จุฑามาศ บางกอกฟิล์ม เฟสติวัล

คุก 50 ปี! ‘จุฑามาศ’ อดีตผู้ว่า ททท. รับสินบนจัดงานเทศกาลหนัง

ศาลอุทธรณ์ยืน จำคุก 50 ปี! ‘จุฑามาศ’ อดีตผู้ว่า ททท. คดีรับสินบนจัดงานเทศกาลหนัง บางกอกฟิล์ม เฟสติวัล ปี 2545 –2550 มูลค่ากว่า 60…

Home / NEWS / คุก 50 ปี! ‘จุฑามาศ’ อดีตผู้ว่า ททท. รับสินบนจัดงานเทศกาลหนัง

ศาลอุทธรณ์ยืน จำคุก 50 ปี! ‘จุฑามาศ’ อดีตผู้ว่า ททท. คดีรับสินบนจัดงานเทศกาลหนัง บางกอกฟิล์ม เฟสติวัล ปี 2545 –2550 มูลค่ากว่า 60 ล้านบาท

วันนี้(8 พ.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นัดอ่านคำพิพากษาคดีที่นางจุฑามาศ ศิริวรรณ อดีตผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. และ นางสาวจิตติโสภา ศิริวรรณ บุตรสาว ตกเป็นจำเลยในความผิดเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับสินบน และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ ฮั้วประมูล กรณีเรียกรับเงินจากนายเจอรัลด์ และนางแพทริเซีย กรีน 2 สามี-ภรรยานักธุรกิจภาพยนตร์สัญชาติอเมริกัน เพื่อให้ได้สิทธิในการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ หรือ บางกอกฟิล์ม เฟสติวัล ปี 2545 –2550 มูลค่ากว่า 60 ล้านบาท

ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน ในประเด็นที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียกรับเงินงานบางกอกฟิล์ม เฟสติวัล ปี 2550 ดังนั้นจึงพิพากษาแก้โทษจำคุกจำเลยที่ 2 จาก 11 กระทง เหลือ 10 กระทง คงเหลือจำคุก 40 ปี ส่วนโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ให้เป็นไปตามคำพิพากษาชั้นต้น จำคุก 66 ปี แต่นับโทษคงจำคุกสูงสุด 50 ปี

ส่วนประเด็นการริบทรัพย์โดยมิชอบนั้น ศาลเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น เนื่องจากคดีนี้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลริบทรัพย์ อีกทั้งเป็นคดีที่เกิดขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิ ชอบ พ.ศ. 2559 ที่กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบทรัพย์คดีทุจริตได้ไม่ว่าโจทก์จะร้องขอหรือไม่ จะมีผลบังคับใช้ ดังนั้นคดีนี้จึงให้ยึดถือตามกฎหมายเดิม ยกคำสั่งที่ให้ริบทรัพย์เงินจำนวน 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับคดีนี้สืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกนางจุฑามาศ จำเลยที่ 1 เป็นเวลา 66 ปี แต่นับโทษคงจำคุกสูงสุด 50 ปี และจำคุกนางสาวจิตติโสภา 44 ปี เนื่องจากมีหลักฐานว่านักธุรกิจสองสามีภรรยาโอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เซ็นต์อนุมัติ และสั่งริบเงินจำนวน 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และดอกผล ซึ่งศาลกำหนดทรัพย์สินเป็นเงิน 62 ล้านบาทเศษ ให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์