ดอกเบี้ยรถมือสอง ดอกเบี้ยเช่าซื้อ ตลาดรถปี 2566 ตลาดรถมือสอง

4 กูรูวงการรถมือสองคาดตลาดรถปี 2566 คึกคักรับดอกเบี้ยเช่าซื้อรถเป็นเงื่อนไขแบบใหม่

ขณะนี้บุคคลในวงการรถยนต์ใช้แล้ว หรือ วงการรถยนต์มือสอง ได้มีการระดมความคิดเห็น และแชร์ข้อมูลร่วมกันเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดรถยนต์ในปี พ.ศ.2566 ภายหลังการปรับเงื่อนไขดอกเบี้ยเช่าซื้อรถให้เป็นเงื่อนไขใหม่ที่จะมีการยึดตามประกาศกฎหมายใหม่ในเรื่องสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่จะมีผลบังคับใช้ต้นปีหน้า พ.ศ.2566 ซึ่งมีกระแสข่าวออกมาแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้มีการวิเคราะห์ในประเด็นดังกล่าวว่า ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนี้ที่ว่า จะมีใครได้ประโยชน์ และจะมีใครเสียประโยชน์นั้น ได้มีบุคคลผู้เชี่ยวชาญจากแวดวงยานยนต์คนดังจากหลายฝ่ายของวงการรถยนต์ใช้แล้วได้มีการได้แชร์ข้อมูลร่วมกัน เช่น…

Home / PR NEWS / 4 กูรูวงการรถมือสองคาดตลาดรถปี 2566 คึกคักรับดอกเบี้ยเช่าซื้อรถเป็นเงื่อนไขแบบใหม่

ขณะนี้บุคคลในวงการรถยนต์ใช้แล้ว หรือ วงการรถยนต์มือสอง ได้มีการระดมความคิดเห็น และแชร์ข้อมูลร่วมกันเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดรถยนต์ในปี พ.ศ.2566 ภายหลังการปรับเงื่อนไขดอกเบี้ยเช่าซื้อรถให้เป็นเงื่อนไขใหม่ที่จะมีการยึดตามประกาศกฎหมายใหม่ในเรื่องสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่จะมีผลบังคับใช้ต้นปีหน้า พ.ศ.2566 ซึ่งมีกระแสข่าวออกมาแล้วก่อนหน้านี้

ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้มีการวิเคราะห์ในประเด็นดังกล่าวว่า ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนี้ที่ว่า จะมีใครได้ประโยชน์ และจะมีใครเสียประโยชน์นั้น ได้มีบุคคลผู้เชี่ยวชาญจากแวดวงยานยนต์คนดังจากหลายฝ่ายของวงการรถยนต์ใช้แล้วได้มีการได้แชร์ข้อมูลร่วมกัน เช่น

นายณัฐวุฒิ ไพศาลวิภัชพงศ์ กรรมการ บริษัท คาร์โฟร์ชัวร์ และผู้ร่วมก่อตั้ง “เว็บไซต์ Car4sure”ซึ่งเป็นเว็บไซต์ซื้อขายรถยนต์มือสองชื่อดังระดับชั้นแนวหน้าของเมืองไทย ,นายเดชณรงค์ สฤษดิ์เวชวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท คาร์โฟร์ชัวร์ จำกัด และผู้ร่วมก่อตั้ง“เว็บไซต์ Car4sure”,นายรังสรรค์ สฤษดิ์เวชวรกุล ประธานชมรมรถสวยกาญจนา ,นายภาคภูมิ ภู่กาญจน์ (คุณปอนด์ คอนเนค) สื่อมวลชนสายยานยนต์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง Influencer (อินฟลูเอนเซอร์) นักทำคอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์คนดัง เป็นต้น

