กปน. ตรวจสอบคุณภาพน้ำ ประปาสะอาดปลอดภัย

กปน. สร้างความมั่นใจน้ำประปาสะอาดปลอดภัย ให้สถานศึกษา ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ

ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำประปา พร้อมรับเปิดเรียน On-site นายคมกฤช ทินกร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) ในฐานะโฆษก กปน. กล่าวว่า กปน. ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่ให้บริการน้ำประปาสะอาดปลอดภัยในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี…

Home / PR NEWS / กปน. สร้างความมั่นใจน้ำประปาสะอาดปลอดภัย ให้สถานศึกษา ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ

ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำประปา พร้อมรับเปิดเรียน On-site

นายคมกฤช ทินกร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) ในฐานะโฆษก กปน. กล่าวว่า กปน. ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่ให้บริการน้ำประปาสะอาดปลอดภัยในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ดังนั้น กปน. จึงให้ความสำคัญกับการควบคุมคุณภาพตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ และได้ลงพื้นที่ตรวจคุณภาพน้ำประปาในสถานศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้น้ำให้กับอาจารย์ นักเรียน บุคลากรในสถานศึกษา รวมทั้งผู้ปกครอง เตรียมพร้อมรับการเปิดเรียนแบบ On-site ของโรงเรียนหลายแห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา กปน. ได้ดำเนินการตรวจคุณภาพน้ำให้กับสถานศึกษาในพื้นที่บริการของ กปน. อาทิ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนราชวินิต บางเขน โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์ โรงเรียนกสินธร เซนต์ปีเตอร์ โรงเรียนฉิมพลี โรงเรียนดอนเมืองจารุจินดา โดยภายในเดือนพฤศจิกายนนี้จะลงพื้นที่ตรวจคุณภาพน้ำในสถานศึกษาจำนวน 190 แห่ง และในปีงบประมาณ 2565 มีแผนลงพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1,000 แห่ง

ทั้งนี้ กปน. ได้เก็บตัวอย่างน้ำประปาจากก๊อกน้ำต่อตรง ถังพักน้ำ และน้ำดื่มจากเครื่องกรองน้ำหรือตู้น้ำเย็น เพื่อนำตัวอย่างน้ำมาตรวจวิเคราะห์คุณภาพด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรีย โดยนักวิทยาศาสตร์ ณ ห้องปฏิบัติการฝ่ายคุณภาพน้ำ และรายงานผลทดสอบคุณภาพน้ำให้กับสถานศึกษา พร้อมทั้งแนะนำวิธีดูแลรักษาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบประปาของอาคาร เช่น การล้างทำความสะอาดถังพักน้ำอย่างสม่ำเสมอ การรักษาความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รวมทั้งสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลระบบประปา เพื่อให้น้ำสะอาดปลอดภัยสำหรับอุปโภคและบริโภค มีคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาของ กปน. ซึ่งอ้างอิงตามค่าแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)