สตาร์ทอัพสายเกษตรทั่วฟ้าเมืองไทยงานนี้ไม่ควรพลาด สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรจัดทำ “โครงการแพลตฟอร์มเชื่อมโยงเกษตรกรกับวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตรสู่การเป็นเกษตรกรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี” หรือ AgTech Connext เชื่อมโยงสตาร์ทอัพเปิดโอกาสนำเสนอนวัตกรรมร่วมทดสอบกับกลุ่มเกษตรกร ผ่านแพลตฟอร์มการทำงานร่วมระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สตาร์ทอัพและกลุ่มเกษตรกร ที่สร้างโอกาสให้ได้พบกับกลุ่มเกษตรทุกกลุ่มทุกประเภท และโอกาสแสดงฝีมือให้เข้าตากับแหล่งเงินทุน ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว กรมประมง กรมปศุสัตว์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด และ กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อเป็นพื้นที่ทดสอบและต้นแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างสังคมแห่งโอกาสและก้าวไปสู่การสร้างสรรค์สังคมเกษตรด้วยนวัตกรรม
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “ทางสำนักงานเล็งเห็นถึงความสำคัญของธุรกิจของ Startup ด้านการเกษตร ในช่วงเศรษฐกิจในยุคโควิดนี้เป็นอย่างมาก อุปสรรคที่สำคัญและยังเป็นช่องว่างสำหรับสตาร์ทอัพด้านการเกษตร หรือ AgTech Startup คือ เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทั้งจากการรับรู้และความไม่เข้าใจถึงเทคโนโลยีหรือบริการ รวมทั้งยังขาดการเชื่อมโยงให้รู้จักผลิตภัณฑ์หรือบริการของวิสาหกิจเริ่มต้น เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนยังมีความกังวลถึงความคุ้มค่าในการใช้เทคโนโลยีความรู้ และทักษะในการใช้งาน ประกอบกับแรงงานในภาคการเกษตรมีอายุเฉลี่ยที่สูงขึ้น จึงต้องมีการเร่งสร้างเพื่อให้เกิดสังคมที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและเข้าสู่สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในภาพการเกษตรของไทยและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดังนั้น สนช. จึงได้ริเริ่มจัดกิจกรรมแพลตฟอร์ม AgTech Connext เพื่อสร้างสะพานเชื่อมโยงกลุ่มคนรุ่นใหม่ด้านพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตรที่เป็นสตาร์ทอัพ และกลุ่มเกษตรกร มุ่งเน้นให้กิดการรับรู้และยอมรับการใช้งานให้มากขึ้น พร้อมทั้งเป็นการสร้างและกระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ของสตาร์ทอัพด้านการเกษตรให้มากขึ้น นับได้ว่าเป็นการสร้างให้เกิดเกษตรกรรายย่อยและชุมชนท้องถิ่นสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเป็นสมาร์ทฟาร์เมอร์ มีความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรกรรม เชื่อมประสานกับกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่างสตาร์ทอัพที่มองหาแนวทางแก้ไขใหม่ๆ ที่จะมาตอบโจทย์การเกษตรเมืองไทยพร้อมการขยายผลระดับภูมิภาคอาเซียน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนทำงานร่วมกันบนความเชี่ยวชาญของทั้งสองกลุ่ม ทำให้เกิดการขับเคลื่อนภาคการเกษตรที่จะก่อให้เกิดความความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง”
โครงการ AgTech Connext 2021 จะทำให้สตาร์ทอัพได้ สามารถเข้าถึงและเชื่อมโยงกับเกษตรทุกประเภททุกกลุ่มได้ทั่วประเทศผ่านหน่วยงานพันธมิตรที่ดูแลเกษตรกรทั่วประเทศ รวมไปถึงโอกาสในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น สร้างให้เกิดการรับรู้ การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการจับคู่กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อร่วมทดสอบการใช้ผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจ และที่สำคัญสร้างให้เกิดการขยายตลาด การเพิ่มกลุ่มลูกค้าใช้งานให้หลากหลาย และแนวทางการปรับรูปแบบธุรกิจให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงโอกาสการได้รับการลงทุน ที่สำคัญเรามีผู้สนับสนุนสิทธิพิเศษและรางวัลพิเศษจากจากผู้สนับสนุนในโครงการ ได้แก่ บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด มอบ เครดิต AWS Cloud มูลค่า 300,000 บาท เมื่อสตาร์ทอัพได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นโปรแกรมฟรีสำหรับสตาร์ทอัพที่ลงทุนเองจนถึงซีรี่ย์ A เพื่อสนับสนุนให้สตาร์ทอัพมีเวลาคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตขึ้น และกลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ สนับสนุนเงินรางวัลรวมมูลค่า 300,000 บาท สำหรับสตาร์ทอัพที่มีผลงานโดดเด่นในการพลิกโฉมธุรกิจการเกษตร เพื่อร่วมพัฒนาวงการสตาร์ทอัพและภาคการเกษตรของไทย
หากสตาร์ทอัพด้านการเกษตร มีสินค้าหรือบริการที่ช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำให้แก่เกษตรกรได้ เราขอเชิญชวนคุณมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ AgTech Connext 2021 ที่เพิ่มพื้นที่ในการขยายและสร้างธุรกิจให้เป็นที่รู้จัก พร้อมเรียนรู้และทดสอบการใช้งานจริงไปกับเกษตรกร มาร่วมเป็นพลังการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพลิกโฉมการเกษตรไทย…เปิดรับสมัครสตาร์ทอัพที่มีผลิตภัณฑ์และบริการโดยสามารถ สมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ http://agtechconnext.nia.or.th/ ตั้งแต่วันนี้ถึง 14 พฤษภาคม 2564 อย่าพลาดโครงการดี ๆ
หรือติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมที่ คุณทินวัฒน์ ศรีทัดจันทา (กอล์ฟ)
-โทรศัพท์ 02-017 5555 ต่อ 552
-มือถือ 098-257 0888
-อีเมล Thinnawat.s@nia.or.th