โดยนายณัฐวุฒิ ไพศาลวิภัชพงศ์ กรรมการ บริษัท คาร์โฟร์ชัวร์ และผู้ร่วมก่อตั้ง “เว็บไซต์ Car4sure”ซึ่งเป็นเว็บไซต์ซื้อขายรถยนต์มือสองชื่อดังระดับชั้นแนวหน้าของเมืองไทย เปิดเผยว่าจากกรณีที่ในปี พ.ศ.2566 จะมีการปรับเงื่อนไขดอกเบี้ยเช่าซื้อรถเป็นเงื่อนไขใหม่ที่จะมีการยึดตามประกาศกฎหมายใหม่ในเรื่องสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่จะมีผลบังคับใช้ต้นปีหน้า พ.ศ.2566 ดังกล่าวนั้น

ซึ่งเนื้อหาด้านในมีอยู่หลายส่วนที่มีการปรับเปลี่ยนแต่ส่วนที่ประชาชนทั่วไปสนใจจริงๆ จะมีอยู่เพียง 2-3 ประเด็น ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นเรื่องของการควบคุมเพดานดอกเบี้ย ซึ่งประกาศฉบับใหม่ครอบคลุมทั้งรถยนต์ใหม่ , รถมือสอง และ จักรยานยนต์ ซึ่งเรื่องนี้ทาง Car4sure ขอวิเคราะห์เฉพาะในส่วนของรถยนต์เป็นหลักโดยเรามองว่า

ตอนนี้หลายคน ยังคงเข้าใจว่า กฎหมายฉบับใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดอัตราดอกเบี้ยจากเดิม ให้เป็นแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) แต่จริงๆ แล้ว เนื้อหาสาระของกฎหมายฉบับใหม่นี้ วิธีการคำนวณดอกเบี้ย และค่างวด (ทั้งรถใหม่,รถเก่า) ยังคงเป็นแบบเดิม คือ อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) เพียงแต่ต้องมีการแจกแจงให้ลูกค้ารับทราบ ว่า ถ้าแปลงวิธีคิดคำนวณเป็นแบบลดต้นลดดอก จะมีอัตราดอกเบี้ยที่เท่าไร เพราะฉะนั้นวิธีการคิดคำนวณค่างวด รวมถึงวิธีการชำระเงินค่างวด ยังคงเป็นแบบเดิมที่เคยทำกันตามปกติ คือ ต้องจ่ายเท่ากันทุกงวด

แต่สาระสำคัญที่เพิ่มเติมมา ก็คือ เพดานดอกเบี้ยสูงสุดแต่ละประเภท มีดังนี้

รถใหม่ เมื่อแปลงเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) แล้วต้องไม่เกิน 10% รถมือสอง เมื่อแปลงเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) แล้วต้องไม่เกิน 15% จักรยานยนต์ เมื่อแปลงเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) แล้วต้องไม่เกิน 23%

ซึ่งในส่วนของจักรยานยนต์ อาจจะได้รับผลกระทบเยอะ แต่ในส่วนของรถยนต์ทั้งรถใหม่ และรถมือสอง ไม่ค่อยได้รับผลกระทบมากนักเนื่องจากอัตราดอกเบี้ย ณ ปัจจุบัน ไม่ได้สูงเกินกว่าเพดานที่กฎหมายใหม่กำหนดอยู่แล้ว ซึ่งถ้าคิดคำนวณจากสูตรโดยคร่าวๆ ของการแปลงอัตราดอกเบี้ยจากอัตราคงที่ไปเป็นอัตราลดต้นลดดอก จะใช้วิธีคูณด้วยตัวเลข 1.8 เช่น อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5% ก็จะเท่ากับ 9% ในแบบลดต้นลดดอก

ดังนั้นเมื่อแปลงค่ากลับเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่แล้ว เพดานดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศฉบับใหม่ จะเป็นดังนี้

รถใหม่ อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ต้องไม่เกิน 5.55%

รถมือสอง อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ต้องไม่เกิน 8.33%

จักรยานยนต์ อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ต้องไม่เกิน 12.78%

