พื้นที่น้ำบนโลกมีแค่ 3% ที่สามารถใช้ได้…แบบนี้อนาคตเราจะมีน้ำใช้หรือไม่ และจะต้องบริหารจัดการอย่างไร?

ติดตามการไขความคิด พิชิตความลับของสายน้ำกับ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในกิจกรรมวันน้ำโลก

Home / PR NEWS / พื้นที่น้ำบนโลกมีแค่ 3% ที่สามารถใช้ได้…แบบนี้อนาคตเราจะมีน้ำใช้หรือไม่ และจะต้องบริหารจัดการอย่างไร?

ติดตามการไขความคิด พิชิตความลับของสายน้ำกับ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้กล่าวในรายการพิเศษเนื่องในกิจกรรมวันน้ำโลก ประจำปี 2565 ทาง FB Live สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และ YouTube : https://www.youtube.com/watch?v=XRSEY5vQANQ&t=3s

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เปิดเผยว่า ภารกิจการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ โดยพื้นที่ในโลกจะแบ่งเป็นพื้นดิน และพื้นน้ำ และพื้นน้ำจะเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก คือ 2 ใน 3 ส่วน แต่น้ำก็แบ่งออกเป็นสองส่วนเช่นกัน คือในส่วนของน้ำจืด และน้ำทะเล น้ำเค็ม ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนใหญ่ซึ่งแบ่งเป็นสัดส่วนได้ถึง 97% ส่วนที่เป็นน้ำจืดแบ่งเป็น 3% เท่านั้น เพราะฉะนั้นในส่วนน้ำจืดที่มีนั้นเราต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เรามาดูกันว่าในประเทศไทยในแต่ละปี มีสถิติฝนตก ถ้าคิดเป็นปริมาณน้ำ จะคิดได้เป็นปริมาณน้ำ 760,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เราไม่สามารถจะเก็บปริมาณฝนได้ทั้งหมดไว้ได้

เรามีการพัฒนารูปแบบของการกักเก็บน้ำในรูปแบบของเขื่อนเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ สระน้ำ บ่อน้ำ หรือสิ่งก่อสร้างที่จะกักเก็บน้ำ มีศักยภาพเก็บน้ำได้ แปดหมื่นหนึ่งล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีปริมาณฝนที่เข้าไปเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำเฉลี่ยปีหนึ่งก็สี่หมื่นแปดพันล้านลูกบาศก์เมตร ถือเป็น 6% ของปริมาณฝนที่ตกลงมา อีกส่วนจะซึมลงไปเป็นน้ำใต้ดินอยู่ที่ประมาณ 10% ของปริมาณฝนที่ตกลงมาในแต่ละปี ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องบริหารจัดการน้ำตรงนี้ ทั้งน้ำบนฟ้า น้ำบนดิน น้ำใต้ดิน เพราะในสภาพอากาศของโลกในตอนนี้ ที่เรียกว่า โลกรวน ทำให้ฝนตกใต้เขื่อนบ้าง ไม่ตกเหนือเขื่อน เลยต้องมีการบริหารจัดการเพื่อลดการเกิดอุทกภัย และมีการเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง การใช้น้ำในภาคการเกษตรที่มีความต้องการสูงสุด หรือการใช้น้ำในภาคอื่นๆ อาทิ ภาคอุปโภค บริโภค ภาคอุตสาหกรรม การรักษาระบบนิเวศน์ โดยเป็นการเอาน้ำมาผลักน้ำเค็ม เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ เพราะฉะนั้นในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ จึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยทาง สทนช. เองก็เป็นผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำและปลายน้ำเลย

สำหรับน้ำใต้ดินที่มีจำนวนหนึ่งล้านลูกบาศก์เศษๆ แต่เราก็ไม่สามารถนำน้ำที่มีอยู่มาใช้ได้ทั้งหมด ต้องดูศักยภาพที่เอามาใช้ได้จริงๆ มีแค่ สี่หมื่นกว่าล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เพราะในส่วนนี้ก็จะมีในส่วนของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ซึ่งจะมีการวิเคราะห์ปริมาณน้ำใต้ดิน ทีมีอยู่ใต้ดิน แล้วก็มีศักยภาพการดึงน้ำใต้ดินออกมาใช้เพื่อให้เกิดความสมดุล การเก็บกักน้ำที่มีการเก็บไว้ สี่หมื่นกว่าล้านลูกบาศก์เมตร ในแหล่งเก็บน้ำที่มีในแต่ละปี ไม่เพียงพอกับความต้องการในการใช้น้ำที่มีสูงถึงหนึ่งแสนกว่าล้าน ซึ่งในส่วนนี้ต้องการพัฒนานำน้ำใต้ดินมาใช้เพิ่มเติม หรือนำน้ำจากแม่น้ำลำคลอง ที่เป็นน้ำท่า ที่มีปริมาณมาก นำมาใช้เพื่อให้เกิดความสมดุลในการต้องใช้น้ำ ไม่ให้เกิดการขาดแคลนน้ำ โดยแหล่งน้ำใต้ดินถือว่าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่สามารถพัฒนาได้ และในส่วนของน้ำใต้ดินเองเป็นแหล่งน้ำที่สามารถรักษาระบบนิเวศน์ได้ด้วย ถ้ามีปริมาณน้ำใต้ดินมากก็จะเกิดความชุ่มชื้นในบริเวณต่างๆ ด้วย ในส่วนนี้ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญของน้ำใต้ดิน และต้องให้ความสำคัญในการนำมาใช้ด้วย

ปีนี้วันน้ำโลกให้ความสำคัญในเรื่องน้ำใต้ดินเป็นอย่างมาก น้ำใต้ดินของประเทศไทย มีศักยภาพสูงในการนำมาใช้ แต่อย่างไรก็ตามปริมาณฝนที่ตกลงมาที่จะซึมลงไปเป็นน้ำใต้ดิน นับเป็น 10% ของปริมาณฝน ได้มีการบริหารจัดการโดยการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน ก็เป็นส่วนหนึ่งในการเติมเต็มน้ำใต้ดินให้มีปริมาณน้ำที่มากขึ้น ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพน้ำใต้ดินด้วย ไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนเพราะน้ำใต้ดินถือเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หากเกิดการปนเปื้อนนั้น การแก้ไขก็จะทำได้ยาก เพราะฉะนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาและอนุรักษ์ไปร่วมกัน โดยต้องตระหนักถึงการพัฒนาอย่างถูกวิธี และการอนุรักษ์ที่จะไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนของน้ำใต้ดิน ในส่วนของ สทนช.เองในปีนี้เราก็มีการขับเคลื่อนที่จะจัดค่ายเยาวชนเป็นกลไกหนึ่งที่จะสามารถนำไปขยายผลต่อในกลุ่มของพี่น้องเยาวชน ในขณะเดียวกันบทเรียนของน้องๆ ที่เข้าค่ายในครั้งนี้ อาจจะมีโครงการหรือโปรเจคดีๆ ที่เกิดขึ้น ทาง สทนช. ก็จะมีการโปรเจคไปต่อยอด ถือได้เป็นการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักเรียน นักศึกษา มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในประเทศไทยมีประสิทธิภาพสูงสุด