2 สัญญาณความเสี่ยงโรคข้อสะโพกเสื่อม พร้อมแนวทางการรักษา

อาการปวดสะโพกสามารถเกิดได้ทั้งในผู้ที่มีอายุน้อยและผู้สูงอายุ มีหลายคนที่เพิกเฉยต่ออาการปวดดังกล่าว เพราะคิดว่าเป็นอาการปวดปกติ บ้างก็กลัวที่จะเข้ารับการรักษา ซึ่งพฤติกรมมเหล่านี้ล้วนสามารถนำไปสู่การเกิดโรคข้อสะโพกเสื่อมได้ แล้วโรคข้อสะโพกเสื่อมมีสาเหตุจากอะไร? จะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคนี้? และมีแนวทางการรักษาอย่างไร ไม่ผ่าตัดได้ไหม? ไปไขข้อข้องใจพร้อม ๆ กันเลย โรคข้อสะโพกเสื่อม เกิดจากอะไร? โรคข้อสะโพกเสื่อม…

Home / PR NEWS / 2 สัญญาณความเสี่ยงโรคข้อสะโพกเสื่อม พร้อมแนวทางการรักษา

อาการปวดสะโพกสามารถเกิดได้ทั้งในผู้ที่มีอายุน้อยและผู้สูงอายุ มีหลายคนที่เพิกเฉยต่ออาการปวดดังกล่าว เพราะคิดว่าเป็นอาการปวดปกติ บ้างก็กลัวที่จะเข้ารับการรักษา ซึ่งพฤติกรมมเหล่านี้ล้วนสามารถนำไปสู่การเกิดโรคข้อสะโพกเสื่อมได้ แล้วโรคข้อสะโพกเสื่อมมีสาเหตุจากอะไร? จะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคนี้? และมีแนวทางการรักษาอย่างไร ไม่ผ่าตัดได้ไหม? ไปไขข้อข้องใจพร้อม ๆ กันเลย

โรคข้อสะโพกเสื่อม เกิดจากอะไร?

โรคข้อสะโพกเสื่อม สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • พันธุกรรม: มีบุคคลในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน
  • ร่างกายถูกใช้งานหนัก: ไม่ว่าจะจากการประกอบอาชีพ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน
  • เคยบาดเจ็บบริเวณสะโพกมาก่อน: เช่น สะโพกหลุด แตก หรือหัก ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงที่สะโพก
  • โรคประจำตัว: เช่น โรครูมาตอยด์ และโรคข้ออักเสบอื่น ๆ
  • ติดเชื้อ: เคยติดเชื้อบริเวณสะโพกมาก่อน
  • ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์และดื่มแอลกอฮอล์: ใช้ทั้ง 2 ส่วนนี้ในปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นเวลานาน

2 สัญญาณ เสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม

ก่อนการเกิดโรคข้อสะโพกเสื่อม โดยมากแล้วมักจะมีอาการอื่นนำมาก่อน ได้แก่

  1. ปวดบริเวณต้นขา

อาการปวดจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าหรือด้านข้างของต้นขา และสำหรับผู้ที่ปวดบริเวณนี้จะต้องเข้ารับการประเมินข้อสะโพกกับข้อเข่าร่วมกัน

  1. ปวดบริเวณขาหนีบ

เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับข้อสะโพก อาการปวดจะอยู่บริเวณขาหนีบ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ผู้ที่มีอาการปวดบริเวณนี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยบริเวณท้องและเชิงกราน เพื่อการรักษาที่ตรงจุด

ทั้งนี้ ในส่วนของการวินิจฉัยโรคของ KDMS ทำได้หลายวิธี ได้แก่ การคลำหาตำแหน่งเจ็บบริวเณสะโพก, การถ่ายภาพรังสีธรรมดาบริเวณสะโพก, การตรวดน้ำในข้อ, การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เป็นต้น

แนวทางการรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อม

การรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อมมี 2 แนวทางหลัก ๆ ดังนี้

  1. รักษาแบบไม่ผ่าตัด

วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการในระยะแรกและไม่รุนแรง ได้แก่ การปรับพฤติกรรมหรือวิธีการใช้ชีวิต, การทานยา, การฉีดยา และกายภาพบำบัด เป็นต้น

  1. รักษาด้วยการผ่าตัด

วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถบรรเทาอาการเจ็บได้ด้วยวิธีที่ไม่ผ่าตัด แบ่งออกได้เป็น 3 วิธี ได้แก่ ผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง, ผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก และการเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

โรคข้อสะโพกเสื่อมสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยมากก่อนการเกิดโรคนี้มักจะมีอาการปวดซึ่งเป็นการส่งสัญญาณมาก่อนโดยเฉพาะบริเวณต้นขา และขาหนีบ หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความรุนแรง และป้องกันความเสื่อมที่อาจจะเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถเข้ามาปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาล KDMS โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูก และข้อแห่งแรกในประเทศไทย ที่ทางโรงพยาบาลมีทีมแพทย์เฉพาะทางในเรื่องของกระดูก ข้อ เวชศาสตร์ฟื้นฟูมาไว้ด้วยกัน เพื่อให้คุณได้รับการประเมินแนวทางการรักษาที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

สามารถติดตามอ่านบทความดี ๆ หรือปรึกษากับทางโรงพยาบาล KDMS โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูก ข้อ และเวชศาสตร์พื้นฟูครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย ผ่านช่องทางดังนี้

เว็บไซต์ : kdmshospital.com
เฟซบุ๊ก : KDMS Hospital