ซึ่งปกติรถมือสองในอดีต หากเป็นรถยนต์ที่อายุรถไม่เกิน 12 ปี อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงระหว่าง 2.79-7.9 ถ้าเป็นรถมือสองที่อายุน้อยๆ เช่นไม่เกิน 7 ปี ส่วนใหญ่ทุกวันนี้ก็ดอกเบี้ยแค่ 2.79 – 5.9% กันอยู่แล้ว

ดังนั้นเพดานอัตราดอกเบี้ยใหม่นี้ก็แทบไม่ได้มีผลอะไรอยู่แล้วอาจจะมีแค่บางส่วนที่เป็นรถอายุเกิน 12 ปี ที่อาจจะได้รับผลกระทบ แต่รถส่วนใหญ่ในเว็บ Car4sure คาร์โฟร์ชัวร์ ก็รถปีเก่ามีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่ ลูกค้ารถกลุ่มนี้ มักซื้อเงินสดมากกว่า ก็คิดว่าเรื่องเพดานดอกเบี้ยกฎหมายใหม่นี้ ไม่ได้กระทบกับรถมือสองของ Car4sure เท่าไร

นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า หากมองถึงข้อดี ของกฎหมายฉบับใหม่ ที่มีผลต่อลูกค้า ผมมองว่าจะเป็นประเด็นเรื่องของการให้ส่วนลด เมื่อปิดบัญชี และการคิดอัตราค่าปรับล่าช้าที่ปรับลดลงมาเยอะ น่าจะทำให้ตลาดต้นปีหน้าคึกคักมากเลยทีเดียว ทั้งรถใหม่ และรถมือสอง โดยจากเดิม หากลูกค้าผ่อนไประยะนึงแล้ว มีความประสงค์จะจ่ายเงินทั้งก้อนเพื่อปิดบัญชีเคลียร์หนี้เก่าที่เหลือ แบบจ่ายครั้งเดียวหมด ก็จะได้รับส่วนลดดอกเบี้ยกันอยู่แล้ว ปกติไฟแนนซ์ทั่วไปจะให้ส่วนลดที่ 50% ของดอกเบี้ยส่วนที่เหลือที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่ในกฎหมายใหม่นี้ จะกำหนดชัดเจน โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลาตามที่เป็นข่าว นั่นก็แปลว่า เมื่อผ่อนไปถึงช่วงใดช่วงหนึ่งแล้ว ลูกค้าจะมีทางเลือกที่จะประหยัดดอกเบี้ยในอนาคตได้ ด้วยการชำระเงินก้อนทั้งหมดเพื่อปิดบัญชี

ซึ่งมุมนี้ ผมว่าเป็นผลดี ต่อตลาดรถ เพราะปัจจุบันนี้ลูกค้าบางส่วนที่ไม่อยากเสียดอกเบี้ยเยอะ มักเลือกซื้อรถด้วยเงินสดการมีทางเลือกทั้ง 3 แบบใหม่ ที่ให้ส่วนลดมากถึง 60% 70% และ 100% ตามลำดับ นับว่าสร้างความน่าสนใจแก่ผู้บริโภคไม่น้อยเชื่อว่าจะดึงดูดกลุ่มลูกค้าเงินสด ให้หันมาซื้อแบบเงินผ่อนได้มากเลยทีเดียว

ส่วนข้อดีในมุมของผู้ประกอบการ ก็ต้องยอมรับว่าในช่วง 2 เดือนสุดท้ายนี้ คงจะเกิดภาวะตลาดสะดุดชั่วคราว เนื่องจากจะเหลือเฉพาะลูกค้าเงินสดที่ยังคงเลือกซื้อรถในสองเดือนสุดท้าย ก่อนมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ส่วนลูกค้าที่ตั้งใจจะซื้อเงินผ่อน เชื่อว่าจะรอต้นปีหน้าซึ่งแน่นอนว่า ตลาดต้นปีหน้าคึกคักเกินปกติแน่นอน เนื่องจากแรงซื้อของปลายปี 2565 คงจะไปทะลักกันเดือนมกราคมทีเดียวเลย

นายณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่า และอีกเรื่องคือ อัตราค่าปรับล่าช้า จากเดิมที่แต่ละไฟแนนซ์อาจคิดค่าปรับไม่เท่ากัน ต่อไปนี้ก็จะลดเหลือไม่เกิน 5% ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อตลาดรถโดยรวมเช่นกันเมื่อมองถึงข้อดีแล้ว ก็แน่นอนว่าเราต้องไม่ลืมถึงข้อด้อย ที่อาจจะส่งผลกระทบเช่นกันเพราะภาคส่วนที่มีผลโดยตรงจริงๆ คือ เจ้าหนี้ หรือผู้ให้เช่าซื้อ ที่อาจจะต้องคิดคำนวณความเสี่ยงในการทำธุรกิจกันใหม่ รวมถึงมีต้นทุนบางอย่างเพิ่มขึ้น

และอาจสูญเสียรายได้บางส่วนไป เช่น ปริมาณดอกเบี้ย หรือ ค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมถึงต้องคำนวณความเสี่ยงที่จะเกิด NPL หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มากขึ้น หากกฎหมายใหม่เอื้อให้ลูกหนี้มีความได้เปรียบเจ้าหนี้มากกว่าเดิม

นายณัฐวุฒิ กล่าวในตอนท้ายว่า ดังนั้นเราคงต้องรอดูภาพที่เกิดขึ้นจริงอีกที ในปีหน้าว่า คุณภาพของลูกหนี้จะดีขึ้นหรือแย่ลง รวมถึง NPL จะมีปริมาณมากขึ้น หรือ ลดลงอย่างไรซึ่งหากเป็นไปในทิศทางที่ดี บรรดาเจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินต่างๆ คงจะสู้ตลาดกันต่อ ก็คงไม่มีผลอะไรแต่ถ้าเกิดมี NPL สูงขึ้น หรือคุณภาพของลูกหนี้แย่ลง เนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ ก็คงจะทำให้สถาบันการเงินต่างๆ ต้องออกมาตรการที่รัดกุมมากขึ้นในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ ซึ่งแน่นอนว่าทั้งลูกค้าและผู้ประกอบการรถยนต์เองคงไม่ชอบใจแน่ๆ เพราะจะทำให้แรงซื้อในตลาดลดลง และการเข้าถึงสินเชื่อในระบบของลูกค้าอาจมีความยากมากขึ้น และจะกระทบต่อวงจรธุรกิจรถยนต์ทั้งระบบอย่างแน่นอน

ด้านนายเดชณรงค์ สฤษดิ์เวชวรกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท คาร์โฟร์ชัวร์ จำกัด และผู้ร่วมก่อตั้ง“เว็บไซต์ Car4sure” กล่าวในประเด็นดังกล่าวเกี่ยวกับการวิเคราะห์ท่าที่ของสถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อว่า จะหาทางออกกับเงื่อนไขกฏเกณฑ์ใหม่นี้อย่างไร? ซึ่งเรื่องนี้ นายเดชณรงค์ กล่าวว่า เรื่องที่เกี่ยวกับกับสถาบันการเงินคงต้องรอดูภาพรวมของทั้งตลาดรถยนต์ตลอดทั้งปี 2566 ถึงจะประเมินได้ว่าสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ จะยังคงมีนโยบายเหมือนเดิม หรือจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆหรือไม่

เนื่องจากกฎหมายใหม่ พึ่งจะเริ่มใช้ต้นปีหน้ากว่าที่แต่ละไฟแนนซ์จะมองเห็นผลประกอบการ หรือ มองเห็นคุณภาพของลูกหนี้ ล็อตใหม่ อาจจะต้องรอถึงประมาณกลางๆ ปี 2566 ซึ่งในความเป็นจริง สถานการณ์อาจจะไม่ได้น่าวิตก เพราะมีโอกาสที่ลูกหนี้ชั้นดี จะไหลเข้าสู่พอร์ตเช่าซื้อมากขึ้น จากเดิมที่บางส่วนหันไปซื้อเงินสด เนื่องจากประกาศฉบับใหม่นี้ให้ส่วนลดดอกเบี้ยค่อนข้างมากแก่ลูกค้าที่ปิดบัญชีก่อนกำหนด

