ช่วยเหลือผู้หนีภัย ช่วยเหลือผู้หนีภัยจากเมียนมา สหประชาชาติ สิทธิมนุษยชน เงินสนับสนุน

สหภาพยุโรปสนับสนุนเงินทุน 12 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลือผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาในประเทศไทย

10 มีนาคม 2566 – สหภาพยุโรปมอบเงิน 12 ล้านยูโรให้กับโครงการใหม่ 6 โครงการที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับตัวและการพึ่งพาตนเองให้กับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา วันนี้ ฯพณฯ นายเดวิด เดลี เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยและผู้แทนจากองค์กรพัฒนาเอกชนได้ลงนามข้อตกลงโครงการใหม่ 5…

Home / PR NEWS / สหภาพยุโรปสนับสนุนเงินทุน 12 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลือผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาในประเทศไทย

10 มีนาคม 2566 – สหภาพยุโรปมอบเงิน 12 ล้านยูโรให้กับโครงการใหม่ 6 โครงการที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับตัวและการพึ่งพาตนเองให้กับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา

วันนี้ ฯพณฯ นายเดวิด เดลี เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยและผู้แทนจากองค์กรพัฒนาเอกชนได้ลงนามข้อตกลงโครงการใหม่ 5 ฉบับ ซึ่งจะช่วยเหลือผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา จำนวน 90,759 คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ 9 แห่งตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา

“ความขัดแย้ง ความรุนแรง และการดำเนินคดี ทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องหนีภัยออกจากประเทศบ้านเกิด ประชากรผู้พลัดถิ่นมักพบว่าตัวเองต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลาหลายปีโดยได้รับการช่วยเหลืออย่างจำกัด ในฐานะประเทศปลายทางและทางผ่าน ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในระดับภูมิภาคเกี่ยวกับประเด็นการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ ผ่านการให้ทุนสนับสนุนโครงการ สหภาพยุโรปให้การสนับสนุนประเทศไทยในความพยายามให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเพื่อรักษาสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและเตรียมความพร้อมให้แก่ประชากรในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯสู่อนาคตที่ดีกว่า” ฯพณฯ นายเดวิด เดลี เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าว

สหภาพยุโรปให้การสนับสนุน 6 โครงการซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญในสาขาของตน ได้แก่ มูลนิธิแอ๊ดเวนตีสเพื่อการพัฒนาและบรรเทาทุกข์ (ADRA) ที่เน้นเรื่องการฝึกอาชีพ, มูลนิธิโคเออร์ (COERR Foundation) ที่เน้นเรื่องกิจกรรมพัฒนาศักยภาพที่ยั่งยืนด้านเกษตรอินทรีย์, Humanity & Inclusion (HI) ผ่านการให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีความทุพพลภาพ, Malteser International (MI) ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพ สุขาภิบาลน้ำ และสุขอนามัย, มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) โดยมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา และ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ซึ่งเน้นด้านการคุ้มครองเด็กและแนวทางแก้ปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาอย่างยั่งยืน[1]

การสนับสนุนของสหภาพยุโรปถูกออกแบบให้สะท้อนความต้องการของผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมาในการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นและการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนสำหรับการใช้ชีวิตนอกพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ

นายเควนติน แคมเบลล์ ผู้อำนวยการ ADRA ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการฝึกอบรมอาชีพของ ADRA ซึ่งดำเนินการโดยได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ไม่เพียงแต่จะนำทักษะและความเชี่ยวชาญใหม่ๆ มาสู่คนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่ยังเตรียมความพร้อมให้พวกเขาสำหรับชีวิตนอกพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯด้วย”

“ตั้งแต่ปี 2556 มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก ได้ดำเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ9 แห่งในประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากสหภาพยุโรป เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กในพื้นที่พักพิงจำนวน 19,216 คนจากเมียนมาจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ” นายประเสริฐ ทีปะนาถ ผู้อำนวยการมูลนิธิช่วยเหลือเด็ก ประเทศไทย กล่าวเสริม

สหภาพยุโรปเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือหนีภัยการสู้รบจากเมียนมา และหมู่บ้านไทยรอบพื้นที่พักพิงมาอย่างยาวนาน โดยได้ให้การสนับสนุนโครงการต่างๆ มากมายในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯทั้ง 9 แห่งตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาตั้งแต่ปี 2538


[1] อียู-สหประชาชาติ ผสานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย, 1 มีนาคม 2566: https://thailand.un.org/th/221081-อียู-สหประชาชาติ-ผสานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน