วยให้ท้องง่ายขึ้น

ครูก้อย นัชชา เผยการเลือกรับประทานน้ำมันดี ช่วยให้ร่างกายได้รับกรดไขมันดีหรือไขมันไม่อิ่มตัว มีประโยชน์ต่อร่างกายรวมถึงภาวะเจริญพันธุ์ด้วย

Home / PR NEWS / ทานกรดไขมันดี ฮอร์โมนดี ช่วยให้ท้องง่ายขึ้น

ไขมันนอกจากจะให้พลังงานแล้ว ยังเป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนบางชนิดรวมถึงฮอร์โมนเพศ และฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิง ฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้นสำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยกระตุ้นให้ไข่เจริญเติบโต และช่วยให้ไข่สุก ซึ่งไข่สุกเท่านั้นที่จะมีโอกาสปฏิสนธิได้สำเร็จกับสเปิร์มได้ ดังนั้นหากไม่ทานไขมันดีเลย ร่างกายจะมีภาวะพร่องไขมันดีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำส่งผลให้มีบุตรยาก

ครูก้อย – นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งเพจ https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th และที่ปรึกษาเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก เผยว่า การเลือกรับประทานน้ำมันดี ช่วยให้ร่างกายได้รับกรดไขมันดี หรือ ไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายรวมถึงภาวะเจริญพันธุ์ด้วย ช่วยให้มีภาวะเจริญพันธุ์ที่ดี เพิ่มคุณภาพและพลังงงานให้กับเซลล์ไข่และเซลล์สเปิร์ม เยื่อบุมดลูกแข็งแรง ช่วยเสริมฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดดี เพิ่มอัตราการฝังตัวอ่อน ขณะเดียวกันหากร่างกายอยู่ในภาวะพร่องไขมันดี ในผู้หญิงจะส่งผลให้ ไข่ไม่ตกเรื้อรัง ประจำเดือนขาดหาย ฮอร์โมนไม่สมดุล ไข่ไม่โต กระตุ้นไข่ไม่ขึ้น รังไข่เสื่อม มดลูกแห้ง ผนังมดลูกบาง มีโอกาสแท้งได้ง่าย

ซึ่งไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวหรือ (Monounsaturated Fatty Acid :MUFA) ช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) เพิ่มขึ้นและช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL) ในเลือด ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง และรักษาเซลล์ในร่างกาย ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวมักพบในพืชและน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันอะโวคาโด เป็นต้น

ส่วน กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fatty Acid: PUFA) ไขมันชนิดนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะไปลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ เช่นเดียวกับกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้เอง จึงต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร หรือ อาหารเสริม ได้แก่

โอเมกา 3 (Omega-3) อุดมไปด้วยกรดไขมันหลายชนิด ได้แก่ อีพีเอ (EPA) และดีเอชเอ (DHA) ที่พบได้ในอาหารจำพวกปลาทะเล อย่างแซลมอน ซาร์ดีน ทูน่า แมคเคอเรล ส่วนเอแอลเอ (ALA) จะพบมากในถั่วและธัญพืชชนิดต่าง ๆ น้ำมันแฟลกซ์ซีด (flaxseed oil) น้ำมันสาหร่ายทะเล (Algae oil) เป็นต้น

โอเมกา 6 (Omega-6) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน มีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี เพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี และช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด โดยชนิดที่พบบ่อยคือ กรดไลโนเลอิก (Linoleic Acid) พบได้ในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันฟักข้าว (Gac oil) น้ำมันงาขี้ม้อน (Perilla oil) น้ำมันดอกทานตะวัน (Sunflower oil) เป็นต้น

ส่วน โอเมกา 9 (Omega–9) นั้น ร่างกายสามารถสามารถสร้างขึ้นมาเองได้โดยมี โอเมก้า 3 และ 6 เป็นตัวประกอบซึ่งได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไปที่อุดมด้วยโอเมกา 3 และ 6 ตามที่กล่าวไปข้างต้น โดยโอเมกา 9 อยู่ในกระบวนการลดการแข็งตัวของเลือด ลดการสะสมไขมันเลวเพิ่มไขมันดี ช่วยป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่เกิดจากกระบวนการออกซิเดชั่น และไลปิดออกซิเดชั่น ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ กระตุ้นการสร้างโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนมีความสัมพันธ์กับการหดและคลายของกล้ามเนื้อ ช่วยลดความเจ็บปวดเมื่อร่างกายเกิดการอักเสบ และช่วยบรรเทาอาการปวดขณะมีประจำเดือน