การที่บางไฟแนนซ์จะเลือกปรับเปลี่ยนนโยบายการปล่อยสินเชื่อในเวลานี้ อาจทำให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน จึงคิดว่าทุกไฟแนนซ์ยังคงนโยบายเช่นเดิม

“เท่าที่ผมได้คุยกับหลายๆ ไฟแนนซ์ จริงๆ เขาเองก็มีแผนสำรองเตรียมไว้อยู่แล้ว หากมีระดับของหนี้เสียที่สูงขึ้น หรือคุณภาพของลูกหนี้เปลี่ยนไปแต่เราคงไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลเชิงลึก ณ ตอนนี้ได้ และโดยส่วนตัวเชื่อว่า นโยบายต่างๆของทุกไฟแนนซ์ยังคงเหมือนเดิม ไปจนถึงกลางปี 2566”คุณเดชณรงค์ กล่าว

ด้านคุณรังสรรค์ สฤษดิ์เวชวรกุล ประธานชมรมรถสวยกาญจนา กล่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า กับนโยบายดอกเบี้ยใหม่ตัวนี้ที่ออกมาจะทำให้ผู้ที่เป็นเจ้าของรถ และครอบครองรถปีเก่าๆ (เกิน10 ปีขึ้นไป) ที่ใช้อยู่ได้รับผลกระทบอย่างไร? ซึ่งตรงจุดนี้ตนมองว่า แน่นอนว่าหากไฟแนนซ์ ไม่ให้การสนับสนุนสินเชื่อรถปีเก่า เหมือนในอดีต ก็ย่อมทำให้ผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้ว ในกลุ่มรถปีเก่ามีปรับเปลี่ยนนโยบายการซื้อรถเข้าก็ย่อมทำให้ราคารับซื้อลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งในมุมมองส่วนตัว หากสถานการณ์แบบนี้ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนโดยธรรมชาติ ก็อาจมีเวลาให้ทั้งผู้ประกอบการ และผู้ที่ครอบครองรถยนต์ทั่วไป ได้มีเวลาปรับตัว โดยไม่เกิดภาวะช็อคตลาด หรือที่เรียกว่า Panic

แต่หากเรื่องนี้ สื่อจะหยิบยกมาเป็นประเด็นทางสังคมที่ทำให้เกิด Panic หรือภาวะช็อคตลาด อาจส่งผลเสียทั้งระบบเป็นลูกโซ่ ทั้งรถใหม่ รถเก่าจะได้รับผลกระทบกันหมด หากเราทำให้เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่าผู้ประกอบการทั้งรถใหม่และรถเก่า คงรู้สึกไม่สบายใจแน่ๆ หากเกิดภาวะ Panic เช่นในอดีต เพราะอย่าลืมว่าการที่รถยนต์ใหม่หรือรถมือสองจะขายได้นั้น ย่อมเกิดจากการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

หากลูกค้าไม่สามารถขายรถคันเก่าออกไปได้ หรือ ขายคันเก่าออกไปได้ยาก ย่อมจะซื้อรถคันใหม่โดยสะดวกไม่ได้ และหากรถยนต์ใหม่ขายได้น้อย ก็ทำให้สินค้าที่จะเข้ามาในระบบของรถมือสอง เกิดสะดุดอีก

ซึ่งบทเรียนในอดีตเป็นสิ่งที่เตือนใจ พวกเราทุกคนว่า เราคงจะไม่อยากให้เกิดบรรยากาศที่เป็นเชิงลบต่อตลาดโดยรวมอีก

