นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงการประชุมคณะรัฐมนตรี ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 มีมติเห็นชอบอนุมัติหลักการ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (ฉบับที่…) พ.ศ. … โดยคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พ.ศ. 2550 โดยแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้รับเงินบำนาญชราภาพ (บุตร สามี หรือภรรยา บิดามารดา หรือบุคคลซึ่งผู้ประกันตนระบุไว้เป็นผู้มีสิทธิ) จะได้รับการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ ในกรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ ให้ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้น จากเดิมซึ่งจะได้รับเพียงแค่ 10 เท่า ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือทายาทของผู้ประกันตน ให้ได้รับเงินมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ได้ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อครอบคลุม ดูแลคุณภาพชีวิตให้กับผู้ประกันตนอย่างทั่วถึง ซึ่งหากเป็นเสาหลักหรือสมาชิกในครอบครัว รัฐบาลและกระทรวงแรงงาน จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังอย่างแน่นอน สำหรับขั้นตอนต่อไป จะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
ด้านนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวถึงรายละเอียดเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวงดังกล่าวว่า ได้กำหนดสิทธิประโยชน์เพิ่มใน 3 ประเด็น คือ
1. กำหนดให้ผู้รับบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จาก เดิม 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย คูณด้วยจำนวนเดือนที่เหลือหลังจากผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายจนครบ 60 เดือน เช่น กรณีที่ผู้ประกันตนได้รับบำนาญชราภาพ เดือนละ 5,250 บาท และได้รับเงินบำนาญชราภาพมาแล้ว 20 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย เมื่อผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทของผู้ประกันตนจะได้รับบำเหน็จชราภาพ เป็นเงิน 52,500 บาท เมื่อกฎกระทรวงนี้ประกาศใช้ ทายาทจะได้รับถึง 210,000 บาท เป็นต้น
2. ผู้ที่เคยได้รับเงินบำนาญชราภาพ แล้วถูกงดจ่าย เนื่องจากกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน และเวลาต่อมา ถึงแก่ความตาย หากบุคคลนั้นได้รับเงินบำนาญชราภาพมาแล้วไม่เกิน 60 เดือน ก็ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จากเดิม 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนคราวสุดท้ายก่อนกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน เป็น จำนวนเท่ากับจำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน คูณด้วยจำนวนเดือนที่เหลือหลังจากผู้รับบำนาญชราภาพกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนจนครบ 60 เดือน เช่นกัน
3. กำหนดบทเฉพาะกาลให้ผู้รับบำนาญชราภาพอยู่ก่อนกฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับ และรับบำนาญชราภาพมาแล้วยังไม่ครบ 60 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจนครบ 60 เดือน และในกรณีรับเงินบำนาญชราภาพมาแล้ว และจำนวนเดือนเหลือน้อยกว่า 10 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพ รายเดือนที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย
เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวในตอนท้ายว่า สำนักงานประกันสังคมพร้อมดำเนินการ ตามนโยบายของรัฐบาล และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ให้ความสำคัญในการสร้างหลักประกันทางสังคมที่เป็นธรรมและเท่าเทียม เพื่อให้คุ้มครองแรงงานได้อย่างทั่วถึง โดยการเพิ่มและพัฒนาสิทธิประโยชน์ในทุกกรณี เพื่อประโยชน์และคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ประกันตน ซึ่งเปรียบเสมือนคนในครอบครัวประกันสังคมเป็นสำคัญ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการไม่เว้นวันหยุดราชการตลอด 24 ชั่วโมง
รมว.แรงงาน เผยมติ ครม.ประกันบำนาญขั้นต่ำ 5 ปี (60 เดือน) กรณีผู้รับบำนาญชราภาพเสียชีวิตก่อนได้รับบำนาญชราภาพครบ 60 เดือน ทายาทได้รับเงินเพิ่มจนครบ 60 เดือน
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงการประชุมคณะรัฐมนตรี ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565…
PR NEWS |