ครูก้อย – นัชชา กล่าวเสริมว่า จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับกรดไขมันดีที่ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ พบว่าไขมันดีประเภท PUFA และ MUFA เป็นไขมันชนิดดีที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ช่วยลดความเสี่ยงการมีบุตรยาก จากงานวิจัยเรื่อง Effects of Consumption of Various Fatty Acids on Serum HDL-Cholesterol Levels ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Endocrinology & Metabolism ในปี 2018 และ The Effect of MUFA-Rich Food on Lipid Profile: A Meta-Analysis of Randomized and Controlled-Feeding Trials ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Foods Multidisciplinary Digital Publishing Institute ในปี 2022 ศึกษาพบว่าการทานไขมันชนิด MUFA หรือ Monounsaturated Fatty Acid คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นไขมันเลว และช่วยเพิ่มระดับไขมันดีในเลือด

และมีรายงานวิจัยเรื่อง Association between polyunsaturated fatty acid intake and infertility among American women aged 20–44 years ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Public Health เมื่อปี 2022 พบว่า ผู้หญิงที่มีปริมาณไขมัน PUFA ได้แก่ DHA และ ALA ต่ำมีความเสี่ยงมีบุตรยากมากขึ้น อย่างไรก็ตามไขมันดีเชิงซ้อนชนิด PUFA ไม่ทนต่อความร้อน เฉพาะฉะนั้นจึงเหมาะกับการนำไปทานน้ำสลัด หรือ เลือกประทานอาหารเสริมแทนจะได้ประโยชน์มากกว่านำมาประกอบอาหารที่มีความร้อน

นอกจากนี้แล้ว “น้ำมันกระเทียม” ยังได้รับความนิยมในการบริโภคมากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาว ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และยังช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ด้วย โดยมีรายงานการศึกษาถึงฤทธิ์ของกระเทียมในฐานะสารเพิ่มการเจริญพันธุ์จาก International Journal of Research in Ayurveda and Medical Sciences ปี 2018 ศึกษาพบว่าการบริโภคกระเทียมในปริมาณที่เหมาะสมช่วยเพิ่มน้ำอสุจิ จำนวนอสุจิ และปรับสมดุลของระดับฮอร์โมนอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีสารต่อต้านแบคทีเรีย มีคุณสมบัติต้านเชื้อรา ต้านการอักเสบ บำรุงมดลูกและประจำเดือนในสตรี ซึ่งน้ำมันกระเทียม นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสุขภาพสำหรับคนที่ไม่ชอบทานกระเทียมสด และต้องการเลี่ยงกลิ่นกระเทียม

อย่างไรก็ตามการเลือกรับประทานน้ำมันดีควรได้รับในปริมาณที่เหมาะสม โดยปริมาณไขมันแต่ละชนิดที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ควรมีไขมันไม่อิ่มตัวทั้งเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อน ไม่น้อยกว่า 25–35% ของแคลอรีทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน ส่วนไขมันอิ่มตัวหรือไขมันเลวนั้น ควรได้รับน้อยกว่า 7% ของแคลอรี่ทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน

โดย “ครูก้อย – นัชชา” ได้สรุปรวบรวมน้ำมันดี 9 ชนิดจากธรรมชาติที่อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่มีรายงานทางการวิจัยศึกษาพบว่าช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ ได้แก่ 1.นํ้ามันอะโวคาโด 2. นํ้ามันมะกอก 3.น้ำมันงาขาว 4. นํ้ามันดอกทานตะวัน 5. น้ำมันกระเทียม 6. น้ำมันแฟลกซ์ซีด 7. น้ำมันฟักข้าว 8. น้ำมันงาขี้ม้อน 9. น้ำมันสาหร่ายทะเล หรือสำหรับผู้มีบุตรยากและมีภาวะพร่องไขมันดี สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับน้ำมันดี 9 ชนิดที่ทาง “ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” ได้ศึกษารวบรวม คิดค้นและพัฒนาเป็น 9 น้ำมันดี Ferti 9 Oil เพื่อสตรีเตรียมตั้งครรภ์ได้เลือกบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมโดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.babyandmom.co.th/all-products/ferti-9-oil-by-krukoy หรือปรึกษาการเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยากกับ ครูก้อย – นัชชา ลอยชูศักดิ์ โดยตรงผ่านทางไลน์แอด: @Babyandmom.co.th