ด้านนายภาคภูมิ ภู่กาญจน์ (คุณปอนด์ คอนเนค) สื่อมวลชนสายยานยนต์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง Influencer (อินฟลูเอนเซอร์) นักทำคอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์คนดัง กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า ผมเชื่อว่า ยังมีลูกค้าหลายๆ คน ยังคงตั้งคำถามในใจ เช่นกันว่า กับเงื่อนไขดอกเบี้ยใหม่นี้ ถ้าให้เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยระหว่างผู้ประกอบการรถใช้แล้ว กับผู้ประกอบการรถป้ายแดงว่า ถ้านโยบายเรื่องดอกเบี้ยออกมาใหม่จะสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าเลือกซื้อรถกับผู้ประกอบการแบบไหนมากกว่ากัน

ซึ่งตรงนี้ในมุมมองของผมมองว่า กับประกาศฉบับใหม่เกี่ยวกับการควบคุมสัญญาเช่าซื้อในปี 2566 ที่จะถึงนี้นั้น คือเป็นประกาศที่ ครอบคลุมทั้งรถยนต์ใหม่ และรถยนต์เก่า รวมถึงจักรยานยนต์ทั้งใหม่ และเก่า เพราะฉะนั้น ด้วยเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ถูกกำหนดมาใหม่นั้น ในส่วนของรถยนต์มองว่าทั้งรถใหม่ป้ายแดง และรถยนต์มือสอง จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากเพดานอัตราดอกเบี้ยใหม่ ไม่ได้แตกต่างจากเมื่อก่อนมากมายเท่าไรนัก และกลุ่มลูกค้าของทั้งรถยนต์ใหม่ และรถมือสอง ยังคงเป็นคนละกลุ่มกัน

ผมเชื่อว่า กลุ่มลูกค้าที่ตั้งใจจะซื้อรถใหม่ ก็คงจะเลือกดูรถใหม่เหมือนเดิม ส่วนกลุ่มที่เล็งจะซื้อรถมือสองอยู่แล้ว ก็คงจะเลือกดูรถมือสองเหมือนเดิมเช่นกัน

แต่ทั้งนี้ และทั้งนั้นในส่วนของธุรกิจไฟแนนซ์ต่อไปผมคาดว่าต่อไปในส่วนของธุรกิจไฟแนนซ์ ส่วนใหญ่น่าจะหันมาโฟกัสรถยนต์ที่ปีใหม่มากขึ้น เนื่องจากรถปีเก่าโดนควบคุมเพดานดอกเบี้ยไว้แล้ว รถยนต์ปีเก่าที่อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เกินเพดานควบคุม จะยังคงไม่มีผลกระทบอะไร แต่ถ้ารถปีเก่ามากๆ จนหาไฟแนนซ์ปล่อยสินเชื่อให้ไม่ได้แล้ว ผู้ประกอบการขายรถมือสองก็คงต้องรอขายลูกค้าที่ซื้อเงินสดอย่างเดียว ก็เป็นไปได้ที่ราคารถยนต์มือสองในกลุ่มที่หาไฟแนนซ์จัดให้ไม่ได้ นั้นราคาจะร่วงบ้าง แต่เชื่อว่าไม่ได้ร่วงในทันทีทันใด แต่ราคาจะค่อยๆปรับลดลงไปตามกลไกตลาด คาดว่าอย่างน้อยก็ใช้เวลาประมาณ 1 ปี แต่ก็ถือว่าผู้ประกอบการที่เล่นรถปีเก่ายังพอมีเวลาได้ปรับสต็อกให้รถอายุใหม่ขึ้น แต่ก็อาจมีสินค้าบางส่วนที่กำไรลดลง หรือไม่ได้กำไร เนื่องจากความต้องการซื้อรถปีเก่าอาจลดลง แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น นี่ก็เป็นเพียงการวิเคราะห์ตลาดในเบื้องต้นเท่านั้น เพราะปัจจุบันรถปีเก่ามากๆ ที่ไฟแนนซ์ไม่รับจัดไฟแนนซ์ แล้วแต่ลูกค้ายังอยากซื้อมาใช้งานด้วยเงินสดอยู่ก็ยังมีอยู่ในตลาดเยอะมาก ดังนั้นคงจะรอดูความชัดเจนของตลาดในปีหน้าต่อไปด้วยเช่นกัน