ข้อตกลงอาเซียน มลพิษจากหมอกควันข้ามแดน เมียนมา

ไทย-เมียนมา ร่วมหารือข้อตกลงอาเซียนเรื่อง ‘มลพิษจากหมอกควันข้ามแดน’

ไทย-เมียนมา ร่วมหารือภายใต้ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน วันที่ 7 พฤษภาคม 2562 เวลา 10.00 น. นายประจวบ อาจารพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมด้วยนายเต็งอ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดบอลาแคะ (ผู้แทนรัฐคะยา)…

Home / NEWS / ไทย-เมียนมา ร่วมหารือข้อตกลงอาเซียนเรื่อง ‘มลพิษจากหมอกควันข้ามแดน’

ไทย-เมียนมา ร่วมหารือภายใต้ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน

วันที่ 7 พฤษภาคม 2562 เวลา 10.00 น. นายประจวบ อาจารพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมด้วยนายเต็งอ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดบอลาแคะ (ผู้แทนรัฐคะยา) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และคณะ ประชุมร่วมกับศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อหารือภายใต้ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน Asean Agreement on Transboundary Haze Pollution (AATHP) ณ ห้องประชุมพญาพิศาลห้องสอนบุรี สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ฝ่ายไทย ให้ข้อมูลเรื่องสถานการณ์หมอกควันและไฟป่า โดยสำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ข้อมูลการจัดการชิงเผาโดยหลักวิชาการ โดยสํานักงานป่าไม้ที่ 1 จังหวัดแม่ฮ่องสอน ข้อมูลการจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่เกษตร โดยสํานักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดแม่ฮ่องสอน ข้อมูลการจัดการเชื้อเพลิงโดยเทคโนโลยี โดยสํานักงานหอการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน และข้อมูลการดําเนินงานการดับไฟป่าของหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 นอกจากนี้ ยังมีการหารือกรอบความร่วมมือในปี พ.ศ. 2563 และข้อเสนอแนะในการร่วมมือทั้ง 2 ฝ่าย

ช่วงบ่าย คณะฯ มีกำหนดดูงานการจัดการพื้นที่เกษตรกรรม โดยสํานักงานพัฒนาที่ดิน ดูงานการจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่การเกษตรด้วยเทคโนโลยี (ถ่านอัดแท่ง) โดยหอการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน และดูงานการสาธิตการดับไฟป่าของชุดการปฏิบัติการร่วม ณ สถานีดับไฟป่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน

สำหรับจุดความร้อนสะสม 7 อำเภอ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ข้อมูลจากดาวเทียมระบบ Modis ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึงวันที่ 6 พ.ค. 2562 พบจำนวน 1,618 จุด ในพื้นที่ อ.แม่สะรียง 418 จุด อ.เมือง 278 จุด อ.สบเมย 181 จุด อ.ปาย 267 จุด อ.ปางมะผ้า 252 จุด อ.แม่ลาน้อย 90 จุด และ อ.ขุนยวม 132 จุด โดยแบ่งตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ข้อมูล จากดาวเทียมระบบ Modis) ในเขตป่าอนุรักษ์ 1,003 จุด เขตป่าสงวนแห่งชาติ 553 จุด เขตสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) 4 จุด เขตพื้นที่เกษตร 17 จุด และเขตชุมชนและอื่นๆ 41 จุด