อาการ “นอนไม่หลับ” ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม โดยมีสาเหตุหลักๆ มาจากหลากปัจจัย เช่น ปัจจัยทางด้านจิตใจที่มีความเครียดและความวิตกกังวล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มีเสียงรบกวนขณะนอนหลับ ห้องนอนสว่างเกินไป การออกกำลังกายหนักเกินไป ปัจจัยทางด้านพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เล่นเกม ดูซี่รี่ย์จนดึก หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นคาเฟอีน ทานอาหารก่อนเข้านอน หรือออกกำลังกายก่อนเข้านอน รวมถึงภาวะวัยทองที่เกี่ยวกับฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายทำงานไม่สมดุล จึงทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อยๆ แล้วนอนต่อได้ยาก ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ เพราะหากนอนไม่หลับเป็นระยะเวลานานๆ ติดต่อกัน จะยิ่งทำให้สุขภาพแย่ลง เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการหลั่งของฮอร์โมนที่สำคัญระหว่างการนอนหลับ และยังส่งผลต่อฮอร์โมนเพศอีกด้วย โดยในผู้ชายที่นอนน้อยจะส่งผลต่อการสร้างสเปิร์มลดลง และสำหรับผู้หญิงที่นอนน้อยจะทำให้ไข่ไม่ตก และประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีบุตรยาก
ครูก้อย – นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งเพจ https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th/ ให้ความรู้ผู้มีบุตรยาก และโค้ชเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก เปิดเผยว่า “การนอนไม่หลับ” หรือ “หลับไม่สนิท” ส่งผลให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งมีผลเสียกับร่างกายทำให้ระบบร่างกายทำงานติดขัด ระบบภูมิคุ้มมีประสิทธิภาพลดลง ร่างกายอักเสบได้ง่าย มีผลต่อการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอได้ลดลง อันเนื่องมาจากประสิทธิภาพในการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการการหลั่ง “ฮอร์โมนเมลาโทนิน” ที่บทบาทสำคัญเป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ชั้นดีต่อร่างกาย ในการป้องกันเซลล์ในร่างกายรวมถึงเซลล์สเปิร์มและเซลล์ไข่จากสารอนุมูลอิสระ ซึ่งสารเมลาโทนินนี้ถูกสร้างมากที่สุดในเวลากลางคืนขณะหลับลึก โดยมีรายงานจากงานวิจัยเรื่อง Sleep, Circadian Rhythms, and Fertility ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Sleep Medicine Report เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าผู้ชายและผู้หญิง มีสมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน ทำให้นอนหลับหรือตื่น เช่น ฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin Hormone) และคอร์ติซอล (cortisol) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ฮอร์โมนแห่งความเครียด” เป็นสมองส่วนเดียวกันกับการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเพศด้วย ดังนั้นฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่ของผู้หญิงและฮอร์โมนที่ควบคุมการผลิตสเปิร์มของผู้ชายซึ่งสัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับ
เมื่อการหลั่งฮอร์โมนเมลาโนนินมีปัญหาจะส่งผลต่อการหลั่งของฮอร์โมนลูทิไนซิง (Luteinizing Hormone) หรือ ฮอร์โมน LH ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ เพื่อรอการปฏิสนธิ LH เป็นฮอร์โมนหนึ่งที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่มีการตกไข่ของรอบเดือนนั้นๆ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติก็จะส่งผลต่อรอบเดือนที่ไม่ปกติ ส่งผลให้ไข่ไม่ตก หรือ ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากนั่นเอง และยังส่งผลต่อการผลิตสเปิร์มของผู้ชายอีกด้วย
สำหรับผู้ชายที่นอนน้อยหรือหลับไม่สนิท ทำให้การสร้างฮอร์โมนเพศชายหรือ Testosterone ลดลง ทำให้การสร้างสเปิร์มลดลง สเปิร์มมีรูปร่างผิดปกติ เคลื่อนที่ผิดปกติ และอาจมีโครโมโซมผิดปกติได้ เมื่อนอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน จะส่งผลให้หลับไม่สนิท ฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin Hormone) น้อยลง ระดับคอร์ติซอล (cortisol) มากขึ้น โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ลดลง โดยผู้ชายที่นอนน้อยกว่า 6 ชม.หรือมากกว่า 9 ชม.ต่อวัน ส่งผลต่อโอกาสในการทำให้คู่ของตนเองตั้งครรภ์ลดลง 42% ในแต่ละรอบเดือน
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย Sleep Deprivation and Late Bedtime Impair Sperm Health Through Increasing Antisperm Antibody Production: A Prospective Study of 981 Healthy Men ที่ตีพิมพ์ในวารสาร medical science monitor 2017 ศึกษากับผู้ชายชาวจีนจำนวน 981 คน พบว่า จำนวนชั่วโมงในการนอนและการนอนดึกส่งผลต่อ คุณภาพของสเปิร์มทั้งในด้านจำนวน เปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหว และอัตราการมีชีวิตของสเปิร์ม
“ครูก้อย นัชชา” ได้ให้คำแนะนำสำหรับคู่สามีภรรยาที่วางแผนมีลูกและมีปัญหาการนอนไม่หลับ เพราะนอกจากส่งผลต่อฮอร์โมนสืบพันธุ์แล้ว ในอนาคตอาจจะสร้างความวิตกกังวล และลามไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ พร้อมแนะนำวิธีแก้ปัญหานอนไม่หลับ โดยการกำหนดเวลาเข้านอนชัดเจน ในช่วงแรกแนะนำให้ฝึกไปจนกว่าร่างกายจะปรับเวลานอนได้เอง หลีกเลี่ยงการทานอาหารก่อนเข้านอน หากิจกรรมทำผ่อนคลายก่อนนอน ทำสมาธิ สวดมนต์ หรือปรับสภาพแวดล้อมการนอนให้ดี ฝึกการนอนที่ถูกสุขลักษณะ เช่นไม่มีเสียงรบกวน ปิดโทรทัศน์ ปิดมือถือ ปิดไฟ สร้างบรรกาศการนอนที่ผ่อนคลาย การรับประทานอาหาร ผัก และผลไม้บางชนิดยังมีส่วนช่วยให้หลับง่ายขึ้น เช่น
1.ข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก ข้าวที่ไม่ขัดสี ซึ่งมีกรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก (Gamma aminobutyric acid : GABA) โดย กาบา จะมีอยู่ในข้าวที่ไม่ขัดสี หรือ พวกข้าวกล้องทุกสาย ซึ่งกาบาเป็นสารสื่อประสาทยับยั้งหลักในระบบประสาทส่วนกลางของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีบทบาทในการกระตุ้นเซลล์ประสาทในระบบสมองของมนุษย์ นอกจากนี้ GABA ยังมีหน้าที่ควบคุมความตึงของกล้ามเนื้ออีกด้วย และช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียด ส่งผลให้การหลั่งฮอร์โมนเพศสมดุลขึ้น ควบคุมการตกไข่ในผู้หญิง และควบคุมการผลิตสเปิร์มในผู้ชายให้ดีขึ้น
2.L-Theanine สารสกัดจากชาเขียวชั้นดี สายพันธุ์ เกียวกุโระ ได้รับการรับรอง จาก Generally recognized as safe (GRAS) ผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา ( FAD) ว่าสามารถใช้เติมลงไปในอาหารได้ โดยสารที่ได้รับรองว่า เป็น GRAS ส่วนใหญ่ จะไม่จำกัดปริมาณการใช้ แต่จะให้ใช้เท่าที่จำเป็น เป็นไปตาม GMP และมีรายงานการวิจัยจาก S. Kim et al., 2019 ศึกษาพบว่า การรับประทานกาบา (GABA) ร่วมกับแอลธีอะนีน (L-Theanine) ) สารสกัดจากชาเขียว จะช่วยลดเวลาแฝงในการนอนหลับและเพิ่มระยะเวลาในการนอนหลับ ทำให้ ผ่อนคลาย หลับลึก และหลับสบายขึ้น เมื่อเทียบกับการรับประทานกาบา (GABA) หรือ แอลธีอะนีน (L-Theanineเพียงอย่างเดียว และจากการศึกษายังพบว่า L-Glutamine ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสารกาบา (GABA) ที่ทำหน้าที่สารสื่อประสาท ช่วยให้สมองสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth hormones) มากขึ้นถึง “4 เท่า” ช่วยให้หลับสนิทมากขึ้น และ สดชื่นมากขึ้นเมื่อตื่น ลดความเครียด และป้องกันภาวะซึมเศร้า ลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และฟื้นฟูเซลล์กล้ามเนื้อ
3.แบล็คเคอร์แรนท์ เป็นหนึ่งในตระกูลเบอร์รี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ราชาตระกูลเบอร์รี” เพราะอุดมไปด้วยวิตามินสูง มีสารแอนโทไซยานิน ซึ่งสารนี้เป็นตัวทำให้ผลไม้มีสีดำมีสารต้านอนุมูลอิสระ โดยอนุมูลอิสระส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของสเปิร์ม เซลล์ไข่ และโรคทางสูตินรีเวชบางชนิดซึ่งส่งผลให้มีบุตรยาก และยังเป็นการลดอัตราความสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีเจริญพันธุ์ทางการแพทย์อีกด้วย จากงานวิจัยของ akaishi & Colleagues from the University of Tsukuba, Tokyo, Japan พบว่าการรับประทานแบล็คเคอร์แรนท์ที่ให้แอนโธไซยานิน 50 มิลลิกรัมขึ้นไปเป็นระยะเวลาติดต่อกัน สามารถช่วยบรรเทาอาการเมื่อยล้า เนื่องจากใช้สายตานานๆ ได้และยังช่วยให้สายตาทำงานดีขึ้นในที่มืด ช่วยปรับปรุงการไหลเวียนโลหิตส่วนปลาย เช่น ปลายมือ-ปลายเท้าเย็น ช่วยลดความหมองคล้ำรอบดวงตา ช่วยปกป้องไม่ให้เกิดความเครียดอันเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับ ทำให้นอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มอิ่มมากขึ้น
4.องุ่นดำ (Black Grape) เป็นองุ่นชนิดหนึ่งที่มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน หรือหวานกรอบ เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ กลิ่นหอม และ มีคุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาหลายอย่าง ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเมลาโทนินในสมองของมนุษย์ ซึ่งควบคุมวงจรการนอนหลับ-ตื่น และทำให้กระบวนการนอนหลับง่ายขึ้น ช่วยในการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินที่เหมาะสม ช่วยบรรเทาอาการเจ็ทแล็ก โรคระยะการนอนหลับที่ล่าช้า และการนอนไม่หลับมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอวัย และช่วยเพิ่มระดับสารแอนตี้ออกซิแดนท์ในเลือด ช่วยการทำงานของหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจให้ดีขึ้น
5.ทับทิม โดยในทับทิมมีเมลาโทนินที่ช่วยควบคุมวงจรการนอนหลับและตื่นที่มีความสำคัญต่อสุขภาพการนอนหลับ มีวิตามินซีซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการนอนหลับที่ดีที่สุด ส่งเสริมรูปแบบการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพและช่วยให้นอนหลับได้อย่างง่ายดาย อุดมไปด้วยโพแทสเซียม และสารต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส จึงสามารถใช้ป้องกันโรคติดเชื้อต่าง ๆ ได้ อุดมไปด้วยโฟเลต (วิตามิน B9 ) ที่จะมีน้อยในผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ อีกทั้งยังอุดมด้วยของแมกนีเซียมสามารถช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ และปรับปรุงประสิทธิภาพการนอนหลับ เวลานอนหลับ และการเริ่มต้นการนอนหลับ ช่วยลดความวิตกกังวล ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการนอนไม่หลับ นอกจากนี้ในเปลือกทับทิมยังมีกรดเอลลาจิแทนนินมีส่วนช่วยลดอาการอักเสบได้ดี ซึ่งการทดลองพบว่าสารดังกล่าวสามารถยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของหลอดเลือดต่างๆ ในร่างกาย เมื่อจุดต่างๆ เกิดการอักเสบได้ดี ซึ่งการอักเสบในร่างกายส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก
โดยมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproductive Science เมื่อปี 2011 ศึกษาพบว่า การอักเสบเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคทางสูติศาสตร์ (Gyneological disease) ซึ่งการอักเสบ (Inflammation) ส่งผลต่อการตกไข่และการสร้างฮอร์โมนรวมไปถึงเกี่ยวข้องกับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีบุตรนั้นการอักเสบมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะต่างๆ ทั้ง เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ , ภาวะถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS) , ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ,ซีสต์รังไข่ หรือ เนื้องอกในโพรงมดลูก ,รังไข่เสื่อม วัยทองก่อนวัย , เซลล์ไข่และเซลล์สเปิร์มที่ด้อยคุณภาพ และ การที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรือแท้งในระยะเริ่มต้นอีกด้วย
โดยผู้มีบุตรยากที่มีปัญหานอนไม่หลับ หากไม่สามารถปรับเวลานอนได้ด้วยตัวเอง สามารถเลือกทานอาหารเสริมจากสารสกัดธรรมชาติที่รวบรวมสารสกัดจาก ฟาร์มากาบา (Pharmagaba), แอล-ธีอะนีน (L-Theanine), แอล-กลูตามีน (L-Glutamine), แมกนิเซียมอมิโนแอซิคคีแลต (Magnesium Amino Acid Chelate), แบล็กคอแรนต์ (Blackcurrant) , สารสกัดจากทับทิม (Pomegranate Extract) , สารสกัดจากองุ่นดำ (Black Grape) รวมถึงวิตามินบี6 และ บี12 ที่ล้วนแล้วช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เพื่อลดการใช้ยานอนหลับโดยไม่จำเป็น สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.babyandmom.co.th/all-products/night-shot- หรือปรึกษาการเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยากกับครูก้อยโดยตรงผ่านทางไลน์แอด: @Babyandmom.co.th